Khwansiri Sirimangkhala

Khwansiri Sirimangkhala

Senior Data Management Training and Development Specialist at Big Data Institute (Public Organization), BDI

บทความทั้งหมด

All Articles

Author Category Post Filter
Data Visualization ช่วยเราเข้าใจแผ่นดินไหวได้อย่างไร
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายมหาศาลต่อชีวิตและทรัพย์สิน การเข้าใจรูปแบบการเกิดแผ่นดินไหวผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงผลข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมพร้อมรับมือและลดผลกระทบจากภัยพิบัติดังกล่าว บทความนี้นำเสนอวิธีการใช้ Data Visualization เพื่อทำความเข้าใจแผ่นดินไหวในมิติต่าง ๆ ความสำคัญของ Data Visualization ในการศึกษาแผ่นดินไหว การแสดงผลข้อมูลเชิงภาพช่วยให้เราสามารถเห็นรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซับซ้อนได้อย่างชัดเจน สำหรับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว การใช้ Data Visualization มีประโยชน์หลายประการ ดังนี้ การติดตามแผ่นดินไหว ณ เวลาปัจจุบัน (Real-time earthquake monitoring) ปัจจุบันมีระบบติดตามแผ่นดินไหวแบบเรียลไทม์หลายระบบ เช่น USGS Earthquake Map ที่จัดทำโดยสำนักงานธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) โดยสามารถแสดงข้อมูลแผ่นดินไหวทั่วโลกแบบเรียลไทม์ (ภาพที่ 1) แสดงแผนที่ตำแหน่งการเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นล่าสุด เพื่อให้สามารถเข้าใจได้โดยง่าย แผนที่การเกิดแผ่นดินไหวจึงมักอยู่ในรูปแบบพื้นฐานที่ใช้แสดงตำแหน่งของแผ่นดินไหว โดยนิยมใช้จุด (Points) ที่มีขนาดและสีแตกต่างกันเพื่อแสดงความรุนแรงของแผ่นดินไหว การประยุกต์ใช้ Data Visualization ในการศึกษาแผ่นดินไหวมีความท้าทายสำคัญประการแรกคือการจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ที่ไหลมาจากเครือข่ายเซนเซอร์จำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาระบบการประมวลผลและแสดงผลแบบเรียลไทม์เพื่อให้ข้อมูลล่าสุดพร้อมใช้งานสำหรับการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ นอกจากนี้ การออกแบบ Visualization ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายสำหรับประชาชนทั่วไปยังเป็นอีกความท้าทาย เพื่อให้การสื่อสารความเสี่ยงและการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ได้มีการจัดทำแดชบอร์ดติดตามสถานการณ์การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยและประเทศข้างเคียง (ภาพที่ 2) ซึ่งสามารถติดตามการกระจายตัว ขนาด ความถี่ รวมถึงแนวโน้มเชิงเวลาของ aftershocks ที่ปกติจะมีการเกิดขึ้นตามมาหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวลูกใหญ่ (mainshock) ซึ่งโดยปกติจำนวน ขนาด และความถี่ของ aftershocks จะลดลงตามเวลาที่ผ่านไปหลังจากการเกิด mainshock ตามที่แสดงในภาพที่ 3 Data Visualization จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์แผ่นดินไหว การพัฒนาเทคนิคการแสดงผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจความเสี่ยงและเตรียมพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหวได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในที่สุดจะช่วยลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติทางธรรมชาติชนิดนี้ เอกสารอ้างอิง
28 April 2025
สร้างสีสันให้ Dashboard ด้วย Dynamic Icons ใน Power BI: เทคนิคง่าย ๆ ที่ทำให้ข้อมูลของคุณมีชีวิต
