cheewin.j

cheewin.j

test

บทความทั้งหมด

All Articles

Author Category Post Filter
Data Analytics คืออะไร ? และมีอะไรบ้าง ? ทำไมทุกองค์กรถึงให้ความสำคัญ
“Data is the new oil” เป็นประโยคที่ ไคลฟ์ ฮัมบี (Clive Humby) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษพูดไว้เมื่อปี 2006 เปรียบเปรยว่าข้อมูลเป็นเหมือนทรัพยากรที่มีค่าไม่ต่างจากน้ำมัน ถือเป็นคำกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะปัจจุบันข้อมูลได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันของโลกธุรกิจยุคใหม่ แต่การมีข้อมูลจำนวนมากแล้วไม่สามารถนำมาใช้งานได้ ก็เหมือนมีแค่น้ำมันดิบ หากไม่ได้ผ่านกระบวนการกลั่นก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Analytics จึงเปรียบเสมือนกระบวนการกลั่นที่เปลี่ยนข้อมูลดิบให้เป็นพลังงานขับเคลื่อนธุรกิจ เป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้เราสามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้ว Data Analytics คืออะไร ? Data Analytics คือ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น AI (Artificial Intelligence), Machine Learning และเครื่องมือ Data Analytics มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปของข้อมูลนั้น ๆ ถือเป็นการนำข้อมูลที่ได้มา เข้าสู่กระบวนการแสดงค่า หาความหมาย และสรุปผลที่ได้จากข้อมูลนั้น ๆ  ช่วยให้มองเห็นแนวโน้ม โอกาส และความเสี่ยงต่าง ๆ ทำให้สามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลจริงแทนการใช้สัญชาตญาณ หรือประสบการณ์เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์อนาคต หาแนวโน้มความน่าจะเป็น แนวโน้มคำตอบ หรือจุดที่ต้องแก้ไข ที่จะสามารถช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจได้  รูปแบบการทำ Data Analytics  การทำ Data Analytics สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ตามลักษณะและวัตถุประสงค์ ดังนี้ ตัวอย่างเครื่องมือในการทำ Data Analytics (Data Analytics Tools) ความสำคัญของ Data Analytics ในธุรกิจ Data Analytics ยังเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อน Digital Transformation ในองค์กร เนื่องจากข้อมูลเชิงลึกที่ได้ จะช่วยให้ธุรกิจค้นพบไอเดียหรือโอกาสใหม่ ๆ ในการเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน หรือสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างรวดเร็วในโลกดิจิทัลที่มีการแข่งขันสูง หลายองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ Data Analytics เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลองมาดูตัวอย่างของการนำ Data Analytics ไปใช้งานในธุรกิจด้านต่าง ๆ กัน องค์กรสามารถใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า ทำให้สามารถสร้างแคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการทำ Personalization ที่สามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ตัวอย่างเช่น Netflix แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งคอนเทนต์ระดับโลก ได้มีการนำ Data Analytics มาใช้ประโยชน์ในการรวบรวมพฤติกรรมการใช้งานของสมาชิก ด้วยเทคโนโลยี AI ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับชม ประวัติการดู คำค้นหา หรือผู้คนชอบดูภาพยนตร์และคอนเทนต์แนวไหนมากที่สุด จากนั้นนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมของสมาชิกแต่ละคน เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการแนะนำภาพยนตร์ หรือคอนเทนต์ ที่สมาขิกสนใจจะดูได้ตรงตามความต้องการ การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถช่วยให้บริษัทคาดการณ์ความต้องการของสินค้าและบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดปัญหาสินค้ามากเกินหรือน้อยเกินไป และช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ ตัวอย่างเช่น Amazon แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ชื่อดัง ที่โดดเด่นในการใช้ Data