ข้อมูลภูมิสารสนเทศแนวเขตการปกครอง กับปัญหาที่รอการแก้ไข (Geospatial Data on Administrative Boundaries and Pending Issues)

ข้อมูลภูมิสารสนเทศแนวเขตการปกครอง กับปัญหาที่รอการแก้ไข (Geospatial Data on Administrative Boundaries and Pending Issues)

01 May 2024

ข้อมูลเกี่ยวกับแนวเขตการปกครอง (ขอบเขตจังหวัด อำเภอ ตำบล) ในระบบภูมิสารสนเทศมีความสำคัญมากในการจัดการที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ เนื่องจากมีผลต่อการอ้างอิงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานราชการต่าง ๆ โดยกรมการปกครองถือว่าเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ดูแลในการจัดเก็บข้อมูล (การทบทวนหน่วยงานที่รับผิดชอบชุดข้อมูลภูมิสารสนเทศพื้นฐาน FGDS) โดยได้ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบ และปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวตลอดเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ภายใต้โครงการปรับปรุงข้อมูลแนวเขตการปกครองในระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) มาตราส่วน 1:50000 อย่างไรก็ตามยังมีการปรับปรุงแก้ไขแนวเขตการปกครองเพียงบางพื้นที่เท่านั้น และยังไม่มีการปรับปรุงข้อมูลให้ครอบคลุมทั่วถึงและถูกต้องตามปัจจุบันในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยข้อมูลแนวเขตการปกครองในระบบภูมิสารสนเทศ ที่ถูกปรับปรุงล่าสุดโดยกรมการปกครอง อยู่ที่ ปี 2556

รูปแบบในการใช้งานข้อมูลขอบเขตการปกครอง

ก่อนที่ผมจะลงลึกไปถึงปัญหา อยากขออธิบายคร่าว ๆ ว่าเราใช้ขอบเขตการปกครองเพื่ออะไรบ้าง  ในกรณีนี้สามารถแยกได้ 2 กรณี

กรณีที่ 1 ใช้เพื่อนำเสนอ หรือสื่อสารข้อมูล (Data Storytelling) โดยไม่ต้องการความแม่นยำทางภูมิศาสตร์ ยกตัวอย่าง ภาพที่ 1

ภาพที่ 1 การนำเสนอแผนที่ผ่านโปรแกรม MS Power BI (Mapbox visual) แสดงการขาดสารอาหารในปี 2565 (Link)

จะเห็นได้ว่าแผนที่นี้ต้องการที่จะสื่อสารว่าคนในจังหวัดกระบี่ ขาดสารอาหารประเภททองแดง การทำแผนที่ประเภทนี้ก็เพียงแค่เน้นให้จังหวัดกระบี่สามารถสังเกตได้ง่ายกว่าจังหวัดอื่น โดยไม่ได้ต้องการความถูกต้องของแนวเขตจังหวัด เป็นต้น

สำหรับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่ใช้เครื่องมือ BI ต่าง ๆ ก็อาจจะคุ้นชินกับการใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการทำแผนที่ในกรณีนี้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีอีกกรณีที่เครื่องมือ BI ยังไม่อาจตอบโจทย์ได้นั่นคือ

กรณีที่ 2 ใช้เพื่อการพิสูจน์สิทธิ์ การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การกำหนดขอบเขตการเข้าทำประโยชน์ หรือการแบ่งผลประโยชน์ ต้องการการคำนวณขนาดพื้นที่ ฯลฯ ยกตัวอย่างดังภาพที่ 2

หมายเหตุ ในกรณีนี้ไม่ได้บอกว่าเราสามารถใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศขอบเขตการปกครองอ้างอิงได้โดยตรง เพราะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องโดยการรังวัดที่ดินเพื่อปักเขตและทำเขตที่แม่นยำ

ภาพที่ 2 ภาพเปรียบเทียบขอบเขตการปกครองจากแหล่งต่าง ๆ และข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียม
หน่วยงานหมายเหตุแหล่งที่มา
กรมการปกครอง (DOPA)ข้อมูลปี 2556สามารถติดต่อผ่านช่องทางของหน่วยงาน
กรมพัฒนาที่ดิน (LDD)ข้อมูลปี 2661 (ขอบเขตจังหวัดเชียงหม่ ที่แนบมากับข้อมูลการใช้ที่ดิน)Link
Information Technology Outreach Services (ITOS) (Reference from file’s metadata)ข้อมูลนี้ ICRC ได้รับมาจาก กรมที่ดินราชอาณาจักรไทย (RTSD) และถูกเผยแพร่ให้ OCHA ใช้งานLink
ตารางที่ 1 แหล่งข้อมูลขอบเขตการปกครอง

จากภาพที่ 2 จะสังเกตได้ว่าข้อมูลจุดความร้อนเกิดขึ้นอยู่ระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า ซึ่งก็อาจเกิดข้อถกเถียงเรื่องขอบเขตความรับผิดชอบต่อจุดความร้อนดังกล่าวได้

จะเห็นได้ว่าขอบเขต จังหวัด อำเภอ ตำบล เป็นข้อมูลภูมิสารสนเทศพื้นฐานที่มักถูกนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่าง ๆ แต่ทว่าปัญหาใหญ่ที่พบเจอคือ ข้อมูลเหล่านี้มักมีที่มาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานร่วมกัน บทความนี้มุ่งเน้นไปที่การอภิปรายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

