CBDC: ระบบการเงินที่กำลังเปลี่ยนโลก และโอกาสของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, Part 2

CBDC: ระบบการเงินที่กำลังเปลี่ยนโลก และโอกาสของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, Part 2

01 September 2021

นี่เป็นบทความต่อเนื่องหลังจากบทความ CBDC: ระบบการเงินที่กำลังเปลี่ยนโลก และโอกาสของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, Part 1  ในบทความนี้ เราจะพูดถึง Smart Contract และโอกาสของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลอยู่ที่ใดจากการมาของสิ่ง ๆ นี้

สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) คืออะไร?

ในชีวิตเราทุกวันนี้ เรามีธุรกรรมทางการเงินหลาย ๆ อย่าง ที่บางอย่างก็เร็วทันใจ บางอย่างก็มีขั้นตอนมากมายและต้องมีมนุษย์เข้ามาช่วยตัดสินใจ ผู้อ่านลองจินตนาการว่า หากเราสามารถโอนเงินให้เพื่อน กู้เงินมาผ่อนบ้าน ขอสินเชื่อมาทำธุรกิจ เคลมประกันรถยนต์ แลกเงินจากสกุลเงินหนึ่งเป็นอีกสกุลเงินหนึ่ง รับเงินเดือน รับค่าจ้าง เสียภาษี ทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เหล่านี้ได้ โดยอัตโนมัติ แต่ละธุรกรรมไม่ต้องผ่านมือมนุษย์ ชีวิตทางการเงินของเราจะสะดวกสบายมากขึ้นอีกเท่าใด ในขณะที่ผู้ให้บริการทางการเงินก็ประหยัดค่าใช้จ่ายและทรัพยากรในการกำกับธุรกรรมทางการเงิน

นั่นคือ สิ่งที่ Smart Contract พยายามจะตอบโจทย์นี้

รูปที่ 1 สัญญาในรูปแบบปัจจุบัน (Traditional Contract) ที่เรายังต้องพึ่งตัวกลาง (3rd Party) ในการดำเนินตามสัญญา (Execution) ที่มาจาก DZone
รูปที่ 2 สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่ไม่อาศัยตัวกลางใด ๆ เพราะเราสามารถสั่งให้โค้ดดำเนินการแทน ที่มาจาก DZone

Smart Contract เป็นเครื่องมือในการดำเนินคำสั่งต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้บนระบบดิจิทัล Smart Contract อาจลดรูปเหลืออยู่แค่ “ถ้า A เกิดขึ้น ให้ทำ B” คล้าย ๆ กับการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำคำสั่งตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ตัวอย่างในระบบ CBDC เรามีข้อมูลบัญชี เงินและเวลา เราสามารถประยุกต์ใช้ Smart Contract เบื้องต้นสำหรับการเงินได้เป็น “ถ้าถึงวันที่ A โอนเงินจากบัญชี B ให้บัญชี C เป็นจำนวนเงิน X บาท” ในกรณีนี้ มีเงื่อนไขทางเวลาเข้ามากำกับไว้ในการดำเนินกิจกรรม นี้คือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า “เงินที่เขียนโปรแกรมได้” (Programmable Money)

