Papoj Thamjaroenporn

Papoj Thamjaroenporn

Former-Editor-in-Chief at BigData.go.th and Senior Data Scientist at Government Big Data Institute (GBDi )

บทความทั้งหมด

All Articles

Author Category Post Filter
ต้นแบบบทความ (Article Template v2023)
There is no excerpt because this is a protected post.
17 August 2023
Digital Transformation สิ่งที่ทุกองค์กรต้องทำเพื่อความอยู่รอด
Digital Transformation เป็นคำที่องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกและในประเทศไทยเริ่มรับรู้และตระหนักอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่รายงานโดย McKinsey ในปี ค.ศ. 2017 ว่ามีองค์กรเพียง 40% ในภาคธุรกิจโดยรวมที่เข้าสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างเต็มตัว มาจนถึงทุกวันนี้ในยุคหลังโควิด-19 (post-pandemic/new normal era) เราแทบจะนึกไม่ออกแล้วว่า มีองค์กรใดบ้างที่ยังไม่ได้เข้าสู่ความเป็นดิจิทัลทางใดทางหนึ่งแล้วยังอยู่รอดได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าทุกองค์กรจะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้อย่างประสบความสำเร็จ บางองค์กรโอบรับเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพร้อมกันหลายชิ้น แต่กลับเป็นเทคโนโลยีที่ไม่เชื่อมโยงกัน บางองค์กรพยายามบังคับให้คนในองค์กรต้องปรับวิถีการทำงานผ่านเทคโนโลยีชิ้นใหม่ แต่ทำได้ไม่นาน พนักงานก็กลับมาทำงานตามวิถีเดิม ทำให้องค์กรเสียทรัพยากรและค่าใช้จ่ายสูญเปล่ามหาศาล หลาย ๆ ท่านคงจะสงสัยกันแล้วว่า ในบทความนี้ ผมจะพาท่านผู้อ่านมาลองศึกษาและตอบคำถามเหล่านี้กันครับ วิวัตนาการ 3 ขั้นตอน สู่ Digital Transformation ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจร่วมกันก่อนว่า กว่าองค์กรหนึ่งจะทำ Digital Transformation ได้นั้นจริง ๆ แล้วจะต้องผ่านวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีสามขั้นตอน คือ Digitization, Digitalization, และตามท้ายด้วย Digital Transformation Digitization คือ การแปลงข้อมูลแบบแอนะล็อก (analog) เป็นข้อมูลแบบดิจิทัล (digital) ตัวอย่างคลาสสิกคือการสแกนเอกสารกระดาษเป็นเอกสารดิจิทัล เก็บในรูปแบบไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์ ลดความจำเป็นในการใช้ตู้เก็บเอกสาร ลดความเสี่ยงจากความเสียหายของข้อมูลในกรณีที่เอกสารเริ่มเก่า ขาด หรือเปียกน้ำ อีกตัวอย่างหนึ่งคือการใช้ word processor อย่าง Microsoft Word ในการสร้างเอกสารดิจิทัล แทนการสร้างเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีด Digitalization เป็นขั้นกว่าของ Digitization ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อทำสิ่งที่องค์กรทำได้อยู่แล้ว แต่ทำได้ดี เร็ว หรือประหยัดทรัพยากรได้มากกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาข้อมูลจากเอกสาร ถ้าเป็นเอกสารกระดาษ องค์กรต้องใช้คนเปิดตู้เอกสารแล้วไล่ดูทีละแฟ้มจนเจอข้อมูลที่ต้องการ แต่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างคอมพิวเตอร์มาใช้นั้น คอมพิวเตอร์จะสามารถค้นหาเอกสารที่ต้องการได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ผ่านการพิมพ์คำค้นหาไม่กี่คำ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการจัดเรียง (indexing and sorting) ไฟล์ดิจิทัลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ และที่สำคัญคือ ประหยัดทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย จะสังเกตได้ว่า Digitization และ Digitalization ไม่ได้ทำให้ธุรกิจหรือองค์กรสามารถทำอะไรใหม่ ๆ ได้มากกว่าเดิม เอกสารข้อมูลก็ยังคงมีอยู่ การค้นหาเอกสารก็ยังทำได้เหมือนเดิม แต่สามารถทำได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น Digital Transformation คือการเปลี่ยนแปลงขั้นสูงทางดิจิทัลสำหรับองค์กร ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างนวัตกรรมใหม่ เปลี่ยนวิถีการทำธุรกิจหรือธุรกรรมไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง และสร้างคุณค่า (value) ให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งานในทุกโอกาส (นิยามโดย Salesforce) โดยเริ่มจากการตั้งคำถามว่า “เราจะพลิกโฉมธุรกิจและกระบวนงานของเราได้อย่างไร ให้องค์กรก้าวไปสู่ขั้นกว่าของการตัดสินใจที่ดีขึ้น ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และประสบการณ์ของลูกค้าและผู้ใช้งานที่ตรงใจมากขึ้น?” Digital Transformation เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างนวัตกรรมใหม่ เปลี่ยนวิถีการทำธุรกิจหรือธุรกรรมไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง และสร้างคุณค่า (value) ให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งานในทุกโอกาส หากเรามองย้อนกลับไปที่ตัวอย่างของการจัดเก็บเอกสาร หากเราผนวก word processor ผนวกกับเทคโนโลยีคลาวด์ และ smartphones ทำให้พนักงานภายในองค์กรสามารถ (1) แก้ไขเอกสารได้ทันที, (2) เข้าถึงเอกสารจากที่ไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปออฟฟิศ, (3) สามารถใช้งาน collaboration feature เพื่อจัดทำเอกสารร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นขีดความสามารถ (capabilities) ใหม่ ๆ ที่องค์กรไม่เคยทำได้มาก่อนด้วยเทคโนโลยีเดิม ๆ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กรได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน อีกตัวอย่างที่คลาสสิกมาก คือ กรณีศึกษาของ Netflix ที่ผันตนเองจากเดิมที่เคยเป็นผู้ให้บริการเช่าวิดีโอ มาเป็นผู้ให้บริการความบันเทิงผ่านช่องทาง streaming ซึ่งสอดคล้องกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ในวงการมากขึ้น ซึ่ง Digital Transformation ของ Netflix ทำให้เกิดประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมกับผู้ใช้งานที่เทคโนโลยีเดิมไม่สามารถทำได้มาก่อน นั่นคือ ระบบการแนะนำสิ่งที่ตรงใจผู้ใช้งาน หรือ recommender system ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความชอบและพฤติกรรมการดูหนังของผู้ใช้งานที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมดิจิทัลของ Netflix ได้ที่นี่) และประสบการณ์ที่ดีกว่าอย่างไม่เคยมีมาก่อนนี้ ทำให้ Netflix เข้ามาสร้างความสั่นสะเทือน (disruption) ในธุรกิจสื่อและความบันเทิงที่มีอยู่เดิม และแน่นอนว่า องค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันก็จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ต่ออย่างยั่งยืน Digital Transformation สามารถทำให้องค์กรหรือบริษัทหนึ่งสร้างความสั่นสะเทือน (disruption) ในวงการธุรกิจที่มีอยู่เดิม และแน่นอนว่า องค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันก็จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ต่ออย่างยั่งยืน มากกว่าการพัฒนาศักยภาพ Digital Transformation คือหนทางรอด จากนิยามความหมายของ Digital Transformation ข้างต้น เราพอจะเห็นภาพว่าทำไม Digital Transformation ถึงสำคัญ นั่นเป็นเพราะ Digital Transformation เป็นมากกว่าการแค่ทำให้องค์กรขึ้นพัฒนาศักยภาพตนเองให้ดีขึ้น แต่หลาย ๆ ครั้ง มันหมายถึง หนทางรอด ของธุรกิจนั้น ๆ เพราะถ้าองค์กรหรือบริษัทหนึ่ง ๆ ไม่วิวัฒนาการตนเองผ่าน disruption ในไม่ช้าก็จะต้องถูกองค์กรหรือบริษัทอื่น disrupt อยู่ดี นอกจากนี้แล้ว ผู้คนทั้งบุคลากรภายในองค์กรและบุคคลภายนอกที่ทำธุรกรรมกับองค์กรยุคใหม่ล้วนมีความคาดหวังที่สูงขึ้นจากความสะดวกสบายที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะนำเสนอประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าและผู้ใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น และความคาดหวังที่สูงเหล่านี้สามารถถูกตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงินได้อีกด้วย ผลการวิจัยโดย Isobar ค.