
เชื่อว่าวันนี้ ChatGPT ได้กลายเป็นเครื่องมือทำงานที่คนทำงานจำนวนมากเลือกใช้ เนื่องจากความสามารถที่หลากหลาย ทั้งในด้านการตอบคำถาม และสร้างผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้ตรงกับความต้องการด้วยคุณภาพในระดับเดียวกับที่มนุษย์ทำได้ จึงทำให้ ChatGPT ได้รับความนิยมอย่างสูง จนถูกนำไปใช้เป็นตัวเลือกที่คนทำงานทุกระดับในทุกสายงานใช้งานอย่างไม่จำกัด เพื่อเป็นผู้ช่วยให้เราทำงานออกมาได้ประสิทธิภาพและมีคุณภาพไปพร้อมกัน
การใช้ ChatGPT มีประโยชน์อะไรบ้าง
อย่างที่เห็นว่าผู้ใช้งานสามารถนำ ChatGPT ไปใช้ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยส่วนตัวในชีวิตประจำวัน และเป็นเครื่องมือช่วยเหลือในการทำงาน ซึ่งหากมองในมุมของการทำงาน การใช้ ChatGPT จะช่วยให้ธุรกิจได้ประโยชน์หลายอย่าง อย่างการลดต้นทุน เพราะ ChatGPT สามารถทำงานซ้ำแทนมนุษย์ได้ ช่วยให้องค์กรจัดสรรบุคลากรไปทำงานด้านอื่นที่มีความซับซ้อนมากกว่า
ChatGPT ยังสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ช่วยให้ธุรกิจมีเครื่องมือเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานนอกชั่วโมงการทำงานปกติ โดยเฉพาะงานด้านการบริการลูกค้าซึ่งเป็นส่วนงานที่จะต้อง ดำเนินการตลอดเวลา ซึ่ง ChatGPT สามารถรองรับข้อความจำนวนมาก และสร้างข้อมูลเพื่อตอบกลับลูกค้าได้ทันที ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า
และสุดท้ายคือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยรวบรวมข้อมูลที่ลูกค้าติดต่อเข้ามา เพื่อให้องค์กรนำข้อมูลดังกล่าวมาสรุปเป็น Insights แล้วนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านอื่น ๆ ต่อได้
นี่ก็คือประโยชน์ส่วนหนึ่งของการนำ ChatGPT มาใช้ในการทำธุรกิจโดยรวม โดยจากดูสถิติการใช้งานที่รวบรวมโดย Intelliarts บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี ระบุว่า ChatGPT ถูกนำไปใช้งานในหลายด้าน โดยมีงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
- การเขียนโปรแกรม เช่น การเขียนโค้ด แก้บั๊ก และสร้างสคริปต์ 66%
- การสร้างเนื้อหา เช่น การเขียนบทความ รายงาน และเอกสารอื่น ๆ 58%
- การบริการลูกค้า เช่น การช่วยตอบคำถาม 57%
นอกจากนี้ หากมองลึกลงไปในรายละเอียดจะเห็นว่าในองค์กรมีพนักงานหลาย Generation ตั้งแต่ Baby Boomer ไปจนถึง Gen Z ซึ่งแต่ละช่วงอายุมีลักษณะการใช้งาน ChatGPT ที่ใกล้เคียงกันและแตกต่างกันตามตำแหน่งและลักษณะงานของตนเอง

ลองไปดูกันว่าพนักงานแต่ละ Generation มีการใช้ ChatGPT ในการทำงานอย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและตอบโจทย์การทำงานในแต่ละวัน จากผลสำรวจของ Pew Research Center ในปี 2024
Baby Boomer
พนักงาน Baby Boomer คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1946 ถึง 1964 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีความถนัดในการใช้เทคโนโลยีเทียบเท่ากับคนรุ่นอื่น แต่สามารถเรียนรู้การใช้งานในเบื้องต้นได้ ทำให้ Baby Boomer เป็นกลุ่มคนที่ใช้ ChatGPT น้อยที่สุดด้วยสัดส่วน 6% โดยมีลักษณะการใช้งานหลักในการร่างเอกสารทางธุรกิจและค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
Generation X