Analytics โดยมีการใช้ Machine Learning และ Artificial Intelligence เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการสั่งซื้อและคาดการณ์แนวโน้ม ทำให้การจัดการสินค้าคงคลังมีความรวดเร็วและแม่นยำ การใช้ Data Analytics มาช่วยในการประเมินและจัดการความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจจับความผิดปกติและป้องกันการฉ้อโกงได้อย่างรวดเร็วจากสัญญาณความผิดปกติจากข้อมูล  ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ตัวอย่างเช่น บริษัทประกันภัยชั้นนำอย่าง AON ใช้ Data Analytics ในการบริหารจัดการและควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกัน ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมมาจากพฤติกรรมลูกค้าช่วยให้พวกเขาสามารถวางแผนและจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ Data Analytics ในการวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานสามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจในเรื่องการจ้างงาน การเลื่อนตำแหน่ง การฝึกอบรม และการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่  ตัวอย่างเช่น บริษัท Google มีการใช้ HR Analytics เพื่อทำความเข้าใจและปรับปรุงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับพนักงานทั้งหมด ตั้งแต่การจ้างงานจนถึงการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ทำงานด้วยการสำรวจและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากพนักงาน ในการปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น การนำ Data Analytics มาใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการผลิต จะช่วยให้สามารถค้นพบจุดที่เป็นคอขวด และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น Grab แพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานผ่านทางแอปพลิเคชันบนมือถือ ทั้งบริการเรียกรถรับส่ง บริการส่งพัสดุ และบริการรับส่งอาหาร มีการใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลการสั่งอาหารของลูกค้า โดยแนะนำร้านอาหารที่ชอบ ร้านอาหารที่มีโปรโมชั่นน่าสนใจ หรือร้านอาหารใกล้บ้าน และประมวลผลสำหรับผู้ให้บริการ Grab เพื่อให้บริการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าจากหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลการซื้อ พฤติกรรมการใช้งาน Social Media ทำให้เข้าใจความต้องการ ความชอบและ Pain Points ของลูกค้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น McDonald’s แบรนด์อาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีจำนวนสาขาทั่วทุกมุมโลก ก็มีการทำ Data Analytics ในการเก็บข้อมูล เช่น รายการสั่งซื้อ เมนูที่ลูกค้าชอบ และการคอมเมนต์ตามแพลตฟอร์ม Social Media ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย เช่น ที่ตั้งของร้านมีผลต่อการเข้าใช้บริการของลูกค้าหรือไม่ ชุดเซตเมนูอย่าง Happy Meal เหมาะกับลูกค้าประเภทไหนบ้าง หรือเทรนด์การตลาดที่กำลังเป็นกระแส เพื่อทำการตลาดและนำเสนอเมนูที่ลูกค้าชอบ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด จากตัวอย่างที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า Data Analytics มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจในยุคดิจิทัล องค์กรที่นำเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ข้อมูล จะสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อแก้ปัญหา วางแผนกลยุทธ์ และตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับ Data Analytics จะได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะสามารถเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค คาดการณ์แนวโน้ม และปรับตัวได้รวดเร็ว นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลสถิติในกระบวนการทำงานยังช่วยให้ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพในทุกด้าน นี่คือเหตุผลว่าทำไม Data Analytics จึงเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กรชั้นนำในยุคนี้ แหล่งอ้างอิง