คุณเคยรู้สึกว่าการนำเสนอข้อมูลของคุณยังขาดความน่าสนใจหรือไม่ ลองนึกภาพดูว่าถ้าคุณสามารถเพิ่มชีวิตชีวาให้กับตัวเลขและกราฟของคุณด้วยไอคอนที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีชีวิตชีวาตามข้อมูลจริง จะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีสร้าง Dynamic Icons ใน Power BI – เทคนิคที่จะทำให้ Dashboard ของคุณโดดเด่น สื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมของคุณ บทความนี้จะอธิบายถึงการสร้างไอคอนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลหรือ Dynamic icons ที่ใช้งานในโปรแกรม Power BI ตัวอย่างดังรูปที่ 1 เมื่อค่าผลรวมกำไรมีค่ามากกว่า 0 จะแสดงสัญลักษณ์ลูกศรชี้ขึ้นสีเขียว  แต่หากค่าผลรวมกำไรมีค่าน้อยกว่า 0 จะแสดงสัญลักษณ์ลูกศรชี้ลงสีแดง           การนำเสนอดังกล่าวแสดงผลผ่าน Card (new) โดยทำการเพิ่มรูปภาพร่วมกับการแสดงผลของค่า ซึ่งการแสดงของไอคอนนั้นจะต้องสร้างสูตร (Measure) เพื่อระบุเงื่อนไขในการแสดงผล โครงสร้างสูตรเบื้องต้นมีส่วนประกอบดังรูปที่ 2 ภายใน “” จะต้องนำโค้ดของการแปลงไอคอนให้อยู่ในรูป image base64 เรียบร้อยแล้ว           ก่อนอื่น เราสามารถค้นหาไอคอนที่ต้องการนำมาใช้งานได้จาก Flaticon ที่มีไอคอนฟรีมากมายให้เลือกใช้ โดยเลือกตัวเลือกการดาวน์โหลดเป็นไฟล์ PNG ขนาด 32px           จากนั้นนำภาพที่ได้ไปอัปโหลดและแปลงเป็นไฟล์ภาพ Base64 ที่ https://www.base64-image.de/           ให้ทำการกดปุ่ม copy image เพื่อนำโค้ดที่ได้ไปวางในสูตรที่เตรียมไว้ จะได้ผลลัพธ์ดังรูปที่ 5 สุดท้ายให้เปลี่ยน Data category ของสูตรเป็น Image URL ดังรูปที่ 6           สร้าง Card (new) โดยเลือกข้อมูลที่ต้องการแสดงผลมาใส่ ที่ Format visual ในเมนู Image เลือก Image type: Image URL ดังรูปที่ 7 จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Conditional formatting จะปรากฏหน้าต่างดังรูปที่ 8 เลือกสูตรที่สร้างไว้มาใส่ กดปุ่ม OK           จะได้ผลลัพธ์เป็นค่าพร้อมด้วยไอคอนที่ปรับเปลี่ยนตามสูตรที่ต้องการแล้ว นอกจากนี้การแสดงผลสามารถเลือกเฉพาะ Dynamic icons โดยปิดการแสดงผล Values           การแสดงผลสภาพอากาศมักถูกแสดงด้วยไอคอนที่เกี่ยวกับเมฆและฝน ดังแสดงในรูปที่ 8 จะเป็นการแสดงผลสภาพอากาศ 7 วันด้วยการใช้ Dynamic icons ในกรณีที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์เสี่ยงน้ำแล้งและน้ำท่วมสามารถแสดงผลความรุนแรงของความเสี่ยงด้วยสี อาจจะใช้เพียงจุดสีธรรมดาในการแสดงผล Dynamic Icons เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการสร้าง Visuals ที่น่าสนใจและเข้าใจง่ายใน Power BI ช่วยให้นักวิเคราะห์สื่อสารข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ เรายังมีเทคนิคอีกมากมายที่จะช่วยยกระดับการนำเสนอข้อมูลของคุณใน Power BI ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น อย่าลืมติดตามบทความอื่น ๆ ของเราเพื่อเรียนรู้เทคนิคและเคล็ดลับใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้คุณกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล เราพร้อมที่จะแบ่งปันความรู้และไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทักษะการใช้ Power BI ไปด้วยกันนะคะ บทความโดย ขวัญศิริ ศิริมังคลาตรวจทานและปรับปรุงโดย นววิทย์ พงศ์อนันต์ อ้างอิง
30 July 2024
การประยุกต์ใช้ข้อมูลทางอุตุฯเพื่อการเกษตร ท่องเที่ยว และการเดินเรือ
ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยามีผลต่อการวางแผนในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย บทความนี้จะยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาสำหรับการวางแผนการเพาะปลูกข้าวนาน้ำฝน การวางแผนสำหรับการท่องเที่ยว รวมทั้งการเฝ้าระวังในการเดินเรืออีกด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา ร่วมกับ GBDi ในการนำข้อมูล Big Data ทางอุตุนิยมวิทยาของกรมอุตุฯ มาประยุกต์ใช้ เพื่อนำเสนอข้อมูลการพยากรณ์อากาศให้เกิดประโยชน์ต่อภาคส่วนต่าง ๆ โดยในระยะเริ่มต้น GBDi ให้การสนับสนุนกรมอุตุฯในด้านการทำ Data Visualization และ Data Analytics ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนโครงการในระยะสั้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการเชื่อมโยงและการวิเคราะห์ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ผ่าน 3 โครงการหลัก ดังนี้ 1. อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าว ซึ่งมีการสำรวจ ศึกษาสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ และสร้างแบบจำลอง เพื่อมุ่งเน้นการปลูกข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรและลดผลกระทบจากความเสียหายที่เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวนที่ไม่อาจคาดเดาได้ สร้างเป็น Dashboard การตัดสินใจปลูกข้าวในพื้นที่นาน้ำฝนของภาคอีสานโดยใช้ปริมาณน้ำฝนสะสมล่วงหน้าดังรูปที่ 1 และ 2 2. อุตุนิยมวิทยาเพื่อการท่องเที่ยว           การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราโดยเฉพาะในเรื่องของการเดินทาง การติดตามสภาพอากาศเพื่อการท่องเที่ยวถือเป็นประเด็นสำคัญที่เราสนใจในการนำข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยามาประยุกต์เพื่อแนะนำการท่องเที่ยว โดยแบ่งตามช่วงเวลาที่สนใจ แดชบอร์ดแสดงข้อมูลการคาดการณ์วันที่เหมาะสมสำหรับการเดินป่า การไปเที่ยวชายหาด การไปเที่ยวทะเล และกิจกรรมอื่น ๆ โดยมีตัวกรองให้สามารถเลือกแสดงผลเดือนที่สนใจได้ โดยใช้ความสามารถของกรมอุตุนิยมวิทยาที่สามารถพยากรณ์อากาศ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ตามลักษณะอากาศที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ นอกจากนี้ยังมีการแสดงปฏิทินที่แสดงความเหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี โดยแยกเป็น สามารถดูตัวอย่างประกอบได้ที่ Dashboard 3. การพยากรณ์อากาศเพื่อการเดินเรือ การพยากรณ์อากาศเพื่อการเดินเรือ อาศัยข้อมูลจาก 2 แบบจำลอง คือ ข้อมูลจำแนกตามท่าเรือต่าง ๆ โดยข้อมูลที่แสดงใน Dashboard ได้แก่ พิกัดท่าเรือ ปริมาณน้ำฝน ความสูงคลื่น คาบคลื่นเฉลี่ย ทิศทางคลื่น ทิศทางลม และความเร็วลม โดยข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ถูกนำมาใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเดินเรือ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาในส่วนของคำแนะนำของการปลูกข้าวในพื้นที่นาน้ำฝน คำแนะนำในการวางแผนการท่องเที่ยว และการตัดสินใจเดินเรือในเบื้องต้นเท่านั้น ในระยะถัดไปอาจมีการนำข้อมูลจากแบบจำลองอื่น ๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติมมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของเราทุกคนต่อไป Reference Dashboard การเกษตร Dashboard การท่องเที่ยว Dashboard การเดินเรือ เนื้อหาโดย ขวัญศิริ ศิริมังคลาตรวจทานและปรับปรุงโดย 