พนักงาน Gen X คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1965 ถึง 1980 แม้จะไม่ได้เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี แต่ถ้าเรียนรู้การใช้งานก็สามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงาน ซึ่งมีสัดส่วนการใช้งาน ChatGPT อยู่ที่ 17% โดยมีลักษณะการใช้งานหลักในการจัดตารางการทำงานให้กับคนในทีมและเขียนอีเมลติดต่อกับลูกค้า
Generation Y
พนักงาน Gen Y หรือที่เรียกอีกชื่อว่า Millennials คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1981 ถึง 1996 เป็นเจนเนอเรชั่นที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมาหลายอย่าง ทำให้สามารถปรับตัวได้เร็ว และมีสัดส่วนการใช้งาน ChatGPT อยู่ที่ 27% โดยมีลักษณะการใช้งานหลักในการจัดลำดับความสำคัญของงานและหาข้อมูลเพื่อเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ
Generation Z
พนักงาน Gen Z คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1997 ถึง 2012 ซึ่งเติบโตมาพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้มีความคุ้นเคยและสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานได้เร็ว ทำให้เป็นกลุ่มที่สัดส่วนการใช้ ChatGPT มากที่สุดอยู่ที่ 43% โดยมีลักษณะการใช้งาน ChatGPT เพื่อคิดคอนเทนต์ลง Social Media และสรุปข้อมูลที่ตัวเองต้องการ

ขั้นตอนการใช้งาน ChatGPT
ChatGPT เป็นเครื่องมือที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปได้ฟรี โดยมีขั้นตอนการใช้งาน 3 ข้อดังนี้
- เข้าไปเว็บไซต์เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้ฟรี
เริ่มแรกเราจะต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ chatgpt.com เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้ฟรีจะสามารถดูประวัติการใช้งาน เขียน Prompt เพื่อสร้างรูปภาพ และอัปโหลดไฟล์ฟอร์แมตต่าง ๆ เพื่อให้ ChatGPT นำไปสร้างผลลัพธ์ให้
- รู้จักเครื่องมือการทำงาน
หลังจากที่เราสร้างบัญชีและล็อกอินเข้ามาแล้ว ก็จะพบกับหน้าต่างสนทนาที่จะประกอบไปด้วยแถบเครื่องมือและตัวเลือก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- Sidebar เป็นแถบที่อยู่ด้านซ้ายของหน้าจอ ซึ่งใน Sidebar จะเป็นพื้นที่แสดง Chat History ที่เราใช้งาน และปุ่มกด “New Chat” เพื่อเริ่มการสนทนาใหม่
- Chat History เป็นส่วนที่จะบันทึกประวัติการสนทนาของเราไว้หมด ซึ่งแต่ละแชทจะมี Options ให้ผู้ใช้สามารถแชร์การสนทนา เปลี่ยนชื่อแชท การทำ Archive แชท และลบแชท
- ChatGPT Menu เป็นส่วนที่ผู้ใช้สามารถเลือกโมเดลภาษาตัวอื่นของ ChatGPT มาใช้ได้ ซึ่งผู้ใช้บัญชีฟรีจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ ChatGPT Plus
- Prompt คือคำถามหรือชุดคำสั่ง ที่ผู้ใช้ป้อนให้ ChatGPT ซึ่งจะปรากฎอยู่บนหน้าต่างสนทนา เมื่อผู้ใช้ส่งชุดคำสั่งไปแล้ว
- ChatGPT’s Responses เมื่อ ChatGPT ส่งผลลัพธ์กลับมาให้ จะมีโลโก้ ChatGPT ปรากฎอยู่ที่ด้านซ้าย และใต้คำตอบจะมีตัวเลือกที่ผู้ใช้สามารถกดใช้ได้ ได้แก่
- Read Aloud (ให้ AI อ่านออกเสียงให้)
- Copy (คัดลอกข้อความ)
- Good Response และ Bad Response (เป็นการแสดงความรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบผลลัพธ์)
- Regenerate (สร้างผลลัพธ์ใหม่)
- Text Area คือช่องค้นหาที่ให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่ง
- ป้อนชุดคำสั่งเพื่อใช้งาน
ถัดจากเครื่องมือก็มาถึงการใช้งานที่ผู้ใช้จะต้องป้อนคำสั่ง (Prompt) ให้ ChatGPT นำไปประมวลผล และสร้างผลลัพธ์ตอบกลับมา ซึ่งเราสามารถเขียน Prompt ได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการ
โดยมีตัวอย่าง Prompt แนะนำที่สามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานสำหรับธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ 4 ด้านด้วยกันดังนี้
Prompt สำหรับงานด้านการบริหาร
- “สร้างกลยุทธ์การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจทางธุรกิจใน [ชื่อบริษัท]”
- “ออกแบบแผนการปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) สำหรับ [ชื่อบริษัท] โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าและแนวโน้มอุตสาหกรรม”
- “วิเคราะห์และเสนอแนะวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างทีมต่าง ๆ ใน [ธุรกิจของเรา]”
- “วิเคราะห์และเสนอแนะวิธีการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร (Employee Engagement) ใน [ชื่อบริษัทของเรา]”
- “ออกแบบแผนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับ [ธุรกิจของเรา] โดยเน้นการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ”
Prompt สำหรับงานด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์
- “เสนอไอเดียในการ Rebrand บริษัท [ธุรกิจที่เราทำ] ที่ก่อตั้งมา 50 ปีให้เหมาะสมกับธุรกิจในปัจจุบัน”
- “จำลองเป็นนักวางแผนเชิงกลยุทธ์ หากแบรนด์ต้องการเปลี่ยนชื่อใหม่ ควรวางกลยุทธ์อย่างไรให้คนสามารถจดจำชื่อใหม่ได้อย่างรวดเร็ว”
- “วิเคราะห์ SWOT จากไอเดียการทำธุรกิจดังต่อไปนี้ [รายละเอียดของเรา]”
- “จำลองเป็นนักวางแผนเชิงกลยุทธ์ แนะนำกลยุทธ์ในการเชิงพื้นที่สื่อจากคู่แข่งที่ได้เปรียบมากกว่า”
- ระบุ [10] วิธีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการในการผลิตสินค้า [ธุรกิจที่เราทำ] โดยใช้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI
Prompt สำหรับงานด้านการบริการลูกค้า
- “คิดวิธีการพูดเพื่อชวนลูกค้าที่ยังไม่รู้จักบริษัท ให้หันมาสนใจและรู้จักบริษัทของเรา”
- “คิดคำตอบที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ถ้าลูกค้าถามคำถามเกี่ยวกับสินค้าที่เราไม่รู้ข้อมูล”
- “ระบุคำถามที่ลูกค้าถามบ่อยจากการใช้สินค้าของบริษัท [ธุรกิจที่เราทำ]”
- “ร่างอีเมลขอโทษลูกค้า กรณีที่ลูกค้าได้รับบริการล่าช้าเป็นภาษาไทย”
- “แนะนำวิธีพูดเพื่อเสนอโปรโมชั่นสินค้าให้ลูกค้า”
Prompt สำหรับงานด้านการตลาด
- “สร้างข้อความโฆษณาบน Facebook ให้มีประสิทธิภาพ”
- “เสนอความคิดการทำ Content แบบเจ๋ง ๆ”
- “ช่วยหา 10 Keyword เกี่ยวกับ [สิ่งที่เราต้องการ] เพื่อนำมาเขียนโพสต์ขายสินค้า”
- “คิดหัวข้อสำหรับโฆษณาบน Facebook”
- “สรุปเทรนด์การทำ Content บน Instagram”

นี่คือแนวทางการใช้งาน ChatGPT เบื้องต้นที่สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่า ChatGPT เป็น AI ที่มีความสามารถหลากหลาย ตอบโจทย์การใช้งานของทุกช่วงวัย ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยใดหากเรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง ChatGPT จะกลายเป็นเครื่องมือทรงพลังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างรวดเร็วและเกิดประโยชน์สูงสุด
แหล่งอ้างอิง
- cheewin.jhttps://temp.bdi.or.th/en/author/cheewin-j/
- cheewin.jhttps://temp.bdi.or.th/en/author/cheewin-j/19 March 2025
- cheewin.jhttps://temp.bdi.or.th/en/author/cheewin-j/25 February 2025
- cheewin.jhttps://temp.bdi.or.th/en/author/cheewin-j/25 February 2025