รู้จักกับ RFM Analysis เทคนิคการแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อวางกลยุทธ์การตลาด พร้อมวิธีทำใน 3 ขั้นตอน

รู้จักกับ RFM Analysis เทคนิคการแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อวางกลยุทธ์การตลาด พร้อมวิธีทำใน 3 ขั้นตอน

05 September 2023
What is RFM Analysis?

ในการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องจัดการกับข้อมูลลูกค้า เช่น การขาย การที่เราสามารถนำข้อมูลของลูกค้าที่มีอยู่มาวิเคราะห์ จะช่วยให้เราพัฒนาการทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบทความนี้จะแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าแบบที่มีวิธีการไม่ซับซ้อนที่เรียกกันว่า RFM Analysis

RFM Analysis คืออะไร

RFM เป็นคำย่อที่มาจากคีย์เวิร์ด 3 คำได้แก่ Recency, Frequency และ Monetary สำหรับงานทางด้านการขาย สามารถให้ความหมายได้ดังนี้

  • Recency (R) คือ ลูกค้าซื้อสินค้าล่าสุดเมื่อไหน ลูกค้าที่ซื้อครั้งสุดท้ายไปเมื่อไม่นานนี้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะยังกลับมาซื้ออยู่
  • Frequency (F) คือ ลูกค้าซื้อบ่อยแค่ไหน ยิ่งซื้อบ่อยแปลว่าเป็นลูกค้าขาประจำ
  • Monetary (M) คือ ลูกค้าซื้อไปมูลค่าเท่าใด ยิ่งซื้อมากก็ยิ่งเป็นลูกค้าที่มีมูลค่ามากที่ต้องรักษาไว้

การทำ RFM Analysis ก็คือการนำ 3 ปัจจัยนี้ มาวิเคราะห์เพื่อแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation) ออกเป็นกลุ่มเพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจของเรา

ทำไมต้องแบ่งกลุ่มลูกค้า

หากเราเป็นเจ้าของร้านโชห่วยที่มีลูกค้าขาประจำเราก็คงจำได้ว่ารายไหนมาซื้อบ่อย ซื้อของเยอะ เราอาจจะลดแลกแจกแถมเพื่อรักษาคนนี้ไว้ หรือศึกษาพฤติกรรมว่าเขามาซื้ออะไรจากร้านเรา แต่หากเราเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เราคงไม่สามารถจำได้หมดว่าคนไหนเป็นลูกค้าประจำ คนไหนเป็นลูกค้าที่ซื้อเยอะ เราจึงต้องใช้ข้อมูลที่เรามีจากการขายนั้น มาแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้เราสามารถดูแลลูกค้าชั้นดีของเราได้อย่างทั่วถึง ซึ่งลูกค้าแต่ละกลุ่มอาจจะต้องการการดูแลด้วยวิธีที่แตกต่างกัน

การทำ RFM Analysis เป็นหนึ่งในวิธีที่นิยมที่สุดในการแบ่งกลุ่มลูกค้า เพราะใช้เพียงแค่ข้อมูลการขายที่จัดเก็บมาทำการวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์เองก็ทำได้ไม่ยาก ใช้เพียง Excel ก็ทำได้แล้ว และยังสามารถตีความผลการวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้จริงได้ง่ายอีกด้วย

คำนวณ ค่า RFM ได้อย่างไร

ในการทำ RFM Analysis นั้นจะต้องมีสององค์ประกอบคือ (1) ต้องสามารถระบุตัวลูกค้าได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องระบุตัวตนลูกค้าว่าเป็นใครชื่ออะไร เพียงแค่สามารถบอกได้ว่าลูกค้าที่มาซื้อของเราในแต่ละครั้งเป็นคน ๆ เดียวกัน ซึ่งสามารถทำได้จากการที่ลูกค้าทำบัตรสะสมแต้ม หรือการให้สร้างบัญชีลูกค้า นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมหลาย ๆ ธุรกิจจึงมีบัตรสะสมแต้ม (Loyalty card) เพราะจะได้สามารถเก็บข้อมูลลูกค้ามาวิเคราะห์ได้

และ (2) มีการบันทึกข้อมูลการซื้อขายในระบบ ในการซื้อขายแต่ละครั้ง จะต้องมีการบันทึกข้อมูลการซื้อขายที่เพียงพอในการคำนวณค่า RFM เช่น วันที่ซื้อขาย และมูลค่าการซื้อขาย