14 December 2022
กรมพัฒนาที่ดินกับการใช้ Data science ในการดูแลเกษตรกรอย่างใกล้ชิด
ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้รู้จักและเข้าใจดินในพื้นที่ของตนเอง ผ่านคำแนะนำในการจัดการดินที่เหมาะสมและรวดเร็วโดยอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคคลากรจากกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวทางกรมฯ จึงเปิดรับเกษตรกรที่สนใจหรือต้องการรับความช่วยเหลือผ่านโครงการที่ชื่อว่า “บัตรดินดี” บัตรดินดี: บัตรประจำตัวแปลงเกษตร บัตรดินดี หรือชื่อเต็มๆ ว่า “โครงการบริหารจัดการดินเชิงรุกแก่เกษตรกรรายแปลงผ่านบัตรดินดี” เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเกษตรกรผู้ถือบัตรดินดี ให้ได้รับการบริการด้านดินอย่างใกล้ชิด ประมวลผลปัญหาการเกษตรในเบื้องต้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำการจัดการดิน โดยกรมพัฒนาที่ดินได้มีการรวบรวมคลังข้อมูลดินของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ ในการนี้ทางกรมพัฒนาที่ดินได้ร่วมมือกับ GBDi เพื่อเสริมสร้างการใช้ประโยชน์และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของ Dashboard เพื่อให้เข้าใจลักษณะข้อมูลของโครงการดังกล่าว และสามารถนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผน ต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจสมัครสมาชิกบัตรดินดี ในเบื้องต้นทางกรมพัฒนาที่ดินได้ส่งชุดข้อมูลจำนวน 143,034 ราย เพื่อนำมาวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาพรวมของผู้ถือบัตรดินดี รูปที่ 1 แสดง Dashboard ที่ทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าพื้นที่ที่สนใจมีจำนวนสมาชิกผู้ถือบัตรดินดี และจำนวนสมาชิกที่ได้รับคำแนะนำด้านการจัดการดินเป็นจำนวนเท่าใด กระจายในพื้นที่ใดบ้าง พืชที่นิยมปลูก 10 อันดับแรกคือพืชชนิดใดบ้าง รวมถึงมีการแสดงขนาดแปลง และกลุ่มชุดดิน รวมทั้งมีการแสดงจำนวนการเป็นสมาชิกโครงการอื่น ๆ ของสมาชิกผู้ถือบัตรดินดี นอกจากนี้ยังสามารถดูรายละเอียดแต่ละพื้นที่โดยเลือกพื้นที่จังหวัดที่ต้องการในแผนที่ได้ดังรูปที่ 2 ซึ่งเป็นข้อมูลบัตรดินดีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หน้าจอการแสดงผลอื่น ๆ ก็จะแสดงผลที่สอดคล้องกับพื้นที่ที่เลือก ในส่วนของการจัดการที่มีการดำเนินการสามารถสรุปในแต่ละพื้นที่จังหวัดดังรูปที่ 3 จากข้อมูลที่ได้มีการรวบรวมมานั้น การปลูกพืชปุ๋ยสดเป็นวิธีการจัดการที่มีการใช้มากที่สุด รองลงมาคือการไถพรวนตามแนวระดับ และการสร้างบ่อน้ำในไร่นา/สระน้ำ/บ่อเก็บน้ำ ตามลำดับ จังหวัดที่มีการใช้วิธีการจัดการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สุรินทร์ เชียงราย และ น่าน ตามลำดับ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกดูข้อมูลจากวิธีการจัดการได้ โดยเลือกวิธีการจากตารางด้านขวา เพื่อดูว่า การจัดการดังกล่าวพบในจังหวัดต่าง ๆ เท่าไร ตัวอย่างเช่น จังหวัดที่มีการปลูกพืชปุ๋ยสด 3 อันดับแรก ได้แก่ สุรินทร์ เชียงราย และนครราชสีมา ตามลำดับ รูปที่ 4 แสดงปัญหาที่พบในแต่ละจังหวัด โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ปัญหาดิน และปัญหาน้ำ พบว่า ปัญหาดินที่เกิดมากที่สุดคือดินกรดที่มีการพบสูงถึงกว่า 46% ส่วนปัญหาน้ำที่พบมากที่สุดคือปัญหาขาดแคลนน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถดูปัญหาดินและปัญหาน้ำที่พบในแต่ละจังหวัดโดยเลือกจังหวัดในแผนที่ แผนภูมิรูปวงกลมจะถูกปรับให้สอดคล้องกับจังหวัดที่เลือก ผลการวิเคราะห์ดินจากชุดตรวจสอบดินสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ดินจากชุดตรวจสอบดินภาคสนามแสดงดังรูปที่ 5 และผลการวิเคราะห์ดินจากห้องปฏิบัติการดังรูปที่ 6 พืช 10 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมในการปลูก รวมถึงพืช 10 อันดับแรกที่ให้ผลผลิตสูงสุด แสดงดังรูปที่ 7 นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ B/C Ratio (Benefit Cost Ratio) ซึ่งเป็นอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน หากค่า B/C Ratio มากกว่า 1 แสดงว่าผลตอบแทนที่ได้คุ้มค่ากับการทุน การวัดค่า B/C Ratio ของพืช 10 อันดับแรกที่นิยมปลูก พบว่ามีค่ามากกว่า 1 ทั้งก่อนและหลังจากการได้รับคำแนะนำ เมื่อเทียบอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนก่อนและหลัง จะเห็นทิศทางการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่า B/C Ratio ถึงแม้ว่าผลผลิตของพืชทุกชนิดจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่า B/C Ratio ก่อนและหลัง พบว่าบางพืชมีผลกำไรที่ลดลง ซึ่งทางกรมพัฒนาที่ดินสามารถนำผลการวิเคราะห์นี้ไปทำการปรับปรุงแนวทางการจัดการเพื่อส่งเสริมการเพิ่มกำไรให้แก่เกษตรกรต่อไป Dashboard นี้จะช่วยให้เราเห็นมุมมองเชิงลึกของชุดข้อมูล และนำไปสู่การใช้ข้อมูลเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามเป้าหมายในการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรโดยใช้ Big Data เข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการ ในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มส่วนของการวิเคราะห์แนวโน้มและปัจจัยเพื่อให้สามารถทำนายผลผลิตในอนาคตจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ได้ Reference บัตรดินดี ID Din Dee (ldd.go.th) เนื้อหาโดย ขวัญศิริ ศิริมังคลาตรวจทานและปรับปรุงโดย ดวงใจ จิตคงชื่น
5 March 2022
การประเมินโอกาสในการเสียชีวิต (Survival Rate Calculator) จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาด้วย Big Data
รู้หรือไม่ ผู้สูงอายุวัย 65 ปีที่มีโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคประจำตัว มีความเสี่ยงประมาณ 60% ที่จะเสียชีวิตหากป่วยด้วยโรค COVID-19 (ภาพที่ 1) โดยเราสามารถวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Survival Rate Calculator การคำนวนเหล่านี้สามารถทำได้โดยใช้ Big Data มาช่วยในการพยากรณ์โอกาสในการเสียชีวิต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการคำนวณอัตราการรอดชีวิต (Survival Rate Calculator) จากการรายงานข่าวผู้เสียชีวิตจากโรค COVID-19 เรามักพบว่า ผู้เสียชีวิตเหล่านั้นมักมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค บทความนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจเหตุผลว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น โดยอธิบายว่า Big Data ที่ใช้มีอะไรบ้าง การคำนวณเบื้องต้นทำได้อย่างไร เว็บไซต์ Coronavirus Dashboard (ncov2019.live) นำเสนอการวิเคราะห์อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยได้นำข้อมูลผู้ป่วยที่ผ่านการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเดียวกันนี้ เพื่อคำนวณโอกาสในการเสียชีวิตที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ช่วงอายุ เพศ และโรคประจำตัว Avi