ศ. 2017 ได้ทำการศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกากว่า 1,000 บริษัท และค้นพบความสัมพันธ์ (correlation) ระหว่าง “ความมีศักยภาพทางดิจิทัล” ของบริษัทและราคาหุ้นของบริษัทในระยะยาวซึ่ง “ความมีศักยภาพทางดิจิทัล” นี้ถูกวัดโดยการพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ความเป็นที่รู้จักของแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัล สัดส่วนรายได้ที่มาจากช่องทางดิจิทัล เป็นต้น ทำไม Digital Transformation ถึงทำยาก? การที่หลาย ๆ องค์กรก็ยังไม่สามารถทำ Digital Transformation ได้เป็นผลสำเร็จ อุปสรรคและข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น (Common Mistakes) สามารถแบ่งหลัก ๆ ได้เป็นกรณีดังนี้: ในงานสัมมนา Big Data Leadership Summit 2021 คุณปาจรีย์ แสงคำ Head of Digitization จากโอสถสภา ผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Transformation ได้กล่าวไว้ว่า อุปสรรคในการทำ Digital Transformation ที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องทางเทคนิคหรือตัวเทคโนโลยีที่ใช้ แต่เป็นเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กร การปรับเปลี่ยนทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยที่บุคลากรภายในองค์กรอาจคุ้นชินกับวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ ที่ได้ผลอยู่แล้ว ประกอบกับผลเสียที่อาจเกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานแล้วเกิดข้อผิดพลาด ทำให้บุคลากรภายในองค์กรอาจมีกรอบความคิด (mindset) ที่ว่า “if it ain’t broke, don’t fix it.” (อย่าไปเปลี่ยนอะไรที่มันยังไม่เสีย) ซึ่งอาจรักษาเสถียรภาพขององค์กรโดยรวมไว้ได้ แต่ชุดวิธีคิดเช่นนี้กลับกลายเป็นอุปสรรคต่อวิวัฒนาการขององค์กรสู่ความเป็นดิจิทัล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิถีการปฏิบัติงาน และทัศนคติต่อการทำงานภายในองค์กรสู่ Digital Transformation คุณปาจรีย์ได้ให้ข้อแนะนำในหลักการเปลี่ยนพฤติกรรม วิถีการปฏิบัติงาน และทัศนคติต่อการทำงานภายในองค์กร สู่การขับเคลื่อนด้วย Digital Transformation ดังนี้ อุปสรรคในการทำ Digital Transformation ไม่ได้มีเพียงเรื่องทางเทคนิค แต่เป็นเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กร แนวทางของกระบวนการ Digital Transformation             ถึงแม้ว่ากระบวนการทำ Digital Transformation จะไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่องค์ประกอบที่ชัดเจนที่คุณปาจรีย์ได้แนะนำไว้ โดยอ้างถึงแนวคิดจาก Gartner คือ การปลูกฝังค่านิยมและชุดความคิด (mindset) ผนวกกับกระบวนการทำงาน (process) ที่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เมื่อถูกขยายผลด้วยเทคโนโลยี (technology) ที่ตอบโจทย์และภารกิจขององค์กร จะนำไปสู่ขีดความสามารถ (capabilities) ใหม่ ๆ ที่สร้างประสิทธิผลเชิงประจักษ์ บทสรุป ท่ามกลางยุคที่ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ องค์กรที่ผ่านกระบวนการ Digital Transformation จะสร้างขีดความสามารถในการผลิตนวัตกรรมที่เป็นมากกว่าการเติบโต แต่อาจหมายถึงความอยู่รอดขององค์กร ทั้งนี้ คุณปาจรีย์ได้เน้นย้ำว่า ความท้าทายหลักของ Digital Transformation คือการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล และวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มวางยุทธศาสตร์ตามหลักการเปลี่ยนพฤติกรรมและชุดความคิด (behavior and mindset) ภายในองค์กร ผนวกกับกระบวนการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เนื้อหาโดย ปพจน์ ธรรมเจริญพร ตรวจทานและปรับปรุงโดย ปพจน์ ธรรมเจริญพร
1 June 2023
AI กับการอ่านสัญญาณสมองมนุษย์
เมื่อพูดถึงเซลล์ประสาท หลายคนอาจนึกถึง Neural Network ที่เป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยี AI ในปัจจุบัน แต่บทความนี้ ผมอยากพูดถึงเซลล์ประสาทจริง ๆ ที่อยู่ในสมอง เมื่อเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์ส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันก็จะเกิดสนามไฟฟ้าขึ้นในสมอง และถ้ากิจกรรมในสมองนั้นมีมากพอ สนามไฟฟ้านี้ก็จะเข้มมากพอที่จะพอส่งผ่านกะโหลกศีรษะเข้ามาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ ที่บริเวณศีรษะของเราครับ ซึ่งสัญญาณนี้ถูกค้นพบครั้งแรกตั้งแต่ปี 1929 ด้วยความบังเอิญ แต่ต้องใช้เวลาหลายสิบปีกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจมันจริง ๆ ครับ เป็นศาสตร์ที่เรียกว่า การวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือ Electroencephalogram (EEG) ( AI คืออะไร ) ศาสตร์แห่งการอ่านคลื่นสมอง เนื่องจากสมองเป็นศูนย์กลางการประมวลผลหลาย ๆ อย่างของมนุษย์ ตั้งแต่การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ไปจนถึงการคิดว่าคืนนี้จะกินข้าวอะไรกับใครดีนะ สัญญาณที่อ่านได้จากสมองเลยน่าสนใจเพราะมันอาจจะสื่อความหมายอะไรบางอย่าง หรือบางที คอมพิวเตอร์อาจจะเข้าใจมนุษย์ได้เลยโดยที่มนุษย์ไม่ต้องสั่งการอะไร เพียงแต่คอมพิวเตอร์อ่านสัญญาณสมองโดยตรง จนเกิดเป็นสาขาที่เรียกว่า Brain-Computer Interface (BCI) แต่อย่าเพิ่งคาดหวังว่าคอมพิวเตอร์จะ “รู้ใจ” เราไปทั้งหมดนะครับ การศึกษาในสาขานี้ยังถือว่าใหม่มาก และคอมพิวเตอร์ยังไม่ได้เก่งขนาดนั้น ถามว่าศาสตร์นี้พัฒนาไปถึงไหนแล้ว ต้องเริ่มอธิบายก่อนครับว่า งานวิจัยสายนี้แบ่งออกเป็น 3 สาขาย่อย สาขาแรกคือ การอ่านสัญญาณที่เกิดจากมนุษย์ “สั่งการ” หรือที่เรียกว่า Active BCI โดยมนุษย์นั้นแค่เราคิดว่าเราอยากจะขยับแขนซ้าย แค่เราคิด แต่ไม่ได้ขยับจริง ๆ คลื่นสมองก็เข้มพอที่คอมพิวเตอร์จะอ่านได้ครับ และเริ่มประสบความสำเร็จเมื่อนักวิจัยสามารถสร้างเครื่องอ่านจนผู้พิการสามารถเคลื่อนย้ายรถเข็นได้ตามใจด้วยการ “นึกคิด” การขยับแขนซ้ายขวา สาขาที่สอง เกิดจากที่นักวิจัยเริ่มพบว่า ถ้าเรามองภาพที่กระพริบด้วยความถี่หนึ่ง เช่น 10 ครั้งต่อวินาที คลื่นสมองบางส่วน เช่น ส่วนหลังก็จะกระพริบ 10 วินาทีด้วย ถ้าเราทำให้ตัวอักษร A-Z กระพริบด้วยความถี่แตกต่างกัน บางที เราอาจให้ผู้พิการเลือกมองตัวหนังสือหนึ่งแล้วเราก็มาอ่านจากสัญญาณสมอง ก็พอรู้แล้วว่าผู้พิการอยากจะพิมพ์ตัวหนังสือไหน ซึ่งแบบนี้ผู้พิการจะสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบแรกครับ เป็นการเชื่อมต่อกับสมองด้วยระบบ “ตอบสนอง” กับสิ่งเร้า เลยเรียกว่า Reactive BCI สาขาสุดท้ายนี่พิเศษหน่อย และไม่เหมือนสองสาขาแรกคือ ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเลย แค่นั่งเฉย ๆ ไม่ต้องสั่งการหรือดูตัวหนังสืออะไร คอมพิวเตอร์ก็จะพยายามอ่านข้อมูลจากสมองโดยตรง ถามว่าคอมพิวเตอร์อ่านอะไรได้บ้าง คงไม่ถึงกับถอดรหัสความคิดแน่นอนครับ เพราะสัญญาณส่วนนั้นอยู่ลึกมากในสมอง แต่ที่เครื่องจะพออ่านได้คือ “อารมณ์” “ความรู้สึก” “ความเครียด” ที่สัญญาณมีมากพอที่จะหวัดได้ที่หนังศีรษะ ด้วยความที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเลย เลยเป็นสาขาที่เรียกว่า Passive BCI ซึ่งสาขานี้เป็นเป็นสาขาที่มาแรง และเราจะมาพูดถึงเรื่องนี้ในบทความนี้กันครับ ทำนายอารมณ์จากคลื่นสมอง สมองคนเราทำงานสอดประสานกันหลายส่วน การจะเข้าใจสมองเลยต้องมีขั้วไฟฟ้าวางไว้ที่หลายตำแหน่งบนศีรษะ นอกจากนี้เซลล์ประสาทยังสื่อสารกันเร็วมาก เราเลยต้องมีเครื่องมือวัดที่มีความถี่สูง ถึงจะสามารถจับสัญญาณทันได้ เมื่อรวมกันแล้ว สัญญาณคลื่นสมองเลยเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่เข้าใจยาก นอกจากนี้แล้วยังอาจถูกรบกวนจากคลื่นรอบข้างได้ง่ายอีกด้วย แต่การพัฒนาของ AI นั้นทำให้มนุษย์ศึกษาและถอดรหัสคลื่นสมองได้เก่งมากขึ้นครับ โดยมหาวิทยาลัยโอซาก้าได้ใช้ Machine Learning ในการอ่านคลื่นสมองในขณะที่คนเราฟังเพลง และพยายามจะทำนายว่าคนฟังรู้สึกอย่างไรกับเพลงนี้ ชอบหรือไม่ชอบ ผ่อนคลายหรือเร้าใจ ด้วยความแม่นยำระดับ 80% ครับ เพราะจริง ๆ แล้วนั้น บางทีเราอาจจะไม่รู้ความรู้สึกตัวเองจริง ๆ ก็เป็นได้ อย่างเช่นเวลาเราฟังเพลง เราไม่รู้หรอกว่าเรารู้สึกอย่างไร บางที ฟังเพลงเศร้า เราอาจจะมีความสุขก็ได้ หรือบางทีฟังเพลงสนุก ๆ แต่เราไม่ชอบเพลงเร็ว ก็อาจจะทำให้หงุดหงิดได้ครับ แต่สิ่งนึงที่เรารู้คือคลื่นสมองไม่ได้โกหกเรา ว่าคนฟังชอบเพลงนี้จริง ๆ หรือไม่ เพราะฉะนั้นโมเดลที่ทำนายได้เก่ง ก็จะสามารถเข้าใจคนคนนั้นได้มากกว่าตัวเขาเองด้วยซ้ำ เสียงเพลงจากสมอง ทีมวิจัยจากโอซาก้าต่อยอดการวิจัยด้วยการทดลองที่ให้ผู้ฟังมานั่งฟังเพลงสัก 10 เพลง พร้อมกับอ่านคลื่นสมอง แล้วดูว่าเพลงไหนบ้างที่คนฟังฟังแล้ว(โมเดลทำนายว่า)ชอบ หลังจากนั้นก็จะใช้ Genetic Algorithm แต่งเพลงใหม่ในสไตล์ของตัวเองตามเซ็ตเพลงที่ชื่นชอบนั้น กลายเป็นเพลงประจำตัวที่ไม่เหมือนใครด้วยครับ [1] งานวิจัยด้านการอ่านอารมณ์จากคลื่นสมองไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ แต่จุดที่น่าสนใจของของกลุ่­มนี้คือ เครื่องวัดคลื่นสมองที่เป็นแบบ “สวมใส่ได้” (Wearable) สะดวกสบาย ไม่เหมือนกับเครื่อง EEG ที่เราเห็นตามโรงพยาบาลที่มีสายพะรุงพะรังครับ เพราะเวลาเราฟังเพลง เราคงอยากฟังแบบ “ไร้สาย” และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ซึ่งเครื่อง Wearable EEG นี้เป็นความร่วมมือวิจัยกับบริษัท imec ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ครับ โดยอุปกรณ์นี้จะช่วยลดระยะเวลาการติดตั้งเครื่องมือ และยังทำให้ใช้งานสะดวกอีกด้วย [2] ทีมวิจัยกำลังพัฒนา AI ต่อไปเพื่อให้อ่านอารมณ์ได้แม่นยำมากขึ้น และการใช้งานเป็นธรรมชาติมากขึ้น สักวันหนึ่ง เราอาจจะเห็นเครื่องมือนี้วางขายในท้องตลาด เพื่อบันทึกอารมณ์รายชั่วโมง บันทึกความเครียดรายวัน หรือสภาพจิตรายสัปดาห์ เพื่อให้เราวางแผนจัดการชีวิตและอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้นต่อ ๆ ไป หรือเราอาจจะนำ AI มาใช้เป็นตัวช่วยในการปรับอารมณ์ โดย AI จะแต่งเพลงเฉพาะที่อาจจะอารมณ์ดีขึ้นก็ได้นะครับ เพราะ AI รู้จักเรามากขึ้นจากการอ่านสัญญาณสมองของเราแล้ว ( AI คืออะไร ) เนื้อหาโดย ดร.นัฐพงศ์ ธรรมสารตรวจทานและปรับปรุงโดย ปพจน์ ธรรมเจริญพร
24 November 2022
Social Listening คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ และมีวิธีการทำอย่างไร?
