Data Visualization คืออะไร มีประโยชน์ และใช้งานอย่างไร ?

Data Visualization คืออะไร มีประโยชน์ และใช้งานอย่างไร ?

25 February 2025

Data Visualization คือ การแสดงข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และประมวลผลในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสื่อสารได้ชัดเจน เช่น แผนภูมิ แผนที่ อินโฟกราฟิก หรือรูปภาพ การนำเสนอเหล่านี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นแนวโน้ม รูปแบบ และข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็ว องค์กรจึงสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เนื่องจากทุกองค์กรมีข้อมูลสำคัญและมีความซับซ้อน ซึ่งข้อมูลปริมาณมากอาจทำให้การวิเคราะห์เกิดความผิดพลาดได้ ด้วยเหตุผลนี้ทำให้องค์กรต้องมีการทำ Data Visualization เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน มีส่วนช่วยในการตัดสินใจทั้งในด้านการบริหารและการวางแผนธุรกิจ โดยการทำ Data Visualization นั้น มีรูปแบบการแสดงผลหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งมี 5 รูปแบบที่เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการทำงาน คือ

  • Line Chart คือแผนภูมิที่จะใช้เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา เรียงตามแกน X และแกน Y โดยใช้จุดแทนข้อมูล และลากเส้นเชื่อมต่อจุดแต่ละจุดเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลง
  • Bar Chart คือแผนภูมิที่จะใช้เพื่อแสดงเหมาะสำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างหมวดหมู่ต่างๆ โดยใช้แท่งสี่เหลี่ยมในการแสดงข้อมูลแทนจุด และใช้ความสูงต่ำเพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่าง
  • Pie Chart คือแผนภูมิที่อยู่ในรูปแบบวงกลม โดยจะมีการแบ่งวงกลมออกเป็นส่วน ๆ ตามจำนวนข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบ และใช้ตัวเลขมาแสดงปริมาณข้อมูลแต่ละส่วนเมื่อเทียบกับปริมาณข้อมูลทั้งหมด
  • Scatter Plot คือกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างชุดข้อมูลสองชุด โดยใช้จุดแทนค่าข้อมูลบนแกน X และแกน Y จุดที่กระจายตัวบนกราฟช่วยให้เห็นรูปแบบหรือแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
  • Map คือกราฟแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งบนพื้นที่ โดยใช้แผนที่เป็นเครื่องในการแสดงผล และปรับแต่งพื้นที่เพื่อแสดงค่าหรือความแตกต่าง

ประโยชน์ของ Data Visualization 

นอกจากการทำ Data Visualization จะช่วยให้องค์กรเห็นข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการสรุปข้อมูลออกมาแล้ว ยังช่วยให้องค์กรได้ประโยชน์ 5 ข้อดังต่อไปนี้

1. ทำให้ข้อมูลที่มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย

การทำ Data Visualization ช่วยพนักงานที่มีความรู้ในระดับที่ต่างกันสามารถเข้าใจข้อมูลชุดเดียวกันได้ นอกจากนี้ยังช่วยเน้นข้อมูลสำคัญ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล และแนวโน้มของการทำธุรกิจ ที่อาจสังเกตเห็นได้ยากหากดูจากข้อมูลดิบโดยตรง

2. ทำให้ข้อมูลมีความน่าสนใจมากขึ้น

การดูข้อมูลดิบที่มีเฉพาะตัวเลขกับตัวอักษรส่งผลให้การดูมีความลำบากจนทำให้เกิดความสับสน แต่การทำ Data Visualization คือการนำข้อมูลมาสร้างเป็น Visual Content ที่มีการใช้ภาพ สี และรูปทรงมาแสดงผล ช่วยให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมกับข้อมูลได้ง่าย ผ่านการจดจำข้อมูลเป็นภาพ ซึ่งง่ายกว่าการจำเป็นตัวอักษร

3. ช่วยให้บุคลากรตัดสินใจร่วมกันง่ายขึ้น

แต่ละทีมย่อมมีวิธีการนำเสนอข้อมูลที่ต่างกัน ทำให้มีแค่พนักงานที่เกี่ยวข้องที่รู้วิธีการตีความข้อมูล การทำ Data Visualization จึงเป็นเหมือนสื่อกลางที่จะเข้ามาช่วยให้แต่ละทีมสามารถนำรายละเอียดที่มีความซับซ้อนมานำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและชัดเจนเหมือนกัน ช่วยให้บุคลากรทีมอื่นที่ไม่มีความรู้พื้นฐาน สามารถเข้าใจข้อมูลชุดเดียวกันและนำไปใช้งานต่อได้ เช่น ทีมการตลาดสามารถดูกราฟยอดขายเพื่อนำมาข้อมูลมาวางแผนการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

4. ช่วยให้การตัดสินใจทำได้เร็วขึ้น

องค์กรสามารถเห็นรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการได้แบบ Real time ผ่านการนำข้อมูลมาแสดงผลบน Interactive Dashboard ที่จะช่วยให้องค์กรเห็นข้อมูลหลายชุดพร้อมกัน และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอให้นักวิเคราะห์ข้อมูลมาสร้างรายงานให้ตลอด

5. ช่วยตรวจจับความผิดปกติและข้อผิดพลาด

อย่างที่กล่าวถึงว่าองค์กรมีการเก็บข้อมูลปริมาณมากเอาไว้ การสังเกตความผิดปกติโดยตรงจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่การนำข้อมูลมาสรุปในรูปแบบกราฟหรือแผนภูมิ จะทำให้เห็นภาพรวมอย่างชัดเจน ถ้าข้อมูลมีความผิดปกติ เช่น มีค่าที่สูงหรือต่ำเกินไป ก็จะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขั้นตอนการใช้งาน Data Visualization 