19 March 2025
ตัวอย่างในการนำ NLP มาใช้เพื่อธุรกิจด้านต่าง ๆ
ในยุคดิจิทัลนี้ธุรกิจต่างก็มีการปรับตัวนำ AI เข้ามาใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการป้อนคำสั่งให้ AI วิเคราะห์ ตีความ และประมวลผลเพื่อสร้างข้อมูลใหม่ขึ้นมา ซึ่งความสามารถของ AI ก็เป็นผลมาจากการถูกฝึกฝน โดยการใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติ หรือ NLP เพื่อให้โมเดลภาษาเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ และนำไปสร้างผลลัพธ์ให้เหมือนมนุษย์มากที่สุด การรู้จัก NLP จึงเป็นรากฐานให้เราสามารถนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้ NLP หรือ Natural Language Processing คือศาสตร์แขนงหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มุ่งเน้นให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ ประมวลผล และตีความภาษาของมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ถูกพัฒนาขึ้นมาให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจภาษาที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวัน และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ออกมาได้เหมือนกับภาษาที่มนุษย์ใช้  แล้ว NLP ทำอะไรได้บ้าง?  NLP ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาของมนุษย์ได้หลากหลาย เช่น การนำ NLP มาใช้ในการทำธุรกิจ ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง NLP กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจในหลากหลายด้าน โดยสามารถนำ NLP มาใช้งานได้หลายอย่างผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งในมุมของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การบริการลูกค้า และการเก็บข้อมูลเชิงลึก ซึ่งในส่วนนี้จะยกตัวอย่างการนำ NLP ไปใช้ในธุรกิจ 5 ด้านด้วยกันดังนี้ NLP จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสมือน โดยการแก้ไขปัญหาหรือสนับสนุนการทำงานให้กับผู้ใช้โดยตรง เช่น การนำ Chatbots มาใช้ตอบคำถามและช่วยเหลือลูกค้าผ่านเว็บไซต์ NLP จะช่วยวิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้าผ่านข้อความที่ส่งเข้ามาหาองค์กร โดยการประเมินอารมณ์ว่าเป็นเชิงบวก เชิงลบ หรือเป็นกลาง เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา NLP จะช่วยวิเคราะห์การกล่าวถึงแบรนด์บนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าลูกค้ามีความรู้สึกต่อผลิตภัณฑ์และแบรนด์อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นเชิงบวก เชิงลบ หรือเป็นกลาง NLP จะช่วยวิเคราะห์พฤติกรรม ความต้องการ และลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย เพื่อนำมาสร้างกลุ่มลูกค้าตัวอย่าง และนำข้อมูลที่ได้ไปออกแบบการสื่อสารและพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการ ธุรกิจสามารถนำ NLP ไปใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเนื้อหา ผ่านการป้อนคำสั่งให้โมเดล AI เขียนบทความ คำโฆษณา สร้างรูปภาพ หรือคลิปวิดีโอให้มีความน่าสนใจ และสามารถนำไปใช้งานได้ต่อได้ NLP จะทำหน้าที่เป็นระบบคัดกรองเนื้อหา โดยการตรวจจับและระบุว่าเนื้อหาไหนบนแพลตฟอร์มมีความไม่เหมาะสม เช่น มีความรุนแรง หรือมีการใช้คำไม่สุภาพ เพื่อลบเนื้อหาดังกล่าวออกจากแพลตฟอร์มโดยอัตโนมัติ NLP จะถูกนำไปใช้ในการดึงข้อมูลสำคัญมาจากแหล่งข้อมูล เช่น เอกสารรายงาน หรือฐานข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การวิเคราะห์ข้อมูล NLP ช่วยแยกประเภทและจัดลำดับความสำคัญของอีเมลแต่ละฉบับให้กับผู้ใช้งาน เช่น การจัดกลุ่มอีเมลตามประเภท เช่น งานด่วน คำร้องเรียน หรือคำถามทั่วไป NLP จะดึงข้อมูลสำคัญที่ HR ต้องการจาก Resume ของผู้สมัคร เช่น ทักษะ ประสบการณ์ และระดับการศึกษา เพื่อดูว่ามีคุณสมบัติตรงกับความต้องการหรือไม่ ช่วยลดเวลาการตรวจสอบเอกสารของ HR และเพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกเบื้องต้น NLP