“Social-Listening” คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ? เครื่องมือ Social Listening ที่ดีที่สุดคืออะไร? พบคำตอบได้ที่นี่ จะดีแค่ไหน ถ้าหากคุณ (และทุกคนในทีมของคุณ ตั้งแต่แผนก Social Media, PR, Product ไปจนถึง การตลาด) สามารถเข้าถึงข้อมูลที่บ่งบอกว่า ณ ตอนนี้ผู้คนกำลังพูดเรื่องอะไร พูดถึงแบรนด์คุณและคู่แข่งอย่างไร นี่แหละคือ บทบาทของ Social Listening Social Listening ที่จะทำให้คุณรู้ว่ามีคนเพิ่งโพสต์ทวีตชื่นชมสินค้าของคุณอยู่ มีคนเขียนถึงบริษัทของคุณในบทความที่รวมสตาร์ทอัพที่มีแนวโน้มดีที่สุดของปี ในขณะเดียวกันก็มีคนโพสต์บ่นเรื่องการดูแลลูกค้าของคุณ ไม่เพียงเท่านี้คุณยังสามารถรู้ได้ว่าคู่แข่งของคุณได้ทำการเปิดตัวสินค้าใหม่และมีคนพูดถึงสินค้านั้นอย่างไร รู้แบบนี้แล้วไปรู้จัก Social Listening กันเถอะ Social Media Listening คืออะไร? Social Listening คือกระบวนการในการติดตามคำคำหนึ่ง วลีหนึ่ง หรือแม้แต่ประโยคที่ซับซ้อนในโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคำที่จะถูกติดตามมักจะเป็นชื่อแบรนด์ แต่รู้หรือไม่ว่า Social Listening ทำได้มากกว่านั้น เพราะคุณสามารถติดตามคู่แข่ง ธุรกิจ แฮชแท็กแคมเปญบนโลกออนไลน์ แล้ววิเคราะห์ออกมาได้ว่าสิ่งที่คุณกำลังติดตามอยู่นั้นถูกพูดถึงในแง่ไหน รวมไปถึงสามารถหาสิ่งที่มีกลุ่มคนกำลังสนใจ เช่น บริษัทอสังหาริมทรัพย์สามารถหากลุ่มคนที่กำลังมองหาสถานที่เช่าสำนักงานในย่านใจกลางเมืองได้ แม้เครื่องมือนี้จะมีคำว่าโซเชียล แต่ Social Listening ไม่ได้รวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดียเพียงอย่างเดียว เพราะเครื่องมือนี้สามารถรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ข่าว บล็อก ฟอรั่ม และเว็บไซต์อื่น ๆ ได้อีกด้วย นอกจากคำว่าโซเชียลในชื่อที่ทำให้คนสับสนเกี่ยวกับ Social Listening แล้ว ยังมีเรื่องของการเรียกชื่ออีกที่ทำให้คนสับสน เพราะต่างคนก็ใช้ชื่อที่แตกต่างกันไป ซึ่งชื่อที่เราได้ยินกันบ่อยครั้งในทุกวันนี้ ได้แก่ Buzz Analysis, Social Media Measurement, Brand Monitoring, Social Media Intelligence รวมไปถึง Social Media Monitoring โดยคำที่กล่าวไปข้างต้นนั้น แม้จะมีความคล้ายกันแต่ไม่ได้มีความหมายเหมือนกันซะทีเดียว ประโยชน์ของ Social Listening Social Media Listening สามารถทำให้คุณเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่มีประสิทธิภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลคู่แข่ง ข้อมูลในการวิเคราะห์ตลาด ซึ่งการที่คุณได้รู้ข้อมูลเหล่านี้นั้นทำให้คุณไม่ต้องมานั่งตั้งคำถามกับแบรนด์คุณว่า คุณจะต้องปรับปรุงตรงไหน ต้องพัฒนาอะไร เพราะข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มันบอกคุณหมดแล้ว นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่คุณสามารถใช้ข้อมูลจาก Social Media Listening นี้ได้ และนี่ตัวอย่างที่คนมักนำเครื่องมือนี้ไปใช้ 1. บริหารจัดการชื่อเสียง บอกเลยว่า การบริหารจัดการชื่อเสียงเป็นเหตุผลหลักที่บริษัทต่าง ๆ ใช้ Social Listening เพราะเครื่องนี้สามารถทำให้ธุรกิจหรือแบรนด์ติดตามการพูดถึงแบรนด์หรือสินค้าของพวกเขาได้ ผู้บริหารหรือเจ้าของแบรนด์จึงสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ณ ตอนนี้กลุ่มลูกค้าหรือคนอื่น ๆ นั้น มองแบรนด์เราอย่างไร ไม่เพียงเท่านี้การติดตามข้อมูลอยู่เรื่อย ๆ จะทำให้แบรนด์สามารถวางแผนแก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้าได้ เพราะเมื่อเริ่มเห็นว่ามีคนพูดถึงแบรนด์ในแง่ลบมากขึ้น ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบและหาแนวทางแก้ไป เพื่อป้องกันไม่ให้แบรนด์เสื่อมเสียชื่อเสียงได้ 2. วิเคราะห์คู่แข่ง นอกจาก Social Media Monitoring Tool จะทำให้คุณสามารถติดตามการพูดถึงของแบรนด์คุณได้แล้ว Social Media Monitoring Tool ยังสามารถติดตามการพูดถึงแบรนด์คู่แข่งของคุณได้อีกด้วย ซึ่งเครื่องมือนี้ก็จะรวบรวมข้อมูลจากสื่อในออนไลน์ทั้งหมดมาให้คุณ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย ฟอรั่มและกระดานสนทนาต่าง ๆ ทำให้คุณไม่ต้องเสียเวลาไปเก็บข้อมูลเหล่านี้ด้วยตนเอง ข้อมูลจาก Social Media Monitoring Tool จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์คู่แข่ง เพราะเครื่องนี้สามารถทำได้ตั้งแต่การวัด Share of Voice และการถูกพูดถึงของแบรนด์คู่แข่ง ทำให้คุณสามารถนำมาเปรียบเทียบกับบริษัทของคุณได้ นอกจากนี้ข้อมูลเหล่านี้ยังทำให้คุณรู้จักลูกค้าของคู่แข่งคุณมากขึ้น คุณจะรู้เลยว่าพวกเขาชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไรในแบรนด์คู่แข่ง ซึ่งคุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงหรือพัฒนาสินค้าของคุณได้ ไม่เพียงเท่านี้คุณยังสามารถใช้เครื่องในการดูว่าอินฟลูเอนเซอร์หรือสื่อไหน กำลังเป็นที่ถูกพูดถึงและพูดถึงในแง่ไหน หรือแม้กระทั่งว่าคู่แข่งใช้อินฟลูเอนเซอร์หรือสื่ออะไรบ้าง จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม Social Media Monitoring จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์คู่แข่งแบบละเอียด 3. คำติชมผลิตภัณฑ์ หากบริษัทหรือแบรนด์ของคุณมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เช่น เปลี่ยนแบรนด์ CI หรือปรับปรุงสินค้า เป็นต้น การติดตามหัวข้อหรือความคิดเห็นจากลูกค้าในโลกออนไลน์จะทำให้คุณเรียนรู้ได้ว่า พวกเขาคิดอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงนั้น รู้ว่าพวกเขาชอบอะไรเกี่ยวกับสินค้าของคุณ รวมถึงรู้ว่าสินค้าของคุณขาดอะไร นอกจากนี้เครื่องมือนี้ยังช่วยให้คุณเรียนรู้หรือรู้จักลูกค้าของคุณมากยิ่งขึ้น โดยเข้าใจความต้องการของพวกเขาได้ดีขึ้นและรู้ว่าต้องสื่อสารแบบไหนลูกค้าถึงจะเข้าใจ สิ่งนี้เองจะทำให้คุณจะสามารถปรับปรุงโฆษณา เว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการเขียนข้อความในช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เพื่อให้คำเหล่านั้นโดนใจและตอบโจทย์ลูกค้าของคุณ 4. ฝ่ายบริการลูกค้า ถ้าหากมานั่งนับการสนทนาใน Social Media ทั้งหมด มีเพียงไม่ถึง 30% เท่านั้นที่จะ Mention หรือกล่าวถึงแบรนด์ ดังนั้นถ้าหากคุณไม่ได้ใช้ Social Listening ในการติดตามแบรนด์ของคุณนั่นหมายความว่าคุณกำลังพลาดหัวข้อการสนทนาเกี่ยวกับธุรกิจของคุณกว่า 70% เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีสถิติออกมาว่า 60% ของผู้บริโภคคาดหวังให้แบรนด์ตอบกลับภายในหนึ่งชั่วโมง และ 68% ของลูกค้าเลือกที่จะไปหาคู่แข่งหรือแบรนด์อื่นเพราะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากฝ่ายบริการลูกค้า ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่เราไม่ได้ติดตามหรือตอบคอมเมนต์ของลูกค้าก็สามารถทำให้เราสูญเสียยอดขายได้ เนื่องจากลูกค้าเปลี่ยนไปใช้สินค้าจาแบรนด์คู่แข่งแทน 5. สร้างกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แม้แม้ว่าการทำ Lead Generation หรือการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้นไม่ใช่จุดประสงค์หลักที่คนหันมาใช้ Social Listening แต่ก็มี Social Listening จากผู้ให้บริการบางเจ้าที่มีแพ็กเกจเสริม ที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถหากลุ่มลูกค้าที่สนใจหรือมีโอกาสที่จะซื้อสินค้าของคุณได้ สำหรับคนที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลให้ลึกไปอีกขั้น เราขอแนะนำการสืบค้นแบบบูลีน (Boolean Search) ซึ่งเป็นวิธีการสืบคนที่มีความยืดหยุ่นมาก ทำให้เราสามารถหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายหรือคนที่มีโอกาสที่จะซื้อสินค้าเราได้มากขึ้น เพราะการสืบค้นแบบนี้ใช้เทคนิคขั้นสูงในการค้นหาที่เป็นการสร้างชุดคำถามที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการใช้งานได้หลากหลาย ถ้าคุณเป็นบริษัทประกันภัยอยู่ที่นิวยอร์กซิตี้ คุณอาจจะตั้งค่าการให้บูลีนหากลุ่มคนที่กำลังจะย้ายมาอยู่ที่นิวยอร์ก ทีนี้คุณก็จะสามารถติดต่อหาพวกเขาได้ ก่อนที่พวกเขาจะคิดถึงเรื่องประกันภัยด้วยซ้ำ เจ๋งไหมล่ะ? 6. