เมื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถแปลการทำงานของสมองเป็นข้อความได้

เมื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถแปลการทำงานของสมองเป็นข้อความได้

29 April 2020

 

ปัจจุบันระบบการแปลรูปแบบการทำงานของสัญญาณประสาทมนุษย์ ใช้การวิเคราะห์สัญญาณในขณะที่มนุษย์กำลังพูดออกเสียงได้เท่านั้น แต่นักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถแปลรูปแบบการทำงานของสัญญาณประสาทออกมาเป็นข้อความ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถพูดหรือพิมพ์ข้อความ ให้สามารถสื่อสารได้

Dr. Joseph Makin หนึ่งในทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟานซิโก (University of California, San Francisco) ให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ว่า สิ่งนี้จะสามารถเป็นพื้นฐานของอุปกรณ์สื่อสารแทนการพูดได้ โดยงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature Neuroscience เปิดเผยวิธีการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์โดยผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้ที่ได้รับการฝังอุปกรณ์ส่งสัญญาณไฟฟ้า (Electrode arrays implant) ในสมอง สำหรับการติดตามโรคลมชัก (Epilepsy) และอาการชัก (Seizures) อยู่แล้ว

Electroencephalogram (EEG) Brain Scan (แหล่งที่มาจาก www.the-scientist.com)

 

การวิจัยเริ่มจาก ผู้เข้าร่วมวิจัยทำการอ่านออกเสียงประโยคจำนวน 50 ประโยคหลาย ๆ ครั้ง ตัวอย่างประโยคเช่น “Tina Turner is a pop singer” และ “Those thieves stole 30 jewels” โดยทีมนักวิจัยจะเฝ้าติดตามการทำงานของสัญญาณประสาทขณะที่ผู้เข้าร่วมวิจัยพูดประโยคต่าง ๆ เหล่านั้น

ข้อมูลสัญญาณประสาทที่ได้จะถูกนำเข้าสู่อัลกอริทึม (Machine learning algorithm) ซึ่งเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์แบบหนึ่งที่สามารถแปลงข้อมูลการทำงานของสัญญาณประสาทในสมอง (Brain activity data) ของแต่ละประโยคที่พูดนั้นให้เป็นชุดตัวเลข และเพื่อให้มั่นใจว่าชุดตัวเลขที่ได้นั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับมิติด้านอื่นนอกเหนือจากการพูด ระบบปัญญาประดิษฐ์จะทำเปรียบเทียบเสียงที่พยากรณ์ได้จากข้อมูลการทำงานของสัญญาณประสาทในสมอง (Brain activity data) กับเสียงพูดของผู้เข้าร่วมวิจัยที่บันทึกไว้  จากนั้นชุดตัวเลขดังกล่าวจึงจะถูกนำเข้าไปในส่วนที่สองของระบบเพื่อทำการแปลงเป็นคำ

ในช่วงแรก ระบบยังแปลงออกมาเป็นประโยคที่อ่านไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อระบบได้เปรียบเทียบลำดับของคำแต่ละคำกับประโยคจริงที่อ่านออกเสียง ทำให้ระบบค่อยๆ  เรียนรู้ความสัมพันธ์ของชุดตัวเลขกับคำ และลำดับของคำ ทำให้สามารถแปลงออกมาเป็นประโยคที่เริ่มสื่อสารเข้าใจได้ จากนั้นทีมนักวิจัยจึงเพิ่มการทดสอบระบบ โดยให้สร้างข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรจากการทำงานของสัญญาณประสาทในสมอง (brain activity) ในระหว่างการพูด

ระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวนี้ยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ยังพบข้อผิดพลาด เช่น “Those musicians harmonize marvelously” ถูกแปลเป็น “The spinach was a famous singer” หรือ “A roll of wire lay near the wall” ถูกแปลเป็น “Will robin wear a yellow lily” อย่างไรก็ตามความถูกต้องแม่นยำของระบบที่พัฒนาใหม่นี้ยังสูงกว่าวิธีการก่อนหน้านี้ค่อนข้างมาก โดยค่าความถูกต้องแม่นยำนั้นมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล โดยพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยท่านหนึ่ง มีอัตราความผิดพลาดสำหรับการแปลประโยคเพียง 3% ซึ่งน้อยกว่านักถอดเสียงมืออาชีพที่มีอัตราความผิดพลาดในการแปลประโยคอยู่ที่ 5%

นอกจากนี้จากผลการทดลองยังพบว่า ถ้าแปลประโยคอื่นนอกเหนือจาก 50 ประโยคที่ใช้นั้น ความถูกต้องจะลดลง Dr. Joseph Makin กล่าวเสริมว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังพัฒนานี้ค่อนข้างจะขึ้นกับการผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ประโยคที่เฉพาะเจาะจง การแยกแยะคำจากการทำงานของสัญญาณประสาทในสมอง และการรับรู้รูปแบบทั่วไปในภาษาอังกฤษ

Dr. Christian Herff ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแมสทริชท์ (Maastricht University) ผู้ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ กล่าวว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยที่น่าสนใจ เพราะระบบปัญญาประดิษฐ์นี้ใช้เวลาน้อยกว่า 40 นาทีสำหรับการฝึกอัลกอริทึมด้วยข้อมูลของผู้เข้าร่วมวิจัยแต่ละคน แทนที่จะต้องใช้เวลาหลายล้านชั่วโมงที่โดยทั่วไปจำเป็นต้องใช้ และกล่าวอีกว่า “ด้วยความสามารถเช่นนี้ จะทำให้บรรลุระดับความแม่นยำที่สูงขึ้น” อย่างไรก็ดี เขาตั้งข้อสังเกตว่า ระบบนี้ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สำหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางด้านการพูดหรือการพิมพ์ข้อความได้ เนื่องจากระบบนี้ยังต้องอาศัยการศึกษาการทำงานของสัญญาณประสาทในสมองที่บันทึกจากการพูดออกเสียง Dr. Christian Herff กล่าวเสริมว่า “มันไม่ใช่การอ่านความคิด แต่เป็นการถอดรหัสการทำงานของสัญญาณประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับการพูด ดังนั้น ผู้คนไม่ควรต้องกังวลเกี่ยวกับการที่คนอื่นจะอ่านความคิดของพวกเขา”

Dr. Mahnaz Arvaneh ผู้เชี่ยวชาญด้านฺการติดต่อสื่อสารระหว่างสมองและเครื่องจักร (Brain-Machine Interface) จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (Sheffield University) กล่าวว่า

“สิ่งที่สำคัญคือการพิจารณาประเด็นทางจริยธรรม พวกเรายังคงห่างไกลมากจากจุดที่เครื่องจักรสามารถอ่านใจพวกเราได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเราไม่ควรตระหนัก หรือไม่ควรวางแผนเกี่ยวกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต”

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.