การทำ Data Visualization มีขั้นตอนการใช้งาน 5 ข้อดังนี้

  1. ข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร

การที่เรารู้ก่อนว่าอยากสื่อสารข้อมูลอะไรออกไปจะช่วยเพิ่มคุณภาพของการทำ Data Visualization ให้มีมากขึ้น เพราะข้อมูลที่อยากสื่อสารออกไปจะช่วยให้องค์กรสามารถเลือกรูปแบบการนำเสนอได้เหมาะสมกับปริมาณข้อมูล

  1. ผู้รับสารคือใคร

การรู้ว่าผู้รับสารเป็นใครจะช่วยให้เราเลือกรูปแบบของการแสดงข้อมูลได้ถูก เช่น ผู้บริหาร ลูกค้า หรือทีมงานด้วยกัน ซึ่งนอกจากการรู้จักผู้รับสารในเบื้องต้น ผู้ออกแบบก็ควรจะรู้ข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้เพื่อนำมาทำ Data Visualization ได้ถูกต้อง อาทิ

  • ผู้รับสารมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อสารมากแค่ไหน
  • ผู้รับสารมีความต้องการข้อมูลในด้านไหน
  • ผู้รับสารเคยรับข้อมูลผ่านการแสดงผลรูปแบบใด
  1. เลือกรูปแบบการนำเสนอ

ต่อมาคือการเลือกรูปแบบการนำเสนอว่าข้อมูลที่เราต้องการสื่อสารเหมาะสมกับการนำเสนอแบบไหน เพราะการนำเสนอแต่ละรูปแบบมีความเหมาะสมกับข้อมูลที่ต่างกัน การเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับข้อมูลของเราจะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น ดังนี้

  • Table เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก ข้อมูลตัวเลข หรือการนำข้อมูลมาเปรียบเทียบ
  • Graph เหมาะสำหรับการแสดงข้อมูล เช่น การแสดงแนวโน้มของข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูลผ่าน และการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล
  • Heatmap เหมาะสำหรับการแสดงความหนาแน่นของข้อมูล เช่น ความหนาแน่นของลูกค้าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ และการเปรียบเทียบข้อมูลหลายด้านพร้อมกัน
  • Dashboard เหมาะสำหรับการแสดงข้อมูลแบบ Real-time การติดตาม KPI และการสรุปข้อมูลให้อยู่ในหน้าเดียวเพื่อนำไปตัดสินใจ
  • Infographics เหมาะสำหรับการแสดงข้อมูลที่ต้องการเล่าเรื่อง หรือการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มีความรู้เฉพาะทาง
  1. ออกแบบการแสดงผล

หลังจากที่เราเลือกรูปแบบได้แล้ว ก็มาถึงการออกแบบที่นอกจากตัวข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง เราจะต้องวางตำแหน่งชื่อข้อมูลและรายละเอียดให้ครบ เพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่ากำลังดูข้อมูลอะไร และที่ขาดไม่ได้คือการเลือกใช้สีให้เข้ากับรูปแบบข้อมูลแต่ละส่วน ก็จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อได้ง่าย

  1. เลือกเครื่องมือแสดงผล

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่เราจะต้องเลือกซอฟต์แวร์มาแสดงข้อมูล ซึ่งในตลาดมีซอฟต์แวร์ให้เลือกจำนวนมาก ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยม 5 ตัวดังต่อไปนี้

  • Microsoft Power BI เป็นซอฟต์แวร์ของ Microsoft ที่เหมาะสำหรับการแสดงผลข้อมูล KPI การแสดงผลข้อมูลแบบ Real-time บน Dashboard และรองรับการแสดงผลข้อมูลแบบ Interactive
  • Google Charts เป็นซอฟต์แวร์ของ Google เหมาะสำหรับการแสดงผลข้อมูลบนเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลแบบ Real time และข้อมูลประเภท Graph ที่สร้างผ่าน Google Sheet อาทิ Bar Chart และ Line Chart
  • Tableau เป็นเครื่องมือเหมาะสำหรับการแสดงข้อมูลที่มีความซับซ้อน เช่น Heatmap Treemaps และ Bubble Charts
  • Datawrapper เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับการแสดงหลายประเภท เช่น ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลง และการแสดงข้อมูลที่มีสัดส่วน โดยการใช้ Chart มาแสดงผล
  • Zoho Analytics เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับการติดตาม KPI การแสดงผลบน Interactive Dashboards และยังรองรับการแสดงผล Geospatial Data อีกด้วย

เพราะฉะนั้น การทำ Data Visualization จึงไม่ใช่การนำข้อมูลมาออกแบบให้มีความน่าสนใจอย่างเดียว แต่เป็นการนำข้อมูลที่มีความซับซ้อน มาสรุปให้เหลือเฉพาะรายละเอียดสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจข้อมูลได้ง่ายภายในเวลาสั้น ๆ ผ่านการแสดงผลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้นำผลลัพธ์ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจต่อได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจการทำ Data Visualization สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ : https://temp.bdi.or.th/big-data-101/picking-chart-for-data-visualization/

แหล่งอ้างอิง

https://www.ibm.com/topics/data-visualization
https://www.targit.com/en/blog/benefits-of-data-visualization

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.