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ (PR) Social Listening สามารถช่วยให้ทีม PR ทำงานได้ง่ายขึ้นหลายอย่าง อย่างแรกเลยเครื่องมือนี้จะช่วยให้ทีม PR สามารถติดตามการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์และบทความที่พูดถึงบริษัทของคุณได้ และถ้าจะให้ลึกไปอีกขั้น ทีม PR สามารถติดตามการพูดถึงคู่แข่งและหัวข้อที่คนกำลังพูดถึงในโลกออนไลน์ เพื่อดูว่าเราควรใช้แพลตฟอร์มอะไรในการลงข่าวและหานักข่าวคนไหนมาร่วมงานกัน 7. การตลาดจากอินฟลูเอนเซอร์ จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น Social Media Monitoring Tool ส่วนมากจะทำให้คุณรู้ว่าแบรนด์ของคุณถูกพูดถึงเยอะแค่ไหนในโลกออนไลน์ จากนั้นคุณก็จะสามารถหาว่าได้ว่า อินฟลูเอนเซอร์คนไหนชื่นชอบแบรนด์ของคุณและสามารถเข้าถึงคนได้มากที่สุด ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาอินฟลูเอนเซอร์รายใหม่ที่จะร่วมงานด้วย สิ่งที่คุณต้องทำมีเพียงแค่ตั้งการแจ้งเตือน Social Listening สำหรับธุรกิจของคุณและดูว่าใครเป็นคนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในแวดวงของคุณ และสุดท้าย อย่าลืมดูอินฟลูเอนเซอร์ของคู่แข่งคุณล่ะ เพราะพวกเขาน่าจะเหมาะสมกับแบรนด์ของคุณด้วยเช่นกัน 8. การวิจัย ไม่ใช่แบรนด์หรือบริษัทใหญ่ ๆ เท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากการใช้ Social Listening คนอื่น ๆ ที่ต้องการติดตามสิ่งที่ผู้คนในโลกออนไลน์กำลังพูดถึงเกี่ยวกับปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Social Listening ได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักข่าวที่ต้องเขียนบทความเรื่อง Brexit องค์กรการกุศลที่ต้องการประเมินผลจำนวนการสนทนาเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางสังคม หรือนักธุรกิจที่อยากจะเริ่มทำธุรกิจและทำการวิจัยการตลาด ก่อนจากกัน...
15 November 2022
บริหารหนี้สาธารณะด้วยแบบจำลองวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยง
หนี้สาธารณะ (Public Debt) คืออะไร? การบริหารหนี้สาธารณะมีโครงสร้าง ขั้นตอน และสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างไร? ในบทความนี้ เรามาดูตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Data Science กับการบริหารหนี้สาธารณะเพื่อให้ภาครัฐรักษาเสถียรภาพทางการคลังกันครับ ? “หนี้สาธารณะ” คืออะไร? รัฐบาลของทุก ๆ ประเทศมีหน้าที่ในการบริหารจัดการงบประมาณภายในประเทศเพื่อพัฒนาประเทศ ตั้งแต่การสร้างถนนและระบบคมนาคม การเยียวยาผู้ประสบปัญหาภัยพิบัติ การส่งเสริมการศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น รัฐบาลหนึ่ง ๆ มี “รายได้” เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศได้อย่างไร? คำตอบคือ การเก็บภาษีนั่นเอง ในกรณีของประเทศไทย รัฐบาลมีการจัดเก็บภาษีเงินได้, ภาษีหัก​ ณ​ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ไปจนถึงภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากร ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากนานาประเทศทั่วโลกนัก ซึ่งรัฐบาลจะนำรายได้เหล่านี้มาจัดสรรเป็นงบประมาณเพื่อใช้ในด้านต่าง ๆ หากรัฐบาลหนึ่ง ๆ มีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่ายเพื่อการพัฒนาประเทศในแต่ละปี รัฐบาลก็จำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินให้เพียงพอต่อความต้องการ ไม่ต่างจากการที่บุคคลธรรมดาอาจจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อตอบสนองความต้องการในการซื้อบ้านหรือลงทุนในธุรกิจ ซึ่งในบริบทของรัฐบาล ปริมาณวงเงินกู้ที่รัฐบาลมีความต้องการในแต่ละปีงบประมาณ มีชื่อเรียกว่า ความต้องการเงินทุน (Funding Need) และการกู้ยืมเงินตาม Funding Need นี้เองที่ก่อให้เกิดหนี้สาธารณะ ทำความรู้จักกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (Public Debt Management Office) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง มีภาระหน้าที่ในการบริหารโครงสร้างหนี้ภายในประเทศ รักษาเสถียรภาพทางการคลังแก่ภาครัฐโดยการระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้ตามวงเงินกู้ที่ต้องการ เพื่อบริหารค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ทั้งนี้ สบน. ทำการบริหารหนี้ด้วยกลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะระยะปานกลาง (Medium-Term Debt Management Strategy: MTDS) ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติสากลตามข้อแนะนำของธนาคารโลก (World Bank) ในการบริหารต้นทุนและความเสี่ยงของหนี้ โดยมีการจัดการความเสี่ยงของหนี้ใน 3 ด้าน คือ ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อความชัดเจนในบทความนี้ “หนี้สาธารณะ” ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ สบน. หมายถึง หนี้ที่กระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจกู้ หรือหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน แต่ไม่รวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยกระทรวงการคลัง มิได้ค้ำประกัน (คำนิยามจากเว็บไซต์ของสบน.) ความท้าทายของการบริหารหนี้สาธารณะ เนื่องจากผู้บริหารหนี้จำเป็นต้องตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์การออกตราสารหนี้ใหม่ ณ ปัจจุบัน โดยไม่สามารถล่วงรู้ถึงข้อมูลของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคในอนาคตได้ ทำให้การวางกลยุทธ์การบริหารหนี้มีความไม่แน่นอน ทำให้ สบน. จำเป็นต้องมีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (models) เพื่อช่วยจำลองสถานการณ์ในอนาคตจากสมมติฐานในกรณีต่าง ๆ ผนวกกับหลักการทางสถิติเพื่อให้ผู้บริหารหนี้สามารถวางแผนตัดสินใจถึงชนิด (instrument type), ช่วงเวลา (timing), ช่วงอายุหนี้ (maturity), อัตราดอกเบี้ยและชนิดดอกเบี้ย (coupon), และปริมาณการกู้เงิน (issuance amount) ที่เหมาะสมบนความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้บริหารหนี้จำเป็นต้องวางแผนกลยุทธ์การออกตราสารหนี้ใหม่โดยไม่สามารถล่วงรู้ถึงข้อมูลของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคในอนาคตได้ การวางกลยุทธ์การบริหารหนี้บนความไม่แน่นอนนี้ จึงจำเป็นจะต้องมีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (models) เพื่อช่วยจำลองสถานการณ์ในอนาคตจากสมมติฐานในกรณีต่าง ๆ ผนวกกับหลักการทางสถิติเพื่อให้ผู้บริหารหนี้สามารถวางแผนตัดสินใจบนความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สบน. มีการใช้แบบจำลองการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยง (cost-risk analysis) และวางแผนกลยุทธ์การบริหารหนี้ (debt management strategy) ที่มีลักษณะเป็น “กล่องดำ” (“black box”) เนื่องจากเป็นแบบจำลองที่ถูกพัฒนาโดยหน่วยงานภายนอก ทำให้เจ้าหน้าที่ สบน. ไม่สามารถปรับแต่งรูปแบบการจำลองหรือตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ได้ ซึ่งข้อจำกัดดังกล่าวเป็นความท้าทายต่อ สบน. ในการบริหารหนี้ให้มีต้นทุนที่ต่ำบนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างยั่งยืน เปลี่ยนความท้าทายให้เป็นโอกาส ด้วยการพัฒนา In-House Risk Model ความต้องการแบบจำลองใหม่ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของ สบน. และพัฒนาโดยเจ้าหน้าที่ของ สบน. เองเพื่อความยั่งยืนในการใช้งานและปรับปรุงแบบจำลอง จึงนำมาสู่ความร่วมมือระหว่าง สบน. และธนาคารโลก ภายใต้โครงการจ้างที่ปรึกษาสำหรับการพัฒนาแบบจำลองการบริหารความเสี่ยงหนี้สาธารณะเพื่อใช้ในสำนักงาน (in-house risk model) โดยมีที่ปรึกษาจากสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.) เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิค (technical consultant) ร่วมกับธนาคารโลก เพื่อให้คำปรึกษาและร่วมพัฒนาแบบจำลองของ สบน. ตามขอบเขตการดำเนินการและข้อตกลงระหว่าง สบน. ธนาคารโลก และ สวข. องค์ประกอบของแบบจำลองการบริหารความเสี่ยง ภายใต้ความร่วมมือข้างต้น สวข. ได้ให้คำปรึกษาและร่วมพัฒนาแบบจำลองการบริหารความเสี่ยงกับเจ้าหน้าที่ สบน. ภายใต้แนวทางและคำปรึกษาจากธนาคารโลก โดยมีผลลัพธ์ตามองค์ประกอบ คือ ในบทความนี้ เราจะเน้นรายละเอียดส่วนที่สำคัญในการบริหารความเสี่ยงสำหรับการบริหารหนี้สาธารณะในสามองค์ประกอบแรก โดยมีรายละเอียดดังนี้ แบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยง (Cost-Risk Model) แบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยง (cost-risk model) เป็นแบบจำลองตามหลักการ MTDS ซึ่งใช้ในการวางกลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะในระยะปานกลาง โดยประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญภายในแบบจำลองดังนี้ องค์ประกอบที่หนึ่ง คือ แบบจำลองกลยุทธ์การออกตราสารหนี้ (issuance strategy) ซึ่งมีข้อมูลนำเข้าเป็นกลยุทธ์การออกตราสารหนี้ที่ผู้บริหารหนี้ (debt manager) ต้องการเปรียบเทียบ ยกตัวอย่าง เช่น กลยุทธ์ A เน้นการออกตราสารหนี้ระยะสั้น เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และกลยุทธ์ B เน้นการออกตราสารหนี้ระยะยาวด้วยสกุลเงินในประเทศ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า เป็นต้น โดยแบบจำลองนี้สามารถทำงานร่วมกับแบบจำลองสถานการณ์อัตราตลาด (market rate models) เพื่อทดสอบกลยุทธ์การออกตราสารหนี้ใหม่ภายใต้สถานการณ์หลาย ๆ สถานการณ์ (scenarios) และผนวกกลยุทธ์กับสถานการณ์ที่กำหนด สู่การคำนวณต้นทุนและความเสี่ยง ในแบบจำลองถัดไป องค์ประกอบที่สอง คือ แบบจำลองการคำนวณแนวโน้มกระแสเงินสดเพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ (cashflows) และกำหนดการไถ่ถอนของตราสารหนี้ (redemption profiles) (ต้นเงินกู้) ในอนาคต เป็นแบบจำลองที่นำเข้าข้อมูลกลยุทธ์การออกตราสารหนี้ใหม่ (issuance strategy), ดุลการคลังขั้นต้น (primary deficit), และหนี้ที่อยู่ในการบริหารดูแล (debt portfolio) ในปัจจุบันที่รัฐบาลมีภาระการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น เพื่อให้ผู้บริหารหนี้สามารถคาดการณ์แนวโน้มของ portfolio หนี้สาธารณะ เช่น วิเคราะห์ว่าภายใน 10 – 20 ปีข้างหน้า รัฐบาลจะต้องแบกรับภาระการชำระหนี้เท่าใด, ต้นทุนที่จำเป็นต้องชำระ (coupon payments) มีปริมาณสูงเท่าใดและกระจายตัวอยู่ในปีงบประมาณใด, และมีความเสี่ยงที่ต้นทุนของการกู้เงินจะมีปริมาณสูงกว่าที่คาดเนื่องจากสถานการณ์วิกฤติ (shock scenarios) หรือไม่ อย่างไร ผลลัพธ์ของ cashflows และ redemption profiles สำหรับกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน จะทำให้ผู้บริหารหนี้สามารถใช้พิจารณาตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ที่มีต้นทุนของการกู้เงินและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ภายใต้สถานการณ์และปัจจัยภายนอกทั้งในกรณีฐานและกรณีวิกฤติ ทั้งนี้ แบบจำลองส่วนนี้จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาลักษณะการทำงานของตราสารหนี้แต่ละชนิดออกมาในรูปแบบของคลาส (classes) ในภาษา Python ที่แตกต่างกัน ดังนี้: แบบจำลองสถานการณ์อัตราตลาด (Market Rate Models) แบบจำลองสถานการณ์อัตราตลาด (market rate models) เป็นแบบจำลองที่อธิบายแนวโน้มของอัตราตลาดต่าง ๆ อันได้แก่ อัตราผลตอบแทนสำหรับเส้นอัตราผลตอบแทนแบบไร้ความเสี่ยงของตราสารหนี้แบบไม่จ่ายคูปอง (zero coupon yield curve), อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (variable interest rates), และอัตราแลกเปลี่ยน (exchange rates) เพื่อใช้สำหรับการจำลองอนาคตของสถานการณ์อัตราตลาด เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์สถานการณ์การบริหารหนี้ทั้งแบบกำหนดได้และแบบสุ่ม (deterministic and stochastic analyses) เนื่องจากแบบจำลองกลยุทธ์การออกตราสารหนี้ (issuance strategy) ดังที่ได้กล่าวข้างต้น จำเป็นต้องมีการใช้ข้อมูลอัตราตลาดในอนาคต แต่การทำนายอนาคตมีความไม่แน่นอน (uncertainty) ทำให้แบบจำลองสถานการณ์อัตราตลาด (market rate models) ถูกออกแบบมาโดยไม่ได้เน้นความแม่นยำของการทำนายค่า หากแต่เน้นให้ความสำคัญมากกว่ากับการคาดการณ์ทิศทางที่เป็นไปได้ของตลาดเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารหนี้ โดยอัตราตลาดที่ถูกจำลองขึ้นจะส่งผลต่อการคำนวณภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลต้องชำระคืน (coupon payments) โดยอัตราแต่ละตัวจะส่งผลต่อพันธบัตรต่างชนิดกันไป และส่งผลต่ออัตราผลตอบแทน (coupon) สำหรับตราสารหนี้ที่ออกใหม่เพื่อนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปชำระหนี้เดิม (rollover) ที่ปรึกษา สวข. ให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ สบน. ในการพัฒนาและใช้งานแบบจำลองการวิเคราะห์อนุกรมเวลา (time series analysis) ด้วยโมเดลที่เฉพาะเจาะจงกับบริบทของ สบน. เครื่องมือการคำนวณตัวชี้วัดความเสี่ยง (Risk Indicators) เครื่องมือการคำนวณตัวชี้วัดความเสี่ยง (risk indicators) ของหนี้ที่อยู่ในการบริหารดูแล (debt portfolio) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานะความเสี่ยงของ portfolio ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตภายในสถานการณ์จำลองและกลยุทธ์การออกตราสารหนี้ที่ผู้บริหารหนี้กำลังทำการเปรียบเทียบระหว่างกลยุทธ์ปัจจุบันกับกลยุทธ์ทางเลือก ที่ปรึกษา สวข. ให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ สบน. ในการพัฒนาตัวชี้วัดความเสี่ยง เช่น สัดส่วนหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนภายในเวลาที่กำหนด (debt share maturing), สัดส่วนหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ (fixed rate debt ratio), อายุเฉลี่ยของหนี้ (Average Time to Maturity: ATM) แบบถ่วงน้ำหนัก เป็นต้น (ผู้อ่านที่สนใจสามารถศึกษาตัวชี้วัดความเสี่ยงเพิ่มเติมได้ในตัวอย่างรายงานประจำปีของ สบน.) จากแบบจำลองสู่ผลสัมฤทธิ์ ความต้องการแบบจำลองใหม่ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของ สบน. และพัฒนาโดยเจ้าหน้าที่ของ สบน. เองเพื่อความยั่งยืนในการใช้งานและปรับปรุงแบบจำลอง ได้นำมาสู่ความร่วมมือในโครงการนี้ และถึงแม้ในระหว่างการดำเนินงานจะมีความท้าทายอยู่หลายประการ ทั้งสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้การพบปะเพื่อให้คำปรึกษาและร่วมพัฒนาจำเป็นต้องดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด และเส้นทางการเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ที่ค่อนข้างชัน (steep learning curve) ของเจ้าหน้าที่ สบน. ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารหนี้สาธารณะ แต่จำเป็นต้องเริ่มเรียนรู้ทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) และวิทยาการข้อมูล (data science) ในการพัฒนาแบบจำลองโดยเจ้าหนี้ สบน. เอง แต่เมื่อผนวกความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจาก สวข. และธนาคารโลก ทำให้แบบจำลองดังกล่าวได้รับการพัฒนาจนใกล้เคียงความสมบูรณ์ โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้เริ่มนำแบบจำลองดังกล่าวไปใช้จริงตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 โดยในช่วง 6 เดือนแรกเป็นการใช้งานแบบจำลองในลักษณะคู่ขนานกับแบบจำลองเดิมเพื่อให้มั่นใจในผลลัพธ์ ที่ปรึกษา สวข. ดำเนินการให้คำปรึกษาและให้การสนับสนุนในการพัฒนาแบบจำลองการบริหารความเสี่ยงหนี้สาธารณะได้เสร็จสิ้นครบทุกเป้าประสงค์ และมีความยินดีที่ได้ให้การสนับสนุนและพัฒนาแบบจำลองการบริหารความเสี่ยงหนี้สาธารณะไปสู่การใช้งานจริงภายในสำนักงาน สบน. (ซ้าย) ปพจน์ ธรรมเจริญพร Project Manager...
