การสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลภูมิสารสนเทศด้วย FOSS4G: ทำไมเราถึงอยากแนะนำ

การสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลภูมิสารสนเทศด้วย FOSS4G: ทำไมเราถึงอยากแนะนำ

10 April 2024

ในปัจจุบัน การจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่หรือข้อมูลภูมิศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนการพัฒนาเมือง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จัดการระบบขนส่ง ติดตามการแพร่กระจายของโรค ฯลฯ

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System หรือ GIS) จึงถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบ GIS สำหรับองค์กรนั้นมีความซับซ้อนและต้องการการพิจารณาที่รอบคอบ

สำหรับ GIS ความจริงคือมันสามารถทำอะไรได้มากมาย แต่คำตอบสั้น ๆ คือ: GIS ช่วยให้คุณสามารถมองเห็นข้อมูลของคุณในรูปแบบแผนที่ได้

ภาพที่ 1 GIS = Maps + Data

              สำหรับองค์กรที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ต้องการความยืดหยุ่นในการปรับแต่งซอฟต์แวร์ และมีความเชี่ยวชาญด้านไอทีที่เพียงพอ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ทางภูมิศาสตร์แบบฟรีหรือโอเพ่นซอร์ส (Free and Open Source Software for Geospatial หรือ FOSS4G) ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ขององค์กร และสามารถช่วยในการลดค่าใช้จ่ายได้ โดยในบทความนี้เราจะทำความรู้จักกับระบบ Geospatial Data Platform โดยใช้ FOSS4G และแนวทางการพิจารณานำมาใช้ในองค์กรของท่านกันนะครับ

ภาพที่ 2 Free and Open Source Software for Geospatial หรือ FOSS4G (link)

แพลตฟอร์มข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Geospatial Data Platform) คืออะไร?

แพลตฟอร์มข้อมูลภูมิสารสนเทศ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อจัดการ วิเคราะห์ แสดงภาพ และแบ่งปันข้อมูลเชิงพื้นที่ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งขององค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และทำการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ รวมถึงสร้างแผนที่ได้

สถาปัตยกรรมของแพลตฟอร์มข้อมูลภูมิสารสนเทศ ประกอบด้วย 3 ชั้นหลัก (Layers) ได้แก่

  1. ชั้นผู้ใช้งาน (User Interface Layer)
  2. ชั้นแอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ (Application Server Layer)
  3. ชั้นที่เก็บข้อมูล (Data Storage Layer) ในแต่ละชั้นจะมีซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่รองรับการทำงานของระบบ

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมของแพลตฟอร์มข้อมูลภูมิสารสนเทศ (ภาพที่ 3) ที่ใช้ซอฟต์แวร์ FOSS4G อาจประกอบด้วย

  1. Mapstore2 สำหรับการแสดงผลแผนที่บนเว็บ รวมไปถึงการทำ GIS Dashboard และ Geostory
  2. GeoServer สำหรับการให้บริการข้อมูลผ่าน API  
  3. PostGIS สำหรับจัดเก็บข้อมูลเวกเตอร์ (ในส่วนของข้อมูลราสเตอร์ เราสามารถจัดเก็บในรูปแบบไฟล์)
  4. QGIS Desktop สำหรับให้นักวิเคราะห์ข้อมูลสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลได้
ภาพที่ 3 ตัวอย่างสถาปัตยกรรมของแพลตฟอร์มข้อมูลภูมิสารสนเทศโดยใช้ FOSS4G (link)

ประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนเลือกใช้ FOSSG

ในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ FOSS4G นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการและสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน การติดตั้งระบบภายในองค์กรเอง (On-Premise) หรือบนคราวน์ (Cloud) เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงความสามารถและฟังก์ชันการทำงานที่ต้องการด้วย

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความต้องการสูง ระบบอาจประกอบด้วยส่วนประกอบที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น ระบบสำรองข้อมูลแบบสำรองกันเอง (Self-backup Systems) เพื่อลดปัญหาการหยุดชะงักของระบบ หรือใช้ระบบกระจายภาระงาน (Load Balancer) เพื่อรองรับปริมาณการใช้งานที่สูงขึ้น

การนำแพลตฟอร์มข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ใช้ซอฟต์แวร์ FOSS4G มาใช้งานนั้นมีข้อดีหลายประการ เช่น มีต้นทุนที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ไม่มีปัญหาการผูกขาดจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใดรายหนึ่ง สามารถกำหนดนโยบายการใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระตามความต้องการขององค์กร และมีอิสระในการบริหารจัดการต้นทุนในอนาคต เนื่องจากสามารถคาดการณ์ต้นทุนได้อย่างแม่นยำจากการศึกษารหัสซอร์สโค้ด

นอกจากนี้ ยังมีชุมชนพัฒนาซอฟต์แวร์ FOSS4G ที่มีขนาดใหญ่และแข็งแกร่ง ซึ่งช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์มีความต่อเนื่องและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญด้าน FOSS4G จำนวนมากทั่วโลกที่สามารถให้บริการฝึกอบรม ปรึกษา และพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มเติมได้ตามความต้องการอย่างไรก็ตาม การนำ FOSS4G มาใช้งานก็มีข้อจำกัดและความท้าทายบางประการ เช่น การขาดสิ่งอำนวยความสะดวกบางอย่างที่ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมีให้ ความจำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ รวมถึงการต้องบริหารจัดการระบบด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการวางแผนและเตรียมความพร้อมที่ดีบทสรุป

โดยสรุปแล้ว การสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลภูมิสารสนเทศด้วยซอฟต์แวร์ FOSS4G เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับองค์กรที่ต้องการความคล่องตัวและการเป็นเจ้าของข้อมูลและระบบอย่างแท้จริง แต่ก็ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและทรัพยากรที่เหมาะสมเพื่อให้การนำระบบมาใช้งานประสบความสำเร็จ

ท้ายสุดแล้วทางก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้งาน FOSS4G อยากจะฝากข้อคิดสำหรับการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ศึกษาความต้องการใช้งานของคุณอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ GIS
  • พิจารณาข้อดีและข้อเสียของ FOSS4G เทียบกับซอฟต์แวร์ GIS เชิงพาณิชย์
  • ทดสอบใช้งาน FOSS4G ก่อนตัดสินใจใช้งานจริง
  • หาผู้เชี่ยวชาญ FOSS4G ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้

สำหรับท่านใดที่สนใจหรือมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลภูมิสารสนเทศด้วยซอฟต์แวร์ FOSS4G ทางเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คำปรึกษา และท้ายที่สุดนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนนะครับ

บทความโดย นววิทย์ พงศ์อนันต์
ตรวจทานและปรับปรุงโดย วีรภัทร สาธิตคณิตกุล

เอกสารอ้างอิง

https://balticgitconf.eu/session/building-enterprise-gis-with-open-source-software/
https://geonode.org
https://mangomap.com/what-is-gis

Formal Senior Data Scientist at Big Data Institute (Public Organization), BDI

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.