กรมพัฒนาที่ดินกับการใช้ Data science ในการดูแลเกษตรกรอย่างใกล้ชิด

กรมพัฒนาที่ดินกับการใช้ Data science ในการดูแลเกษตรกรอย่างใกล้ชิด

05 March 2022
agriculture management

ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้รู้จักและเข้าใจดินในพื้นที่ของตนเอง ผ่านคำแนะนำในการจัดการดินที่เหมาะสมและรวดเร็วโดยอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคคลากรจากกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวทางกรมฯ จึงเปิดรับเกษตรกรที่สนใจหรือต้องการรับความช่วยเหลือผ่านโครงการที่ชื่อว่า “บัตรดินดี”

บัตรดินดี: บัตรประจำตัวแปลงเกษตร

บัตรดินดี หรือชื่อเต็มๆ ว่า “โครงการบริหารจัดการดินเชิงรุกแก่เกษตรกรรายแปลงผ่านบัตรดินดี” เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเกษตรกรผู้ถือบัตรดินดี ให้ได้รับการบริการด้านดินอย่างใกล้ชิด ประมวลผลปัญหาการเกษตรในเบื้องต้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำการจัดการดิน โดยกรมพัฒนาที่ดินได้มีการรวบรวมคลังข้อมูลดินของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ ในการนี้ทางกรมพัฒนาที่ดินได้ร่วมมือกับ GBDi เพื่อเสริมสร้างการใช้ประโยชน์และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของ Dashboard เพื่อให้เข้าใจลักษณะข้อมูลของโครงการดังกล่าว และสามารถนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผน ต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจสมัครสมาชิกบัตรดินดี

รูปที่ 1 ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลภาพรวมบัตรดินดี
รูปที่ 2 ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลภาพรวมเกษตรกรผู้ถือบัตรดินดีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ในเบื้องต้นทางกรมพัฒนาที่ดินได้ส่งชุดข้อมูลจำนวน 143,034 ราย เพื่อนำมาวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาพรวมของผู้ถือบัตรดินดี รูปที่ 1 แสดง Dashboard ที่ทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าพื้นที่ที่สนใจมีจำนวนสมาชิกผู้ถือบัตรดินดี และจำนวนสมาชิกที่ได้รับคำแนะนำด้านการจัดการดินเป็นจำนวนเท่าใด กระจายในพื้นที่ใดบ้าง พืชที่นิยมปลูก 10 อันดับแรกคือพืชชนิดใดบ้าง รวมถึงมีการแสดงขนาดแปลง และกลุ่มชุดดิน รวมทั้งมีการแสดงจำนวนการเป็นสมาชิกโครงการอื่น ๆ ของสมาชิกผู้ถือบัตรดินดี นอกจากนี้ยังสามารถดูรายละเอียดแต่ละพื้นที่โดยเลือกพื้นที่จังหวัดที่ต้องการในแผนที่ได้ดังรูปที่ 2 ซึ่งเป็นข้อมูลบัตรดินดีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หน้าจอการแสดงผลอื่น ๆ ก็จะแสดงผลที่สอดคล้องกับพื้นที่ที่เลือก

ภาพที่ 3 ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลการจัดการ

ในส่วนของการจัดการที่มีการดำเนินการสามารถสรุปในแต่ละพื้นที่จังหวัดดังรูปที่ 3 จากข้อมูลที่ได้มีการรวบรวมมานั้น การปลูกพืชปุ๋ยสดเป็นวิธีการจัดการที่มีการใช้มากที่สุด รองลงมาคือการไถพรวนตามแนวระดับ และการสร้างบ่อน้ำในไร่นา/สระน้ำ/บ่อเก็บน้ำ ตามลำดับ จังหวัดที่มีการใช้วิธีการจัดการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สุรินทร์ เชียงราย และ น่าน ตามลำดับ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกดูข้อมูลจากวิธีการจัดการได้ โดยเลือกวิธีการจากตารางด้านขวา เพื่อดูว่า การจัดการดังกล่าวพบในจังหวัดต่าง ๆ เท่าไร ตัวอย่างเช่น จังหวัดที่มีการปลูกพืชปุ๋ยสด 3 อันดับแรก ได้แก่ สุรินทร์ เชียงราย และนครราชสีมา ตามลำดับ

รูปที่ 4 ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลปัญหาที่พบ

รูปที่ 4 แสดงปัญหาที่พบในแต่ละจังหวัด โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ปัญหาดิน และปัญหาน้ำ พบว่า ปัญหาดินที่เกิดมากที่สุดคือดินกรดที่มีการพบสูงถึงกว่า 46% ส่วนปัญหาน้ำที่พบมากที่สุดคือปัญหาขาดแคลนน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถดูปัญหาดินและปัญหาน้ำที่พบในแต่ละจังหวัดโดยเลือกจังหวัดในแผนที่ แผนภูมิรูปวงกลมจะถูกปรับให้สอดคล้องกับจังหวัดที่เลือก

รูปที่ 5 ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลเกี่ยวกับผลการวิเคราะห์ดินจากชุดตรวจสอบดินภาคสนาม
รูปที่ 6 ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลเกี่ยวกับผลการวิเคราะห์ดินจากห้องปฏิบัติการ

ผลการวิเคราะห์ดินจากชุดตรวจสอบดินสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ดินจากชุดตรวจสอบดินภาคสนามแสดงดังรูปที่ 5 และผลการวิเคราะห์ดินจากห้องปฏิบัติการดังรูปที่ 6

รูปที่ 7 ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลพืชที่นิยมปลูกและผลผลิตสูงสุด

พืช 10 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมในการปลูก รวมถึงพืช 10 อันดับแรกที่ให้ผลผลิตสูงสุด แสดงดังรูปที่ 7 นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ B/C Ratio (Benefit Cost Ratio) ซึ่งเป็นอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน หากค่า B/C Ratio มากกว่า 1 แสดงว่าผลตอบแทนที่ได้คุ้มค่ากับการทุน การวัดค่า B/C Ratio ของพืช 10 อันดับแรกที่นิยมปลูก พบว่ามีค่ามากกว่า 1 ทั้งก่อนและหลังจากการได้รับคำแนะนำ เมื่อเทียบอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนก่อนและหลัง จะเห็นทิศทางการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่า B/C Ratio ถึงแม้ว่าผลผลิตของพืชทุกชนิดจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่า B/C Ratio ก่อนและหลัง พบว่าบางพืชมีผลกำไรที่ลดลง ซึ่งทางกรมพัฒนาที่ดินสามารถนำผลการวิเคราะห์นี้ไปทำการปรับปรุงแนวทางการจัดการเพื่อส่งเสริมการเพิ่มกำไรให้แก่เกษตรกรต่อไป

Dashboard นี้จะช่วยให้เราเห็นมุมมองเชิงลึกของชุดข้อมูล และนำไปสู่การใช้ข้อมูลเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามเป้าหมายในการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรโดยใช้ Big Data เข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการ ในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มส่วนของการวิเคราะห์แนวโน้มและปัจจัยเพื่อให้สามารถทำนายผลผลิตในอนาคตจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ได้

Reference

บัตรดินดี ID Din Dee (ldd.go.th)

เนื้อหาโดย ขวัญศิริ ศิริมังคลา
ตรวจทานและปรับปรุงโดย ดวงใจ จิตคงชื่น

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.