การสร้างเงินที่เขียนโปรแกรมได้นำไปสู่ผลกระทบในภาพใหญ่สี่ด้านด้วยกัน

  1. การทำธุรกรรมเป็นไปอย่างอัตโนมัติ เนื่องจากเราสามารถกำหนดเงื่อนไขในการเกิดธุรกรรมเกิดขึ้น นั่นจะทำให้เกิดการโอนเงินขึ้นอย่างอัตโนมัติเมื่อทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยที่ไม่ต้องอาศัยการอนุมัติจากมนุษย์คนใด ยกตัวอย่าง เช่น จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าบริการอื่น ๆ  หรือแม้กระทั้ง การชำระเงินภาษี เราสามารถสร้างระบบคำนวณรายได้ ตัดเงินได้โดยอัตโนมัติ
  2. ลดขั้นตอนที่ซับซ้อนของการทำธุรกรรม กระบวนการที่ซับซ้อนระหว่างทำธุรกรรม ตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสาร ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่กินเวลาส่วนใหญ่ของการทำธุรกรรมอาจถูกลดรูปเหลืออยู่แค่คำสั่งทางคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น การเสียภาษีนำเข้าจากการซื้อของจากต่างประเทศ กรมศุลกากรอาจสร้างระบบที่ช่วยตัดเงินจากระบบเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเสียภาษีจากการนำของเข้าไปในประเทศ
  3. สร้างความโปร่งใสในการทำธุรกรรม ตรวจสอบได้ และคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากอนุมัติสัญญา ในการทำ Smart Contract ใด ๆ เราสามารถดูได้ว่าเงื่อนไขข้อสัญญาเป็นอย่างไร กระบวนการนี้สร้างความมั่นใจให้กับทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (ผู้ซื้อ/ขาย) ในสัญญา
  4. มอบอิสระ (Autonomy) ในการเลือกทำสัญญา และลดการพึ่งพาตัวกลาง เปลี่ยนความเชื่อใจในบุคคลหรือบริษัทเป็นการเชื่อใจในโค้ดแทน ตัวอย่างของกรณีที่เกี่ยวข้องคือการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้จะเป็นภาระของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในการดำเนินเรื่องให้เรา นั่นคือเราเลือกที่จะเชื่อใจนายหน้าแต่ถ้าหากกระบวนการทุกอย่างอยู่ในรูปแบบของ Smart Contract ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะมองเห็นเงื่อนไขภายในสัญญานี้ และเลือกที่จะเชื่อใจในคำสั่งในคอมพิวเตอร์แทน

หากเราต้องการให้ Smart Contract ครอบคลุมไปถึงเรื่องอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น การออกใบเสร็จรับเงินระหว่างบริษัท การอนุมัติให้เบิกสินเชื่อจากบริษัทประกัน การบังคับโทษปรับทางแพ่ง เป็นต้น เราต้องใช้ข้อมูลจากภายนอกเข้ามาสู่ในระบบการเงินเพื่อที่จะสร้าง Smart Contract เพราะฉะนั้น การสร้างระบบทางการเงินที่สามารถเขียน Smart Contract ลงบนระบบจะต้องออกแบบอย่างยืดหยุ่นให้ครอบคลุมการใช้งานทั่ว ๆ ไป รวมถึงนวัตกรรมทางการเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่า CBDC เป็นมากกว่าแค่ระบบการโอนเงินทั่ว ๆ ไป ด้วย Smart Contract ที่สามารถพลิกโฉมการทำธุรกรรมทางการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โปร่งใส่มากขึ้น ทำได้รวดเร็วและประหยัดทรัพยากรมากขึ้น

CBDC กับ ข้อมูลส่วนบุคคล

สิ่งหนึ่งที่เงินสกุลนี้ได้รับข้อโต้แย้งอย่างมาก คือการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เป็นความจริงที่ว่าระบบการเงินในระบบดิจิทัลไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่เหมือนกับระบบการเงินแบบเหรียญและธนบัตรแบบดั้งเดิม นั่นคือตัวระบบจำเป็นต้องบันทึกทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นภายในระบบเพื่อทำให้เกิดระเบียนธุรกรรมย้อนหลังได้ และเพื่อใช้ในกิจกรรมทางการเงินอื่น ๆ ต่อไป  นั่นสร้างความระแวงให้กับประชาชนบางกลุ่มที่ถือค่านิยมแนวทางเสรีภาพ เพราะการเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมทางการเงินได้มอบอำนาจรัฐบาลในระดับสูงสุด รัฐบาลสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการยับยั้งธุรกรรมที่ (รัฐมองว่า) ผิดกฎหมาย ซึ่งนั่นอาจรวมถึงกิจกรรมที่ต่อต้านรัฐบาล นี่คือการอนุญาตให้รัฐบาลสอดแนมประชาชนทุกย่างก้าว และบังคับให้ประชาชนทำตามอย่างที่รัฐบาลสั่ง