เมื่อข้อมูลพร้อมแล้ว ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ ได้ตามตัวอย่าง

1. เตรียมข้อมูลการซื้อขาย

เริ่มจากข้อมูลการซื้อขายแต่ละรายการ (Transaction)

Customer IDDateValue
AB-10012022-01-01฿120.0
AB-10012022-01-05฿26.8
AB-10022022-03-31฿300.0

2. คำนวณค่า Recency, Frequency และ Monetary

สำหรับลูกค้าแต่ละคน (ในตัวอย่างนี้จำแนกด้วย Customer ID) อาจจะคำนวณค่า RFM ได้ตามนี้ (สามารถปรับใช้ตามความเหมาะสมหรือตามวัตถุประสงค์ของแต่ละธุรกิจ)

  • Recency = จำนวนวันนับจาก Transaction ล่าสุด
  • Frequency = จำนวน Transaction ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
  • Monetary = จำนวนมูลค่ารวมของ Transaction ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
Customer IDRecency (R)Recency (R)Monetary (M)
AB-10011272146.8
AB-1002411300.0
AB-10032307512.0

3. คำนวณคะแนน RFM

ปรับค่า RFM เป็นคะแนนที่สามารถตีความได้ง่าย ๆ วิธีที่นิยมคือการหาค่าควินไทล์ (Quintile) ของแต่ละตัว เพื่อตัดเป็นคะแนนเป็น 1 – 5 ตามตำแหน่ง Quintile โดย Quintile ที่ 5 คือคนที่มี RFM ดีที่สุด 20% แรก หรืออาจจะ กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนตามความเหมาะสม ของธุรกิจนั้น ๆ ก็ได้ เช่น M อาจทำเป็นลำดับขั้น เช่น 0-100 เป็น 1, 100-500 เป็น 2, 500-2000 เป็น 3, 2000-10000 เป็น 4, มากกว่า 10000 เป็น 5 เป็นต้น

Customer IDRecency (R)Frequency (F)Monetary (M)RFM Score
AB-1001313(3,1,3)
AB-1002513(5,1,3)
AB-1003255(2,5,5)

จะได้ RFM Score สำหรับลูกค้าแต่ละคน

ตัวอย่างการใช้งานการวิเคราะห์ RFM เพื่อแบ่งกลุ่มลูกค้า

เราสามารถนำคะแนน RFM มาตีความและแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ ซึ่งมีหลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น

RFM ScoreSegmentDescriptionAction
(5,5,5)Championซื้อไปไม่นาน ซื้อบ่อย ซื้อมูลค่าสูงรักษาไว้
(3,5,5)Loyal Customerซื้อบ่อยและซื้อมูลค่าสูงรักษาไว้
(5,1,x)New Customerซื้อครั้งแรกเสนอโปรโมชันลูกค้าใหม่
(3,3,3)Need Attentionกลาง ๆติดตามดู
(1,5,5)Can’t Lose Themเคยซื้อบ่อยและซื้อมูลค่าสูง แต่ไม่ซื้อมานานแล้วตามกลับมาซื้ออีกครั้ง
(1,1,1)Lostซื้อน้อย และไม่ซื้อมานานแล้วไม่สนใจ

ซึ่งต้องอาศัยการตีความของแต่ละธุรกิจในการสร้างกลุ่ม เมื่อแบ่งกลุ่มแล้ว เราอาจจะสามารถทำการตลาดตามความเหมาะสมในแต่ละกลุ่ม โดยอาจจะเป็นการตลาดทางตรง (Direct Marketing) เช่น ติดต่อโดยตรงเพื่อเสนอโปรโมชันไปยังลูกค้าในกลุ่มนั้น หรือโดยการตลาดทางอ้อม (Indirect Marketing) เช่น วิเคราะห์ Demographic ของแต่ละกลุ่ม เพื่อส่งโฆษณาไปยังคนที่ลักษณะตรงกับกลุ่มนั้น (Customer Look-a-like)

RFM โดยใช้ Excel

                ตัวอย่างการคำนวณ RFM โดยใช้ Excel สามารถดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างได้จากลิงก์นี้

ข้อจำกัด

                RFM Analysis เป็นการวิเคราะห์ที่มีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถสร้างมูลค่าให้กับการวางแผนการตลาดได้ อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น

แหล่งที่มา

แปลและเรียบเรียงโดย นนทวิทย์ ชีวเรืองโรจน์
ตรวจทานและปรับปรุงโดย ดวงใจ จิตคงชื่น

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.