24 October 2022
4 เหตุผลที่จะทำให้คุณตกหลุมรัก Box Plot
ในบทความนี้ ผมจะมาพาผู้อ่านทุกท่านทำความรู้จักกับ Box Plot แผนภาพอันทรงพลังที่ใช้ในการวิเคราะห์การกระจายตัวของข้อมูล บอกได้เลยว่าสามารถใช้วิเคราะห์ได้ดีไม่แพ้ Histogram เลยครับ! การวิเคราะห์การกระจายตัวของข้อมูล คำถามที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์การกระจายตัวของข้อมูล มีอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ยกตัวอย่างเช่น ซึ่งหลาย ๆ คน จะคุ้นเคยกับการตอบคำถามด้านบนด้วย Histogram ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวเลือก “คลาสสิก” เพราะทุกคนจะเคยเรียนรู้สิ่งนี้มาก่อนในวิชาคณิตศาสตร์ โดย Histogram เป็นการนำข้อมูลเชิงปริมาณ (Numerical Data) มา “นับจำนวนครั้ง” ที่พบค่าของข้อมูล ตามช่วงข้อมูลหรืออันตรภาคชั้น (Bins) และเมื่อเราสร้าง Histogram แล้ว เราสามารถตอบคำถามด้านบนได้หลากหลาย เช่น บทความนี้จะขอนำเสนอ 4 เหตุผลที่จะทำให้ผู้อ่านตกหลุมรัก Box Plot โดยจะมีการอธิบายรายละเอียดวิธีการทำงานของ Box Plot ภายในเนื้อหาด้วย เริ่มต้นที่เหตุผลข้อที่หนึ่งในส่วนถัดไปกันเลยครับ ? เหตุผลข้อ 1: Box Plot ประหยัดพื้นที่ ในยุคดิจิทัลทุกวันนี้ Business Intelligence, Visual Analytics, และ Data Visualization ได้เข้ามามีบทบาทในองค์กรต่าง ๆ ทั้งเรื่องการบริหารจัดการ การดูสถานะ การวางแผน และการตัดสินใจ ทำให้พื้นที่บนหน้าจออุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ของเรากลายเป็น Real Estate ยุคใหม่ แน่นอนว่า การนำเสนอข้อมูลอะไรที่ใช้เนื้อที่เยอะเกินไป ดูจะไม่ค่อยคุ้มเสียแล้ว ซึ่งในการแสดงข้อมูลชุดเดียวกัน Box Plot สามารถย่อส่วนพื้นที่ที่จำเป็นต่อการแสดงข้อมูลจากแผนภาพสองมิติ (2D) เหลือเพียงมิติเดียว (1D) ทำให้เป็นแผนภาพที่เหมาะกับยุคดิจิทัลที่พื้นที่บนหน้าจอของเรามีจำกัด แต่ Box Plot ที่ถูกย่อส่วนลงมาแล้ว จะยังตอบคำถามหลาย ๆ คำถามได้เหมือน Histogram หรือไม่? เรามาดูเหตุผลข้อถัดไปกันครับ เหตุผลข้อ 2: Box Plot อัดแน่นไปด้วยข้อมูล แผนภาพ Box Plot ได้ชดเชยขนาดที่เล็ก ด้วยหลักการวาดส่วนสำคัญต่าง ๆ ของกล่องด้วยปริมาณที่สำคัญทางสถิติ ทำให้ Box Plot ยังคงให้ข้อมูลและข้อสังเกตได้หลากหลายประการ แต่ก่อนอื่นเราลองมาทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของ Box Plot กันก่อนครับ Box Plot ประกอบไปด้วยส่วนของ “กล่อง” (Box) กับส่วนของ “หนวด” (Whiskers) และมีจุด ๆ แสดงข้อมูลจริง​ โดยอาจอยู่ได้ทั้งในและนอกหนวด (บางครั้งเราจะเห็นบางเวอร์ชันของแผนภาพที่โชว์จุดข้อมูลนอก Whiskers อย่างเดียว ก็ยังนับเป็น Box Plot อยู่) ซึ่งตำแหน่งของ Box และ Whiskers ถูกสร้างขึ้นมาได้ โดยตัวเลขทางสถิติทั้งหมดถึง 5 ตัวด้วยกัน เรียกรวมกันว่า The Five-Number Summary ประกอบไปด้วย: เพื่อยกตัวอย่างให้เห็นภาพ สมมติว่าเรานำข้อมูลอายุขัยของประชากรเพศชาย (Life Expectancy for Males) มาวางเรียงกัน จากน้อยไปหามาก แล้วหาค่าตามหลัก The Five-Number Summary แล้วคำนวณได้ว่า ค่าเหล่านี้ถูกนำไปใช้ทำจุดสำคัญต่าง ๆ บน Box Plot เป็นกล่องและหนวดนั่นเอง ดังภาพด้านล่าง ซึ่งมีข้อสังเกตว่า หากเราลองมาใช้ตัวเลข 5 ตัวนี้ แปลผล Box Plot เบื้องต้นกัน เราจะได้ข้อสังเกตหลาย ๆ อย่างได้ไม่ด้อยไปกว่า (หรือในบางมิติ เหนือกว่า) Histogram เช่น ท่านที่ช่างสังเกตจะพบว่ามีตำแหน่งสำคัญที่ผมยังไม่ได้อธิบายใน Box Plot คือตัวเลข 44 บนหนวด Whisker ข้างซ้าย และสิ่งที่น่าสงสัยอีกประการหนึ่งคือ เหตุใดค่า 80 ที่เป็น Maximum จึงไปอยู่บนปลายหนวดข้างขวาพอดี? เป็นความบังเอิญหรือไม่? ข้อสังเกต เหล่านี้สามารถถูกอธิบายได้ว่า จริง ๆ แล้ว จาก Five-Number Summary เราจะต้องมีการคำนวณปริมาณทางสถิติเพิ่มบางประการ กล่าวคือ: เราเอาค่า IQR มาคำนวณค่า​ปลายหนวดทั้งสองข้าง ดังนี้: เสมือนว่าเป็นการ “ขยาย” ตัวกล่องออกไปด้านข้างด้วยความกว้าง 1.5 เท่าของกล่อง แต่ขยายไม่เกินข้อมูลสูงสุดหรือข้อมูลต่ำสุดที่มีอยู่จริง ซึ่งกฎ 1.5 * IQR ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยนิยามข้อมูลที่อยู่นอกช่วง [Q1 – 1.5 * IQR, Q3 + 1.5 * IQR] ได้ว่าเป็น ค่าสุดโต่ง หรือ Outliers (คือค่าเหล่านี้ นับว่าหายากมาก ๆ) ยกตัวอย่างเช่น ถ้าข้อมูลมีการกระจายตัวแบบปกติ (Normal Distribution) ข้อมูลที่อยู่นอกช่วง Lower Whisker และ Upper Whisker จะมีเพียง 0.7% เท่านั้น จึงถูกจัดเป็น Outliers เราจะเห็นได้ว่าแผนภาพ Box Plot ถึงแม้จะมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับ Histogram แต่ให้ข้อมูลและข้อสังเกตได้น่าสนใจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการกระจายตัว เช่น ข้อมูลเบ้ซ้ายหรือเบ้ขวา, ค่ากลางของข้อมูล, ช่วงของข้อมูลส่วนใหญ่, ช่วงของข้อมูลเกือบทั้งหมด, และค่าสุดโต่ง ซึ่งข้อสังเกตหลายข้ออาจสังเกตได้ง่ายกว่า Histogram ไม่ว่าจะเป็นค่ากลางมัธยฐาน, ค่าสุดโต่ง, ช่วงของข้อมูลส่วนใหญ่ เพราะมีตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ที่ถูกคำนวณและถูกกำกับอยู่ในแผนภาพอย่างชัดเจน หากท่านผู้อ่านได้อ่านมาถึงจุดนี้แล้วเริ่มรู้สึกหลงรัก Box Plot ผมขอเสนอเหตุผลอีกสองข้อที่จะทำให้ Box Plot น่าใช้งานมากขึ้นไปอีก เรามาดูข้อถัดไปกันเลยครับ เหตุผลข้อ 3: Box Plot ยืดหยุ่นในการนำเสนอ เนื่องจาก Box Plot เป็นแผนภาพ 1D ทำให้มีความยืดหยุ่นและสามารถถูกนำเสนอในรูปแบบแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้ ผมได้แสดงตัวอย่าง Box Plot ในแนวนอนด้านบนแล้ว เรามาดูตัวอย่างการนำเสนอ Box Plot ในแนวตั้ง ซึ่งผมจะนำเสนอพร้อมกับเหตุผลข้อสุดท้ายครับ...
7 September 2022
มารู้จักกับคลังข้อมูล (Data Warehouse) แหล่งข้อมูลในการทำ Business Intelligence
โดยปกติฐานข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นแบบสัมพันธ์ (SQL) หรือ NoSQL และแบบธุรกรรม (OLTP) แบบเชิงวิเคราะห์ (OLAP) หรือแบบผสม (HTAP) ซึ่งถ้าเทียบกับเมื่อก่อนแล้วนั้นฐานข้อมูลของแผนกและฐานข้อมูลที่ทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์พิเศษมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างมากในทางธุรกิจ ความพยายามสร้างฐานข้อมูลที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันสำหรับข้อมูลทั้งหมดทั่วบริษัทถูกจัดให้เป็นระบบทะเลสาบข้อมูล (Data Lakes) หากข้อมูลถูกทิ้งไว้ในรูปแบบเดิม และถูกจัดให้เป็นคลังข้อมูล ( Data Warehouse ) หากข้อมูลถูกเปลี่ยนไปสู่รูปแบบและเค้าร่างที่เหมือนกัน ข้อมูลส่วนย่อยของคลังข้อมูลเรียกว่าตลาดข้อมูล (Data Mart) ความหมายของคลังข้อมูล (Data Warehouse) โดยพื้นฐานแล้ว คลังข้อมูลคือฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ที่มักจะเป็นการวิเคราะห์แบบสัมพันธ์ที่สร้างมาจากแหล่งข้อมูลสองแห่งหรือมากกว่านั้นก็ได้ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเก็บข้อมูลย้อนหลังซึ่งอาจมีระดับเป็นหน่วยเพตะไบต์ คลังข้อมูลมักจะมีระบบประมวลผลและหน่วยความจำที่สำคัญ เพื่อใช้ในการสืบค้นที่มีความซับซ้อนและการสร้างรายงาน ซึ่งคลังข้อมูลเหล่านี้มักจะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการทำ Business Intelligence และ Machine Learning ทำไมถึงใช้คลังข้อมูล? สาเหตุสำคัญที่บริษัทใช้คลังข้อมูลระดับองค์กรหรือ Enterprise Data Warehouse (EDW) คือการที่ฐานข้อมูลที่ใช้ปฏิบัติการของคุณ (OLTP) สามารถจำกัดจำนวนและประเภทของดัชนีที่คุณสามารถสร้างได้ จึงทำให้การสืบค้นเชิงวิเคราะห์ช้าลง และเมื่อคุณคัดลอกข้อมูลเข้าสู่คลังข้อมูล คุณก็สามารถตั้งค่าดัชนีที่คุณต้องการได้ เพื่อให้คุณสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเขียนของฐานข้อมูล OLTP และอีกเหตุผลหนึ่งที่บริษัทต้องมีคลังข้อมูล