Schiffmann ผู้คิดค้น Survival Rate Calculator นี้ที่ใช้ในเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นเพียงเด็กมัธยมปลายอายุ 18 ปี ซึ่งทำให้เราเห็นว่า Big Data ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลาย ๆ คนคิด ที่จริงแล้วใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ในการเข้าใช้บริการ เราต้องป้อนข้อมูลช่วงอายุ เพศ และรายละเอียดเกี่ยวกับโรคประจำตัว (ถ้ามี) โดยผู้ที่มีความเสี่ยงสูงคือผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular disease) โรคเบาหวาน (Diabetes) โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (Chronic respiratory disease) โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) และโรคมะเร็ง (Cancer) ตัวอย่างหน้าจอในการป้อนข้อมูลแสดงดังภาพที่ 2 ตัวอย่างเช่น ชายอายุ 65 ปี ที่มีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ผลลัพธ์จากการคำนวณชี้ว่า ชายคนดังกล่าวมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตหากเขาติดเชื้อ COVID-19 อยู่ที่ 63.34% ดังแสดงในภาพที่ 3 การวิเคราะห์อาศัยข้อมูลจาก COVID-19 #CoronaVirus Infographic Datapack — Information is Beautiful ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยผู้ป่วยที่หายป่วยและเสียชีวิตจากโรค COVID-19 โดยจากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะช่วงอายุ 80-89 ปี  และเพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิงดังแสดงในภาพที่ 4 และภาพที่ 5 ตามลำดับ ภาพที่ 6 แสดงความเสี่ยงแยกตามโรคประจำตัวของผู้เสียชีวิต โดยผู้ที่มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากที่สุดคือ ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคประจำตัว รองลงมาคือโรคเบาหวาน โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งตามลำดับ หากผู้ป่วยรายใดมีโรคประจำตัวข้างต้นมากกว่า 1 โรค ความเสี่ยงในการเสียชีวิตก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่ 3 โรคขึ้นไป จะมีความเสี่ยงสูงกว่า 50% ดังแสดงในภาพที่ 7 การมีโรคประจำตัวถือเป็นปัจจัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีอายุ 60 – 79 หากไม่โรคประจำตัวจะมีความเสี่ยงอยู่ 5% แต่หากผู้ติดเชื้อในช่วงอายุดังกล่าวมีโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคประจำตัว ความเสี่ยงจะมีสูงถึง 52.5% อย่างไรก็ตามการคำนวณครั้งนี้ใช้ Big Data ที่มีการศึกษาวิจัยในประเทศจีน อิตาลี และสหราชอาณาจักร มิได้ใช้ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาทั่วโลก และใช้เพียง 5 โรคที่มีสัดส่วนในการมีโรคประจำตัวดังกล่าวของกลุ่มตัวอย่างสูง แต่ก็สามารถใช้เป็นแนวทางในการเฝ้าระวังพิเศษโดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูง และหากมีโรคประจำตัวมากกว่า 1 โรค ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในกาสเสียชีวิตให้สูงขึ้นอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว Survival Rate Calculator นี้อ้างอิงการคำนวณจากข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ไม่ได้มีผลทางการแพทย์เข้ามาเกี่ยวข้อง สามารถใช้เครื่องมือในการประเมินเบื้องต้นได้ และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ Big Data กับการประยุกต์ใช้เกี่ยวกับโรค COVID-19 Reference
10 May 2021
PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.