การจำลองสถานการณ์ COVID-19 ผ่านตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์

การจำลองสถานการณ์ COVID-19 ผ่านตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์

07 April 2020

การระบาดของโรคโควิด (COVID-19) เป็นอีกหนึ่งวิกฤตการณ์โรคระบาดที่เป็นการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโลก โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยเริ่มจากช่วงปลายปี ค.ศ. 2019

A picture containing drawing

Description automatically generated

โดยหลักการป้องกันการแพร่ระบาดหลัก ๆ คือ การลดการสัมผัสทางกายภาพของคนสู่คนให้ได้มากที่สุด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่บ้าน การกักตัวอยู่บ้าน การที่ผู้คนอยู่ห่างกันหลายเมตร การที่หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด หรือสามารถเรียกได้อีกอย่างว่าการทำ Social distancing 

กราฟสองเส้นแสดงถึงแสดงจำนวนผู้ติดเชื้อที่ช่วงเวลาต่าง ๆ หลังจากมีผู้ติดเชื้อคนแรก โดยกราฟสีแดงคือเทรนด์จะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีมาตรการป้องกันใดๆ ส่วนกราฟสีฟ้าคือเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีมาตรการป้องกัน

โดยบทความนี้จะอธิบายถึงโมเดลการจำลองสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาผ่าน SEIR model, อธิบายตัวแปรและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการทำนาย รวมถึงแสดงผลการทำนายการแพร่ระบาดของไวรัสเปรียบเทียบ เมื่อมีการทำ social distancing และ ไม่มีมาตรการป้องกันใด ๆ

ค่าระดับการติดเชื้อ (Reproduction Number)

ค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) คือค่าเฉลี่ยที่ผู้ป่วยหนึ่งคนนั้นจะสามารถให้ผู้คนกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นจำนวนกี่คนในช่วงเวลาที่ยังติดเชื้ออยู่ หรือสรุปง่ายๆ ก็คือเป็นค่าที่บ่งบอกว่าไวรัสมีความสามารถการแพร่ระบาดได้มากน้อยแค่ไหน โดยการกำหนดค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) ถือเป็นเป้าหมายหลักของการศึกษาการแพร่ระบาดของไวรัส

โดยถ้า ค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) < 1  จะหมายถึง

  • โดยเฉลี่ยผู้ป่วยหนึ่งคน สามารถแพร่ไวรัสให้แก่ผู้คนในกลุ่มเสี่ยงได้ไม่เกินหนึ่งคน
  • การที่ค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) น้อยกว่า 1 นั้นหมายถึงว่าไวรัสชนิดนี้สามารถหยุดการแพร่ระบาดไว้ได้แล้ว

โดยถ้า ค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) = 1  จะหมายถึง

  • โดยเฉลี่ยผู้ป่วยหนึ่งคน สามารถแพร่ไวรัสให้แก่ผู้คนในกลุ่มเสี่ยงได้ประมาณหนึ่งคน
  • การที่ค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) เท่ากับ 1 นั้นหมายถึงว่าไวรัสชนิดนี้อยู่เข้าสภาวะสมดุลแล้ว (คือไม่มีการเพิ่มหรือลดในจำนวนผู้ติดเชื้อ)

โดยถ้า ค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) > 1  จะหมายถึง

  • โดยเฉลี่ยผู้ป่วยหนึ่งคน สามารถแพร่ไวรัสให้แก่ผู้คนในกลุ่มเสี่ยงได้มากกว่าหนึ่งคน
  • การที่ค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) มากกว่า 1 นั้นหมายถึงว่าไวรัสชนิดนี้ยังมีการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอยู่

ในปัจจุบันนั้นค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) ของโรคโควิด-19 นั้นอยู่ที่ประมาณ 2 – 3, โดยการกำหนดค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) ที่ถูกต้องได้นั้นถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำนายโรคระบาด การที่ไวรัสค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) สูงนั้นเป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก แต่ไม่ใช่เหตุที่ทำให้วิตกกังวลแต่อย่างใด

ค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) นั้นเป็นค่าเฉลี่ยทำให้บางทีค่ามันดูสูงเกินกว่าปกติได้เนื่องจากหลายปัจจัย เช่นเหตุการณ์ที่เรียกว่า “Super-Spreader”  เป็นเหตุการณ์ที่ผู้ติดเชื้อได้แพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้คนกลุ่มเสี่ยงได้เป็นจำนวนมากในคราวเดียว ส่งผลให้ค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) นั้นสูงขึ้น