จะทำหน้าที่วิเคราะห์และจับคู่คุณสมบัติของผู้สมัครงานกับความต้องการในประกาศรับสมัครงาน เช่น ทักษะที่จำเป็นหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกรองผู้สมัครที่ความเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนั้น ๆ เราจะเห็นว่าการทำงานของ AI ที่เราใช้งานกัน มีรากฐานสำคัญมาจากเทคโนโลยี NLP ที่มีส่วนช่วยให้คอมพิวเตอร์และโมเดลภาษาสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจภาษาของมนุษย์ จนถูกนำไปใช้งานในธุรกิจหลายด้าน ดังนั้นหากองค์กรเข้าใจหลักการทำงานของ NLP ก็จะสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาการดำเนินงานของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นได้ แหล่งอ้างอิง
19 March 2025
ประโยชน์ของ Power BI ที่มีต่อธุรกิจในยุคปัจจุบัน
Power BI คือ เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจาก Microsoft ที่เปลี่ยนข้อมูลดิบให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความหมาย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นหนึ่งในเครื่องมือ Business Intelligence (BI) ที่นิยมในปัจจุบัน เพราะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีจุดเด่นที่ความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลจากหลายแหล่ง การสร้างแดชบอร์ดแบบอินเทอร์แอคทีฟ และการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน  ในบทความนี้จะนำทุกท่านไปรู้จักกับ Power BI เครื่องมือที่สามารถช่วยในการตัดสินใจที่ชาญฉลาดและรวดเร็วขึ้น ขยายขอบเขตของการวิเคราะห์ข้อมูลและการรายงาน ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างละเอียดและชัดเจน องค์ประกอบของ Power BI  Power BI ไม่ใช่แค่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น แต่ยังช่วยแสดงข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย สวยงาม และมีประสิทธิภาพ ทำให้เห็นภาพรวมของธุรกิจอย่างชัดเจน ทำให้สามารถวางแผนล่วงหน้าได้อย่างมั่นใจ ซึ่งมีองค์ประกอบหลักที่ช่วยให้การทำงานดำเนินไปได้อย่างง่ายดายดังนี้ 1. Power BI Desktop คือซอฟต์แวร์ Power BI บนคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แปลงข้อมูล แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงผลบนแดชบอร์ด 2. Power BI Service เป็นบริการที่อยู่บนคลาวด์ (Cloud) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ แบ่งปัน และเข้าถึงรายงานและแดชบอร์ดที่สร้างขึ้นด้วย Power BI Desktop สามารถแชร์รายงานและแดชบอร์ดให้กับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร 3. Power BI Mobile เป็นแอปพลิเคชั่น Power BI ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลการวิเคราะห์บนโทรศัพท์ได้ และจะมีการแจ้งเตือนผู้ใช้แบบ Realtime หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 4. Power BI Gateway เป็นเครื่องมือที่เชื่อมระหว่าง Power BI Service กับแหล่งข้อมูล (Data Sources) ขององค์กร เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูล และนำไปสร้างรายงานกับแดชบอร์ดได้ โดยไม่ต้องย้ายข้อมูลไปอยู่บน Cloud 5. Power BI Embedded เป็นบริการที่ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเชื่อมต่อรายงานและแดชบอร์ดจาก Power BI ไปฝังในแอปพลิเคชั่นขององค์กรได้เลย โดยไม่ต้องเขียนโค้ดส่วนควบคุมและแสดงผลเพิ่มเติม 6. Power BI Report Builder เป็นเครื่องมือในการสร้างและออกแบบรายงานที่มีการแบ่งหน้า Paginated Reports ซึ่งเป็นรายงานที่ผู้ใช้สามารถจัดวางข้อมูล และต้องการพิมพ์เป็นเอกสารออกมา เพื่อให้การตรวจสอบและวิเคราะห์ทำได้ง่ายขึ้น Power BI มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร Power BI เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อธุรกิจในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการขาย การวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้า หรือการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ โดยการนำ Power BI เข้ามาใช้จะทำให้องค์กรได้ประโยชน์ 5 ข้อดังนี้ 1. สามารถใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ตัวอื่นของ Microsoft ได้ Power BI เป็นซอฟต์แวร์ของ Microsoft ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ Power BI ร่วมกับซอฟต์แวร์ตัวอื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น  2. เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่าย Power BI ถูกพัฒนาขึ้นให้มี UI ที่ใช้งานง่ายในทุกขั้นตอน เริ่มจากการเชื่อมต่อ Power BI รองรับการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลหลายประเภท เช่น Microsoft Excel, SQL Server และ Google Analytics หลังจากเชื่อมต่อแล้ว ผู้ใช้ก็สามารถสร้างรายงานและแดชบอร์ดได้เลย เพียงนำข้อมูลมาวาง Power BI จะนำข้อมูลไปสร้างเป็นกราฟและแผนภูมิให้เองโดยอัตโนมัติ ในส่วนของการแสดงผล Power BI ยังมีเทมเพลตสำเร็จรูปที่ผู้ใช้สามารถปรับแต่งสี กราฟ และเลย์เอาต์ได้อิสระ นอกจากนี้ยังเลือกอุปกรณ์ที่จะนำรายงานขึ้นไปแสดงผลได้ ทั้งโทรศัพท์ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การแสดงผลเหมาะกับอุปกรณ์แต่ละประเภท 3. สามารถประมวลผลข้อมูลได้แบบ Real time ข้อมูลที่แสดงผลอยู่บนแดชบอร์ดสามารถอัปเดตได้ตามเวลาที่ต้องการ เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีการอัพเดตอยู่เสมอ ซึ่ง Power BI มีตัวเลือกให้ผู้ใช้สามารถอัปเดตข้อมูลแบบ Real time ได้ถึง 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้ 4. ลดต้นทุนในการวิเคราะห์ข้อมูล Power BI เป็นซอฟต์แวร์ที่ Microsoft พัฒนาขึ้นมาให้ผู้ใช้งานในองค์กรทุกระดับ หากผู้ใช้เป็นลูกค้า Microsoft Enterprise Agreement อยู่แล้ว ก็สามารถใช้งาน Power BI ได้ฟรี แต่ถ้ายังไม่เคยใช้งาน Power BI จะมีซอฟต์แวร์ให้เลือก 3 แพ็คเกจ ดังนี้ 5. พนักงานทำงานร่วมกันง่ายขึ้น Power BI ช่วยให้บุคลากรทำงานร่วมกันง่ายขึ้น เพราะสามารถทำงานพร้อมกัน ทั้งการดูและแก้ไขรายงานได้แบบ Real time ผ่าน Power BI Service จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้ว ผู้ใช้ก็สามารถแชร์ข้อมูลในฟอร์แมตต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งานต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นการแชร์เป็นไฟล์ PDF, Excel, Word หรือ PowerPoint  นอกจากนี้ Power BI ยังเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้งานได้ในการดำเนินธุรกิจหลายด้าน ดังนี้ เจ้าของธุรกิจสามารถนำ Power BI ไปใช้ เพื่อดูข้อมูลแบบ Real time ด้านประสิทธิภาพการขาย การดำเนินการ และการเติบโตของรายได้ หรือในด้านการวางแผน การนำ Power BI มาใช้จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจวิเคราะห์ข้อมูลการขายสินค้าในอดีตของพื้นที่ดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำมาวางแผนการตลาดในอนาคต ฝ่ายการตลาดสามารถนำ Power BI ไปใช้ เพื่อติดตาม KPI ต่าง ๆ ว่ามียอดเป็นอย่างไร เช่น ยอด Click-Through Rates, Conversion Rate บนเว็บไซต์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่ามียอดตามที่คาดหวังหรือไม่ เพื่อพัฒนาเว็บไซต์และคอนเทนต์ต่อ หรือจะเป็นการนำมาใช้สำหรับวิเคราะห์โซเชียลมีเดีย อย่างการให้ Power BI ติดตามยอด Like ยอด Share และ Comment ของโพสต์บนโซเชียลมีเดียขององค์กรว่ามีจำนวนมากแค่ไหน การใช้ Power BI ช่วยให้ฝ่ายขายสามารถสร้างแดชบอร์ดเพื่อติดตาม Sales Metrics เช่น รายได้รวม กำไรสุทธิ และอัตราการปิดยอดขาย ของพนักงานเป็นรายบุคคลและยอดของทีมโดยรวม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Power BI มาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว เพื่อคาดการณ์ยอดขายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตตามระยะเวลาที่กำหนด ช่วยให้ทีมนำข้อมูลมาตั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะทำได้จริงมากที่สุด...
25 February 2025
PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.