ก็เพื่อให้บริษัทสามารถรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งมาทำการวิเคราะห์ได้ ตัวอย่างเช่น การใช้งาน OLTP ยอดขายของคุณอาจไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องสภาพอากาศในสถานที่ค้าขายของคุณ แต่ในทางกลับกันสิ่งที่จะได้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้คือการคาดการณ์ยอดขาย เพราะถ้าคุณเพิ่มข้อมูลสภาพอากาศย้อนหลังเข้าไปในคลังข้อมูล มันก็จะเป็นเรื่องง่ายที่จะนำข้อมูลมารวมกับโมเดลข้อมูลของยอดขายในหลายปีที่ผ่านมา คลังข้อมูลเมื่อเทียบกับ Data Lake หรือระบบทะเลสาบข้อมูล Data Lake หรือระบบทะเลสาบข้อมูลที่ใช้เก็บไฟล์ข้อมูลในรูปแบบดั้งเดิมนั้น โดยพื้นฐานแล้วคือ “Schema on Read” หมายความว่าโปรแกรมใด ๆ ที่อ่านข้อมูลจาก Data Lake จะต้องกำหนดประเภทและความสัมพันธ์ของมันเองกับข้อมูล ในทางกลับกันคลังข้อมูลคือ “Schema on Write” หมายความว่าประเภท ดัชนี และความสำพันธ์ของข้อมูลถูกกำหนดไว้กับข้อมูลขณะที่ถูกจัดเก็บใน EDW “Schema on Read” เหมาะสำหรับข้อมูลที่อาจถูกนำไปใช้ในหลากหลายบริบท และมีความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลน้อย แต่ทว่ามีข้ออันตรายก็คือ ข้อมูลนั้นอาจไม่ถูกใช้งานเลย (Qubole ผู้ค้าขายเครื่องมือคลังข้อมูลแบบ Cloud สำหรับ Data Lake คาดคะเนว่า 90% ของข้อมูลใน Data Lake นั้นไม่ถูกนำมาใช้งาน) ส่วน “Schema on write” เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีจุดประสงค์เฉพาะอย่าง และเหมาะสำหรับข้อมูลที่ต้องเกี่ยวพันอย่างเหมาะสมกับข้อมูลจากแหล่งอื่น แต่ก็มีข้อควรระวังคือ ข้อมูลที่ผิดรูปแบบอาจถูกทิ้งขณะนำเข้าเพราะมันไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมต่อประเภทข้อมูลที่ต้องการ คลังข้อมูลเมื่อเทียบกับตลาดข้อมูล (Data Warehouse vs Data Mart) คลังข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลระดับบริษัท ในขณะที่ตลาดข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลที่มุ่งเน้นเฉพาะสายงานธุรกิจ ตลาดข้อมูลอาจมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแบบที่ขึ้นอยู่กับคลังข้อมูล แบบไม่ขึ้นอยู่กับคลังข้อมูล หรือแบบที่ผสมผสานทั้งสอบที่กล่าวไปข้างต้น ตลาดข้อมูลถูกสร้างขึ้นมาเพราะมันมีข้อดีหลายประการ ไม่ว่าจเป็น การใช้พื้นที่น้อยลง ให้ผลลัพธ์เร็วขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการน้อยกว่าคลังข้อมูลแบบเต็ม ตลาดข้อมูลจึงมักจะประกอบไปด้วยข้อมูลที่ถูกสรุปและคัดสรรไว้แล้ว แทนที่จะเป็นข้อมูลรายละเอียดอื่น ๆ ที่มีอยู่ในคลังข้อมูล สถาปัตยกรรมคลังข้อมูล โดยทั่วไป คลังข้อมูลมีสถาปัตยกรรมหลายระดับ ได้แก่ ข้อมูลเดิม ฐานข้อมูลสำหรับเป็นที่พักข้อมูล เครื่องมือ ETL (Extract (ดึง), Transform (เปลี่ยนรูปแบบ), and Load (ถ่ายเท)) หรือ ELT (Extract, Load, and Transform) ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสมและเครื่องมือนำเสนอข้อมูล แต่ละระดับมีจุดประสงค์ต่างกัน ข้อมูลเดิมมักรวมไปถึงฐานข้อมูลการปฏิบัติงานจากยอดขาย การตลาด และส่วนอื่น ๆ ของธุรกิจ และยังอาจรวมถึงโซเชียลมีเดียและข้อมูลภายนอก เช่น แบบสำรวจและสถิติประชากร ระดับที่พักข้อมูลจัดเก็บข้อมูลที่ดึงมาจากแหล่งข้อมูล ถ้าแหล่งข้อมูลไม่มีโครงสร้าง เช่น ข้อความโซเชียลมีเดีย ก็จะต้องมีการกำหนดโครงสร้างขึ้นมา รวมถึงมีการตรวจคุณภาพและการนำไปใช้งานด้วย ทั้งนี้เพื่อกำจัดข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำและแก้ไขความผิดพลาดทั่วไป โดยเครื่อง ETL จะดึงข้อมูล ดำเนินการทำแผนที่และการเปลี่ยนรูปแบบที่ต้องการ และถ่ายเทข้อมูลเข้าสู่ระดับการจัดเก็บข้อมูล  เครื่องมือ ELT จัดเก็บข้อมูลก่อนแล้วเปลี่ยนรูปแบบในภายหลัง เมื่อคุณใช้เครื่องมือ ELT คุณอาจใช้ Data Lake ด้วยและข้ามขั้นตอนที่พักข้อมูลแบบเดิมไป ระดับจัดเก็บข้อมูลของคลังข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลที่สะอาดและเปลี่ยนรูปแบบแล้วซึ่งพร้อมสำหรับการวิเคราะห์ โดยการจัดเก็บข้อมูลแบบนี้เป็นการจัดเก็บข้อมูลเชิงสัมพันธ์แบบเน้นเป็นแถว แต่ก็อาจมีการเน้นแบบคอลัมน์ด้วยหรือมีดัชนีแบบ Inverted-list สำหรับการค้นหาข้อความเต็ม โดยคลังข้อมูลมักจะมีดัชนีมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้เร็วขึ้น การนำเสนอข้อมูลจากคลังข้อมูลมักทำโดยการดำเนินการคิวรี SQL ซึ่งอาจใช้เครื่องมือ GUI มาเป็นตัวช่วยในการสร้างได้ นอกจากนี้คิวรี SQL ยังสามารถใช้สร้างตารางการแสดงผล แผนภูมิ Dashboard รายงาน และการคาดการณ์ได้ โดยใช้เครื่องมือ BI เข้ามาช่วย เมื่อไม่นานมานี้ คลังข้อมูลเริ่มมีการรองรับ ML ที่จะปรับปรุงคุณภาพของโมเดลและการคาดการณ์ ตัวอย่างเช่น Google BigQuery ได้เพิ่มประโยคคำสั่ง SQL เพื่อรองรับโมเดลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นและโมเดลการวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติกไบนารีสำหรับการแบ่งประเภท นอกจากนี้คลังข้อมูลบางแห่งมีการผสานเข้าด้วยกันกับเครื่องมือ Deep Learning Libraries และ Automated ML อีกด้วย คลังข้อมูลแบบ Cloud เมื่อเทียบกับคลังข้อมูลแบบติดตั้งภายใน (On Premise) คลังข้อมูลสามารถถูกนำมาใช้ได้หลาย ไม่ว่าจะเป็นแบบติดตั้งภายใน แบบ Cloud หรือแบบผสม ที่ผ่านมาคลังข้อมูลส่วนใหญ่มักเป็นแบบติดตั้งภายใน (On-Prem Data Warehouse) แต่ก็มีปัญหาในเรื่องต้นทุนค่าลงทุนและการขาดความสามารถในการปรับขนาดได้ของเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งภายในศูนย์ข้อมูล การติดตั้ง EDW เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อผู้ค้าขายเริ่มให้บริการเครื่องมือคลังข้อมูล แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีหลายบริษัทที่มีแนวโน้มที่จะย้ายคลังข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วนเข้าสู้ระบบ Cloud เพื่อต้องการใช้ประโยชน์จาก EDW แบบ Cloud ที่สามารถปรับขนาดได้ รวมถึงสามารถเชื่อมต่อกับบริการ Cloud อื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย ข้อเสียของการใช้ข้อมูลหลายเพตะไบต์เข้าไปในระบบ Cloud คือค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ทั้งสำหรับการจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud และสำหรับการประมวลผลคลังข้อมูลแบบ Cloud และหน่วยความจำ คุณอาจจะคิดว่าปัญหาหลักของการอัปโหลดข้อมูลหลายเพตะไบต์เข้าสู่ระบบ Cloud คือระยะเวลาในการอัปโหลด แต่ในปัจจุบันผู้ค้าขายระบบ Cloud แบบไฮเปอร์สเกลมีการโอนถ่ายข้อมูลแบบดิสก์ซึ่งมีศักยภาพสูง คลังข้อมูลแบบบนลงล่างเมื่อเทียบกับแบบล่างขึ้นบน มีแนวความคิดใหญ่ ๆ สองแนวเกี่ยวกับวิธีออกแบบคลังข้อมูล ความแตกต่างระหว่างสองแนวนี้เกี่ยวข้องกับทิศทางการหลั่งไหลของข้อมูลระหว่างคลังข้อมูลกับตลาดข้อมูล โดยปกติ การใช้งาน EDW ในส่วนงานด้านการประกันและการผลิต มักจะชอบวิธีการของแบบบนลงล่าง ส่วนส่วนงานด้านการตลาดมักจะชอบวิธีของคิมบัลล์ ระบบทะเลสาบข้อมูล ตลาดข้อมูล หรือคลังข้อมูล องค์กรของคุณควรเลือกแบบใด? สุดท้ายแล้ว การตัดสินใจทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับคลังข้อมูลของบริษัทขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ทรัพยากร และงบประมาณของบริษัท คำถามแรกคือคุณจำเป็นต้องมีคลังข้อมูลหรือไม่ ถ้าสมมุติว่าต้องการ งานต่อไปคือการระบุแหล่งข้อมูลของคุณ ขนาด อัตราการเติบโตปัจจุบัน และสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่เพื่อใช้งานและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น หลังจากนั้นคุณสามารถเริ่มทดลองกับระบบทะเลสาบข้อมูล ตลาดข้อมูล และคลังข้อมูลเพื่อดูว่าอันไหนใช้ได้ดีกับองค์กรของคุณ ผู้เขียนแนะนำให้ทำการทดสอบความเป็นไปได้ด้วยข้อมูลเซตย่อยขนาดเล็ก โฮสต์ในระบบฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ภายในองค์กรหรือในการติดตั้งระบบ Cloud...