ดังนั้นค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) สามารถแปรเปลี่ยนได้อยู่ตลอดเวลา และการติดตามผู้ป่วยทุกเคสนั้นเป็นไปได้ยาก ทำให้การประมาณค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) นั้นซับซ้อน และเป็นไปได้ยากที่จะคาดคะเนได้อย่างถูกต้อง เพราะค่าระดับการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) จะเปลี่ยนไป เมื่อมีข้อมูลชุดใหม่เข้ามา

เราจะนำโมเดลทางคณิตศาสตร์มาจำลองสถานการณ์การแพร่ระบาดได้อย่างไร

การจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับไวรัสผ่านโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่จะนำมาใช้นั้นจะเป็นการจำลองการแพร่กระจายในระดับประชากรผ่านสมมติฐาน โดยจะใช้ SEIR model (Susceptible, Exposed, Infectious, Recovered) โดยโมเดลจะแบ่งประชากรออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาศติดเชื้อได้ (Susceptible)
  2. กลุ่มที่ติดเชื้อที่อยู่ในระยะฟักตัว (Exposed) คือผู้ที่ติดเชื้อแล้ว แต่ยังไม่อยู่ในระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้
  3. กลุ่มที่ติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อได้ (Infectious)
  4. กลุ่มที่หายจากการติดเชื้อแล้ว และไม่มีโอกาสเป็นซ้ำ รวมถึงไม่สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ (Recovered)

โดย SEIR model นั้น ประชากรแต่ละประเภทนั้นจะมีการเปลี่ยนสถานะอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับการกำหนดสมมติฐาน, ปัจจัย และอัตราในการเพิ่ม หรือลด ของประชากรแต่ละประเภท โดยสามารถแสดงออกมาเป็นแผนภูมิเบื้องต้นได้ดังภาพด้านล่าง

A picture containing clock

Description automatically generated
ภาพจาก บทความเรื่องโมเดลการระบาดของโรคโควิดของ WHO
(https://triplebyte.com/blog/modeling-infectious-diseases)

หลังจากมีการกำหนดสมมติฐาน  รวมถึงปัจจัยเพิ่มลดของประชากรแต่ละประเภทผ่านสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ (Ordinary Differential Equations) และจำนวนประชากรแต่ละประเภทในระบบที่ช่วงเวลาเริ่มต้นแล้ว ทางโมเดลจะคำนวณออกมาเป็นผลทำนายว่าเมื่อเวลาผ่านไปนั้น ประชากรแต่ละประเภทจะมีอัตราเพิ่ม หรือลดไปเท่าใด เพื่อที่จะได้ประเมินสถานการณ์ และออกมาตรการควบคุมได้ดียิ่งขึ้น

การกำหนดสมมติฐาน และปัจจัยเพิ่มลดของประชากรแต่ละประเภทผ่านสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ (Ordinary Differential Equations)

  • λ(I) คืออัตราที่ประชากรกลุ่มเสี่ยง (Susceptible) กลายเป็นผู้ติดเชื้อระยะฟักตัว(Exposed) หรือสามารถเรียกได้ว่า ความรุนแรงในการแพร่ (Force of infection) โดย I จะไม่ใช่ค่าคงที่เนื่องจากขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อได้ (Infectious)  ด้วย
  • [math]D_E[/math] คือช่วงเวลาเฉลี่ยของการฟักตัวของเชื้อ
  • [math]D_I[/math] คือช่วงเวลาเฉลี่ยนที่ผู้ป่วยจะสามารถแพร่เชื้อได้
  • α คืออัตราการฟักตัวของเชื้อ หรือคืออัตราที่ประชากรกลุ่มผู้ติดเชื้อระยะฟักตัว (Exposed) กลายเป็นผู้ติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อได้ (Infectious) 
  • γ คืออัตราอัตราการหายจากอาการติดเชื้อ (Recovery Rate)  หรือคืออัตราที่กลุ่มผู้ติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อได้ (Infectious) กลายเป็นผู้ที่หายจากการติดเชื้อแล้ว (Recovered)
  • S คือจำนวนประชากรเสี่ยงที่มีโอกาศติดเชื้อได้ (Susceptible)
  • E คือจำนวนประชากรที่ติดเชื้อที่อยู่ในระยะฟักตัว (Exposed)
  • I คือจำนวนที่ติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อได้ (Infectious)
  • R คือจำนวนกลุ่มที่หายจากการติดเชื้อแล้ว และไม่มีโอกาสเป็นซ้ำ รวมถึงไม่สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ (Recovered)
  • N คือประชากรในระบบทั้งหมด