ปัญหาที่พบเจอ

  1. ขอบเขตไม่ตรงกัน: ปัญหาที่พบบ่อยคือ ขอบเขตของจังหวัด อำเภอ ตำบล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อาจจะมีความเหลื่อมล้ำหรือซ้อนทับกัน สาเหตุหลักมาจากการตีความเขตพื้นที่ตามกฎหมาย ประกาศราชกิจจานุเบกษา และระเบียบต่าง ๆ ที่อาจตีความได้หลายแง่มุม
  2. จำนวนจังหวัด อำเภอ ตำบล ไม่เท่ากัน: จำนวนจังหวัด อำเภอ ตำบล ใน shapefile อาจจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ทำการรวบรวมข้อมูล เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเขตปกครองอยู่เสมอ เช่น การแยกตำบลใหม่ การรวมอำเภอ

ผลกระทบ

ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์ข้อมูลภูมิสารสนเทศ รวมไปถึงการบริหารงาน ตัวอย่างเช่น

  • การคำนวณพื้นที่ ระยะทาง อาจจะผิดพลาด
  • การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เช่น การหาพื้นที่ซ้อนทับ การหาพื้นที่กันชน (buffer) อาจจะไม่ถูกต้อง
  • ความขัดแย้งกันหรือการเกี่ยงความรับผิดชอบระว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ทับซ้อน

แนวทางแก้ไข (ดีที่สุดที่เราจะสามารถทำได้ ณ ขณะนี้)

  • เลือกใช้ข้อมูลการปกครองจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้: ควรเลือกใช้ข้อมูลขอบเขตการปกครองจากหน่วยงานราชการ หรือแหล่งข้อมูลที่มีมาตรฐาน และหากไม่รู้ที่จะเริ่มที่ตรงไหน เราขอแนะนำให้ตั้งต้นจากข้อมูลของกรมการปกครอง
  • ตรวจสอบระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Coordinate Reference System): ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ข้อมูลภูมิสารสนเทศทั้งหมดใช้ระบบการฉายภาพเดียวกัน
  • ติดตามการเปลี่ยนแปลงเขตปกครอง: หากมีความจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ในพื้นที่ที่ยังไม่มีการอัปเดตข้อมูลขอบเขตการปกครองจากแหล่งต้นทาง ก็ไม่ผิดที่จะปรับแต่งข้อมูลตามการเปลี่ยนแปลงเขตปกครองหรือตามเป้าหมายที่จะไปใช้งาน
  • Metadata สำคัญที่สุด Metadata ควรมีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่าข้อมูลต้นทางมาจากที่ใด ข้อมูลถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และที่สำคัญควรอ้างอิงมาตรฐานทางภูมิสารสนเทศด้วย เช่น ISO-19115

จะเห็นได้ว่าแนวทางแก้ไขที่เราเสนอไปก็ไม่ได้เป็นการแก้ไขที่ยั่งยืน ในการนี้ ผู้เขียนขออนุญาตเสนอแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลชุดนี้ดังต่อไปนี้

  • ควรมีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูล จังหวัด อำเภอ ตำบล ที่มีมาตรฐานเดียวกัน
  • ควรมีระบบการอัปเดตข้อมูลขอบเขตการปกครองให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  • ควรมีการจัดทำข้อมูลขอบเขตการปกครองให้เป็น Opendata

ความเคลื่อนไหวของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ

ในปัจจุบัน กรมการปกครองมีโครงการจัดทำข้อมูลภูมิสารสนเทศขั้นพื้นฐานหลัก ชั้นข้อมูลแนวเขตการปกครองระดับหมู่บ้าน มาตรส่วน 1:4000 ด้วยงบประมาณกว่า 700 ล้านบาท ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแนวเขตการปกครองตำบล อำเภอ และจังหวัดในพื้นที่ระดับหมู่บ้านทั้งหมด 63193 หมู่บ้าน และคาดว่าโครงการนี้จะเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2569

บทสรุป

แม้ว่าปัจจุบันจะยังมีปัญหาในการใช้งานข้อมูลขอบเขตการปกครองจากหลายแหล่งที่มาและความไม่สอดคล้องกัน แต่เรามีแนวทางในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเพื่อลดผลกระทบ เช่น การเลือกใช้ข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบระบบพิกัดให้ตรงกัน และติดตามการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองอย่างใกล้ชิด รวมถึงการจัดทำ metadata อย่างละเอียด

นอกจากนี้ กรมการปกครองได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและมีโครงการจัดทำข้อมูลภูมิสารสนเทศขอบเขตการปกครองในระดับหมู่บ้านทั่วประเทศอย่างครอบคลุมและมีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งหากดำเนินการได้สำเร็จตามแผน ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

การริเริ่มโครงการสำคัญนี้ถือเป็นความหวังที่จะทำให้ข้อมูลขอบเขตการปกครองมีความถูกต้อง ทันสมัย และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การนำข้อมูลไปใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล

บทความโดย นววิทย์ พงศ์อนันต์
ตรวจทานและปรับปรุงโดย อิสระพงษ์ เอกสินชล

อ้างอิง

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.