5 September 2022
การแก้ปัญหาข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างด้วย NLP และโมเดลภาษาหนึ่งในกลยุทธ์ AI ขององค์กร
ในบทความแขกรับเชิญพิเศษนี้ ประภท สุนการะ (Prabhod Sunkara) ผู้ร่วมก่อตั้งและ COO ของบริษัท nRoad, Inc. ได้พูดถึงเรื่องของการที่องค์กรต่าง ๆ พึ่งพาข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างมากขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการวิเคราะห์ กำกับดูแล และทำการตัดสินใจในระดับองค์กร โดย nRoad เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างมาเพื่อการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) สำหรับข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างในส่วนการบริการทางด้านการเงินและเป็นบริษัทแรกที่ประกาศ “สงครามกับการทำงานแบบใช้เอกสาร”  ก่อนจะมี nRoad ประภทดำรงตำแหน่งผู้นำหลากหลายตำแหน่งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การปฏิบัติการ และ Solution Architecture (ตำแหน่งงานที่หาทางออกของปัญหาต่าง ๆ)  เขามี Passion ในการสร้าง AI Solutions ที่เน้นผลลัพธ์ ซึ่งเขาก็ได้ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ของบริษัทการเงินระดับโลกมากมายเช่น Bank of America, Merrill Lynch, Morgan Stanley และ UBS ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างหรือ Unstructured Data คือ ข้อมูลเชิงลึกที่มีอยู่แพร่หลายในทั่วทุกองค์กร แต่ข้อมูลเหล่านั้นไม่โปร่งใสหรือไม่สามารถใช้งานได้เสมอไป เรื่องนี้จึงยังคงเป็นความท้าทายสำคัญด้านธุรกิจ  ข้อมูลที่ไม่มีการออกแบบฐานข้อมูลไว้ล่วงหน้ามักจะถือว่าเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ซึ่งได้แก่เอกสารและเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยตัวหนังสือตลอดจนไฟล์ภาพ, วิดีโอ, Chatbot, Audio Streaming และโพสต์โซเชียลมีเดีย โดยข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างเหล่านี้มีจำนวนมากถึง 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลที่อยู่ในโลกดิจิทัลทั้งหมด การเติบโตและความท้าทายของข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง จากการวิจัยของบริษัท ITC พบว่า จำนวนข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างนั้นคาดว่าจะเติบโตจาก 33 เซตตะไบต์ในปี 2018 เป็น 175 เซตตะไบต์ หรือ 175 พันล้านเทระไบต์ภายในปี 2025 แต่ยังโชคดีที่ในองค์การเริ่มมีการตระหนักถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ตัวอย่างเช่น ในการวิจัยไม่นานมานี้เผยว่าเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรบริการด้านการเงินกำลังประสบกับการที่ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้น ผู้วิจัยส่วนใหญ่ในการวิจัยนี้ระบุว่า ข้อมูลปัจจุบันในองค์กรเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างมากถึง 50 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน เมื่อก่อนคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจข้อมูลประเภทนี้ได้ แต่เนื่องจากในปัจจุบันที่องค์กรต่าง ๆ ต้องพึ่งพาข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างมากขึ้นในการวิเคราะห์ กำกับดูแล และการตัดสินใจทางธุรกิจ ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างจึงมีความสำคัญมากขึ้น ทำให้ทีม Technology & Data ต่างแข่งกันอัปเกรดและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของตน เพื่อให้สอดคล้องกับบริการแบบคลาวด์ที่เติบโตขึ้นและข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ทีมเหล่านี้ก็กำลังสนใจในเรื่องของการใช้งานข้อมูลเชิงลึก (Insights) ที่ฝังอยู่ในแหล่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง โดยกรณีการใช้งานจะมีตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการไปจนถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับการบริการลูกค้าปลายทาง ผลก็คือทั้ง CIO และ CDO ต่างก็ประเมินผลหรือนำวิธีการแก้ไขไปใช้งาน โดยมีตั้งแต่วิธีง่าย ๆ แบบ OCR Plus ไปจนถึงโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนควบคู่กับเครื่องจักรหรือเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก การร่วมใช้ NLP และโมเดลภาษาในกลยุทธ์ข้อมูลของคุณ ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างจำนวนมากของบริษัทจะอยู่ในรูปแบบตัวหนังสือ ตัวอย่างเช่นสัญญาทางกฎหมาย เอกสารงานวิจัย คำติชมของลูกค้าจาก Chatbot และทุกอย่างที่อยู่ในรูปแบบของตัวหนังสือ ซึ่งโดยปกติแล้ว องค์กรจะประยุกต์ใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) มาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ AI และการเปลี่ยนองค์กรมาเป็นองค์กรดิจิทัล (ลองดูตัวอย่างการใช้ประยุกต์ใช้ Data Science กับการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารงานวิจัยที่นี่) ตลอดสิบปีที่ผ่านมา NLP มีงานวิจัยและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เรื่องที่โดดเด่นที่สุดก็คือ เรื่องวิวัฒนาการของ Transformer Model ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถก้าวผ่านการวิเคราะห์ Keyword แบบง่าย ๆ ไปเป็นการวิเคราะห์ขั้นสูงอย่าง Sentiment Analysis (กระบวนการวิเคราะห์อารมณ์) และ Semantic Analysis (การวิเคราะห์ทางความหมาย) แม้ว่า NLP จะสามารถทำให้เครื่องจักรระบุจำนวนและเข้าใจแก่นแท้ของข้อความได้ แต่ก็ยังมีความท้าทายในเรื่องของการเข้าใจข้อความที่กำกวม  วิธีการที่จะรับมือกับข้อความกำกวมเหล่านี้ได้ก็คือการรวมความรู้และบริบทของโดเมนเข้าด้วยกันเป็นโมเดลภาษา โดยการใช้งานโมเดลที่ปรับปรุงอย่างดีแล้ว เช่น LegalBERT, SciBERT, FinBERT ฯลฯ ทั้งนี้ก็จะช่วยให้เริ่มต้นวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้นสำหรับกรณีหากต้องการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจง ตอนเริ่มแรกโมเดลที่ปรับปรุงอย่างดีแล้วจะมีฐานข้อมูลที่มั่นคง เช่นเดียวกับโมเดลที่ใหญ่ เช่น BERT และ GPT3 แต่อย่างไรก็ตามโมเดลเหล่านี้ยังคงไม่ตอบโจทย์หรือความต้องการของธุรกิจส่วนใหญ่ได้  ด้วยเหตุผลนี้เองธุรกิจที่ดำเนินการในหลายตลาด หลายภูมิภาค และหลายภาษาควรพิจารณาการใช้งานโมเดลภาษาข้ามโดเมน โมเดลหลายภาษา และ/หรือเทคนิคการโอนย้ายการเรียนรู้ (Transfer Learning) เพื่อรับมือกับความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะมีการวิจัยและพัฒนา Language Model Architectures ที่ดีขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มี Solution ที่ใช้ได้กับทุกสิ่ง ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้องค์กรที่พยายามสร้างโมเดลภาษาของตนก็ไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างขององค์กรอีก เช่น การขาดข้อมูลอธิบายประกอบ (Annotated Data) ไม่มีการอบรมเกี่ยวกับเรื่อง Data การที่องค์กรขาดความเข้าใจในการประยุกต์ใช้โมเดล และความที่องค์กรอยากจะรีบพัฒนาและอยากใช้งานอุปกรณ์อย่างรวดเร็วแต่ไม่มีทุนการทำ รวมถึงอยากรีบได้ผลตอบแทนคืนจากการลงทุนอีกด้วย วิธีที่องค์กรสามารถรับมือกับปัญหาข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างที่เพิ่มขึ้นได้ การนำข้อมูลมาใช้ขับเคลื่อนองค์กร (Data Strategy) และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในแผนกลยุทธ์ AI ทั่วไปขององค์กร  องค์กรส่วนใหญ่สามารถวางแผนและจัดการกับข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทว่าข้อมูลเชิงลึกนั้นฝังอยู่ในข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง และองค์กรต่างก็งมหาอยู่ในข้อมูลนี้ CDO ขององค์กรจึงจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลนี้และวางแผนอย่างชาญฉลาดเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้ ความท้าทายที่ยากที่สุดที่มักพบได้คือการขาดความสอดคล้องเชิงองค์กรกับกลยุทธ์ AI ขององค์กร แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโมเดล ML (Machine Learning) และ DL (Deep Learning), ความสอดคล้องกับผู้นำ, ความเข้าใจถ่องแท้เรื่องข้อมูลและผลลัพธ์, และการรวมทีมที่หลากหลาย ทั้งหมดนี้ล้วนจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกลยุทธ์ AI ในองค์กร เพราะวิธีที่ระบุจำนวนได้และเน้นผลลัพธ์ช่วยให้ทีมมุ่งเน้นที่เป้าหมายปลายทางเมื่อเทียบกับโมเดล AI ที่เน้นโฆษณาชวนเชื่อ ตัวอย่างเช่น GPT3 ที่เป็นโมเดลคาดการณ์ภาษาขนาดใหญ่ที่มักจะคาดการณ์ไม่ค่อยถูกต้อง ซึ่งมีหลายกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ เพราะใช้โมเดล GPT3 ซึ่งอาจทำให้องค์กรเสียชื่อเสียงได้ การอบรมและเรียนรู้เชิงลึกในการแก้ไขปัญหานั้นมักมีต้นทุนสูงและแอปพลิเคชันที่ต้องใช้เทคนิคที่เน้น NLP นั้นจำเป็นต้องมีแหล่งช่วยคำนวณที่ใช้โดเมนจำนวนมาก เพราะฉะนั้นเมื่อมีการเริ่มทีม AI ภายในองค์กร องค์กรจะต้องเน้นในเรื่องของการกำหนดปัญหาและผลลัพธ์ที่วัดได้ นอกจากการกำหนดปัญหาแล้ว ทีมผลิตภัณฑ์ต้องโฟกัสที่ความหลากหลาย ความซับซ้อน และความพร้อมใช้งานของข้อมูล ขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยวางแผนกลวิธี ระบุโมเดลพื้นฐานที่เหมาะสม และสร้างการกำกับดูแลข้อมูลและการอบรมในเรื่องของฟังก์ชันการใช้งานที่ดี อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ คือ การเลือกพาร์ทเนอร์ที่เป็นบุคคลภายนอกหรือผู้ที่ให้บริการทางด้านนี้มาช่วยเริ่มกลยุทธ์ของคุณ  เทคโนโลยีของผู้ให้บริการช่วยให้องค์กรได้ใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานและการดำเนินการที่ดีที่สุดในโมเดลภาษาที่ใหญ่กว่า  ตลอดจนประสบการณ์มากมายที่พวกเขาเคยรับมือกับปัญหาอื่น ๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว การร่วมใช้กลยุทธ์เพื่อจัดการกับปัญหาข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างขององค์กรและการใช้ประโยชน์จาก เทคนิค NLP กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีที่ใช้ในองค์กร  แม้ว่าโมเดล RPA, OCR Plus, หรือโมเดล ML สถิติขั้นพื้นฐาน (Basic Statistical-based ML) จะไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งหมดได้ แต่การใช้วิธีการเรียนรู้เชิงลึกก็จะเป็นแนวทางในการจัดการกับปัญหาข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างขององค์กรต่อไป บทความโดย InsideData Editorial Teamเนื้อหาจากบทความของ InsideBigdataแปลและเรียบเรียงโดย ไอสวรรค์ ไชยชะนะตรวจทานและปรับปรุงโดย ปพจน์ ธรรมเจริญพร
2 July 2022
เฟ้นหาวิธีการสร้างสุดยอดทีมในองค์กรด้วย Data
มาเรียนรู้วิธีการสร้างทีมงานภายในองค์กรของคุณเอง ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วย Data-Driven Approach จากงานวิจัยของ Google
13 May 2021
PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.