[math]N=S+E+I+R[/math]

[math]lambda (I) = frac{R_0}{D_I} x frac{I}{N} , alpha = frac{1}{D_E}[/math] และ [math]gamma = frac{1}{D_I}[/math]

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาศติดเชื้อได้ (Susceptible) โดยปัจจัยหลักของการที่กลุ่มเสี่ยงนั้นจะติดเชื้อ เกิดจากการที่กลุ่มเสี่ยงอยู่ใกล้ผู้ที่ติดเชื้อ ดังนั้นเมื่อมีผู้ติดเชื้อในระบบมากขึ้น รวมถึง โอกาสที่จะกลุ่มเสี่ยงจะติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้มีประชากรเปลี่ยนประเภทจากกลุ่มเสี่ยง (Susceptible) เป็น ผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระยะฟักตัว (Exposed) มากขึ้น 

[math]frac{dS}{dt} = -lambda(I)S[/math] (1)

กลุ่มติดเชื้อที่อยู่ในระยะฟักตัว (Exposed) สามารถเพิ่มขึ้นในระบบจากการที่ ประชากรจากกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อเพิ่มขึ้น และจะลดลงก็ต่อเมื่อผ่านระยะฟักตัว (Incubation period) กลายเป็นประชากรจำพวก กลุ่มที่ติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อได้ (Infectious)

[math]frac{dE}{dt} = lambda(I)S – alpha E[/math] (2)

กลุ่มที่ติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อได้ (Infectious) สามารถเพิ่มขึ้นได้ในระบบจากการที่ประชากรจากกลุ่มติดเชื้อที่อยู่ในระยะฟักตัว (Exposed) นั้นผ่านระยะการฟักตัวไปแล้ว และจะสามารถลดลงได้เมื่อผ่านระยะเวลาที่ติดเชื้อ (Infectious period) ไปแล้ว กลายเป็นประชากรกลุ่มที่รักษาจนหายแล้ว (Recovered)

[math]frac{dI}{dt} = alpha E – gamma I[/math] (3)

กลุ่มที่หายจากการติดเชื้อแล้ว (Recovered) สามารถเพิ่มขึ้นได้ในระบบ โดยการที่มีผู้ติดเชื้อที่รักษาจนหายแล้วในระบบมากขึ้น และจะไม่ลดลงเนื่องจากผู้ที่รักษาจนหายแล้ว จะมีภูมิต้านทานโรค ทำให้ไม่สามารถเป็นซ้ำ และไม่สามารถแพร่เชื้อได้อีก

[math]frac{dR}{dt} = gamma I[/math] (4)

ผลลัพธ์ที่ได้จาก SEIR model

โมเดลนี้จะมีจุดเริ่มต้นจากวันที่มีเหตุการณ์ผู้ติดเชื้อคนแรกในประเทศไทย (12 มกราคม พ.ศ. 2563) โดยโมเดลนี้จะเป็นโมเดลอย่างง่าย และจะไม่มีปัจจัยการเกิด หรือการตายของประชากร รวมถึงไม่มีการเข้าออกของประชากรระหว่างประเทศ (จำนวนประชากรในระบบจะเท่าเดิมเสมอ) นอกจากนั้นจะมีการกำหนดพารามิเตอร์ต่างๆ ดังนี้

  1. จำนวนประชากรทั้งหมด (N) = 67 ล้านคน (ประชากรในประเทศไทยทั้งหมด)
  2. จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มต้น (I) = 1 คน 
  3. ระยะเวลาในการฟักตัวของเชื้อเฉลี่ย ([math]D_E[/math]) = 5.2 วัน 
  4. ระยะเวลาการติดเชื้อเฉลี่ย ([math]D_I[/math]) = 2.3 วัน
  5. ระดับค่าการติดเชื้อ ([math]R_0[/math]) = 2.006 (เลือกค่า [math]R_0[/math] ที่สอดคล้องกับข้อมูลผู้ป่วยไทยมากที่สุด โดยสอดคล้องกับหน่วยงานทั่วโลกที่มีค่า [math]R_0[/math] อยู่ที่ระหว่าง 2 – 3)

