Datasharingact
(ร่าง) หลักการกฎหมายการอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล
เพื่อใช้ประโยชน์เชิงวิเคราะห์
(Data Sharing Facilitation for Analytics Act)
เพราะอะไรเราจึงเริ่มต้นสิ่งนี้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงข้อมูลประเทศ โดยมีการกำหนด Soft and Hard Infrastructure ที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ โดยควบคุมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลอย่างมีธรรมาภิบาล มีแนวปฏิบัติที่ดี และมีกลไกในการกำกับดูแลผู้ให้บริการตัวกลางในการแบ่งปันข้อมูล
ปัญหาและอุปสรรคของการแบ่งปันข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์เชิงวิเคราะห์
G to G
- ความกังวลในแชร์ข้อมูลกัน ทั้งที่ไม่ได้มีกฎหมายห้าม (ยกเว้นข้อมูลบางประเภท)
- การละเมิด PDPA และหลักธรรมาภิบาลข้อมูล
- ความชัดเจน และฐานกฎหมายที่กำหนดว่าแชร์ได้
G to B
- Open data ของรัฐที่เอกชนเข้าถึงส่วนใหญ่เป็นข้อมูลสถิติ ซึ่งควรเปิดข้อมูลดิบเพื่อการต่อยอดใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
- ส่วนมากคิดว่าข้อมูลรัฐมีชั้นความลับ การเปิดเผยจะมีความผิด
B to B (to G)
- ขาดความมั่นใจเรื่อง data privacy, วิธีการให้ความยินยอม, การใช้งานข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตกลงกันไว้, อาจเกิดความเสียเปรียบในการแข่งขัน
กฎหมายจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะ…
- กม. กำหนดชัดเจนว่าหน่วยงานรัฐต้องแบ่งปันข้อมูลประเภทใดบ้าง ตามกระบวนการอย่างไร
- กม. กำหนดให้มีกลไกกลางในการเชื่อมโยงที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ความปลอดภัย และมีธรรมาภิบาล (Trust and Governance)
- กม. มีข้อกำหนดเรื่องการธรรมาภิบาลการแบ่งปันข้อมูลที่ชัดเจน ปฏิบัติได้
- กม. กำหนดให้มีหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่อำนวยความสะดวกการแบ่งปันข้อมูล เช่น การระบบกลางในการเชื่อมโยงข้อมูล, การจัดทำเอกสารแม่แบบกลางในการทำ Data Sharing Agreement
- กลไก (กฎหมาย ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล เอกสารแม่แบบกลาง) นี้จะเป็นช่องให้รัฐสามารถระบุชุดข้อมูลสำคัญและเรียกดึงจากหน่วยรัฐรวมทั้งขอความร่วมมือกับเอกชนเพื่อตัดสินใจนโยบายสำคัญได้