ตัวเลขอ้างอิงจาก งานวิจัยเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิดในอู่ฮั่น

โดยช่วงเวลาเริ่มต้นนั้นทุกคนจะถือว่าเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงที่สามารถติดโรคทั้งหมดหมด โดยมีจำนวนผู้ที่สามารถแพร่เชื้อเริ่มต้นเพียงคนเดียว

A screenshot of a cell phone

Description automatically generated
กราฟที่แสดงจำนวนประชากรระยะฟักตัว และระยะแพร่เชื้อ เมื่อระยะเวลาผ่านไป 300 วันหลังจากมีผู้ติดเชื้อคนแรกในระบบ

สังเกตได้ว่าถ้าหากในสถานการณ์ปกติที่ไร้มาตรการการป้องกันเช่น  Social Distancing จะมีผู้ติดเชื้อที่พร้อมกันประมาณ 3 ล้านคน ในช่วงที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงที่สุด ในช่วงเวลาประมาณ 170 วันหลังจากพบผู้ติดเชื้อคนแรก ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียเป็นวงกว้าง เนื่องจากระบบสาธรณสุขไม่สามารถรองรับผู้ป่วยจำนวนมากขนาดนี้พร้อมกันได้ ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

ผลลัพธ์ที่ได้จาก SEIR model เมื่อ add social distancing factor

เมื่อเราเพิ่ม social distancing factor ลงไปใน SEIR model มันจะส่งผลให้ความรุนแรงในการแพร่ λ(I) ลดลงเนื่องจากประชากรมีการสัมผัส หรือเจอกันน้อยลงโดยเราจะแทนตัวแปรของ social distancing factor ด้วย ρ โดยจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 – 1 โดยถ้ามีค่าเป็น 0 จะหมายถึงประชากรทุกคนมีการเก็บตัวอยู่บ้าน และมีประสิทธิภาพในการทำ social distancing สูงมาก และ 1 จะหมายถึงเคสข้างบน คือไม่มีมาตรการป้องกันใดๆ เลย โดยจะกำหนดให้ ρ มีค่า 1 ไปจนถึงข่วงเวลาปัจจุบัน (ประมาณ 80 วันนับตั้งแต่มีผู้ติดเชื้อคนแรก) เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า ถ้าหากเราเริ่มมีการทำ social distancing ตั้งแต่วันนี้ ลักษณะการเติบโตของจำนวนผู้ป่วยจะเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อมีตัวแปร ρ เข้ามาจะมีการแก้ไขในส่วนของความรุนแรงในการแพร่เชื้อ λ(I)

[math]lambda(I) = rho frac{R_0}{D_I} x frac{I}{N}[/math]

A screenshot of a cell phone

Description automatically generated
กราฟแสดงจำนวนผู้ติดเชื้อ (Infectious) ภายในระยะเวลา 600 วันตั้งแต่มีผู้ติดเชื้อคนแรก โดยแต่ละเส้นจะบ่งบอกถึงจำนวนผู้ติดเชื้อตามประสิทธิภาพในการทำ social distancing

สังเกตได้ว่าเมื่อมีการลดความรุนแรงจากการแพร่ I ลงจะสามารถทำให้กราฟจำนวนผู้ป่วยนั้นเพิ่มด้วยอัตราน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด โดยถ้าทุกคนร่วมมือกัน อยู่ติดบ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ เราจะผ่านวิกฤตโรคระบาดนี้ไปได้โดยที่สูญเสียน้อยที่สุด

นอกจากนี้ไวรัสโคโรนานั้นเป็นไวรัสที่เรายังไม่เคยมีการรับมือมาก่อน ทำให้ทางเรายังขาดตัวแปรหลายๆอย่างในการจำลอง และทำนายสถานการณ์การแพร่ระบาดให้แม่นยำนั้นเป็นไปได้ยาก 

References

บทความเรื่องโมเดลการระบาดของโรคโควิดของ WHO https://triplebyte.com/blog/modeling-infectious-diseases#fn1

บทความเรื่องการทำ social distancing กับโมเดลการระบาดของโรคโควิด https://towardsdatascience.com/social-distancing-to-slow-the-coronavirus-768292f04296

งานวิจัยเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิดในอู่ฮั่น https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2001316

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.