อย่างไรก็ดี นั่นอาจเป็นมุมมองที่สุดโต่ง เมื่อมองถึงสิ่งที่ธนาคารกลางกลัวที่สุดแล้วนั้น การมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการระบุความเสี่ยงต่าง ๆ ของสกุลเงินของตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในสภาพความเป็นจริง การนำ CBDC มาใช้จำเป็นต้องได้รับการรับรองของกฎหมายการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลประจำประเทศนั้น ๆ (ยกตัวอย่าง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data Protection Act: PDPA สำหรับประเทศไทย) สรุปโดยย่อ คือ การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน ถ้าหากจำเป็นต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ เพื่อใช้ในการขายสินค้า-บริการใด ๆ ก็จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนว่าใช้ไปเพื่อกิจกรรมใด และสามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด เมื่อผนวกเข้ากับปัจจัยข้างต้นแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ทำธุรกรรมแต่ละคน เก็บแต่เฉพาะธุรกรรมที่เกิดขึ้นก็สามารถระบุตัวผู้ทำผิดกฎหมายได้ เป็นต้น

รูปที่ 3 ตัวอย่างของ Retail CBDC แบบ Account-based และ Token-based ที่มาจาก BIS

อีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยปกป้องการระบุตัวตนจากระบบการเงินใหม่นี้คือ โครงสร้างการเก็บข้อมูลแบบ Token-based ซึ่งวิธีการนี้จะอนุญาตให้คนที่มี “กุญแจ” เข้าสู่กระเป๋าเงินดิจิทัลเป็นเจ้าของเหรียญที่อยู่ในกระเป๋าเงินนี้ เมื่อเทียบกับโครงสร้างการเก็บข้อมูลแบบ Account-based ที่มีลักษณะคล้ายกับบัญชีธนาคาร เงินหรือ token ต่าง ๆ จะผูกติดกับบัญชีซึ่งได้รับการยืนยันตัวตนผ่านกระบวนการ Know Your Customer (KYC) หรือ Digital Identity อื่น ๆ เมื่อมองดูแล้วโครงสร้างแบบ Token-based จะมอบความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม CBDC ไม่สามารถมอบประสบการณ์เฉกเช่นเดียวกับการใช้เงินสดอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ถึงที่สุดแล้วนั้น ทั้งหมดขึ้นอยู่กับรายละเอียดของตัวระบบภายในมากกว่าคำเรียกชื่อโครงสร้างการเก็บข้อมูลของสองระบบนี้

เมื่อมองดูแล้วโครงสร้างแบบ Token-based จะมอบความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม CBDC ไม่สามารถมอบประสบการณ์เฉกเช่นเดียวกับการใช้เงินสด

ท่ามกลางความหวาดกลัวของประชาชนและความระแวดระวังของรัฐบาลต่อข้อมูลส่วนบุคคล มีรัฐบาลหนึ่งที่มองข้ามปัญหาเหล่านี้และเดินหน้าพัฒนาระบบทะเบียนราษฎร์ลงบนระบบดิจิทัล ตัวอย่างนี้คือ ประเทศจีน ประชาชนทุกคนมีบัตรประชาชนดิจิทัลเป็นของตัวเองที่รัฐบาลเก็บข้อมูลไว้ และข้อมูลนี้ก็จะผูกติดกับบัญชีธนาคาร และคะแนนความประพฤติของประชาชนแต่ละคน หากประชาชนคนใดทำผิดก็จะถูกลงโทษโดยการตัดเงินในบัญชีและตัดคะแนนความประพฤติ คะแนนดังกล่าวยังส่งผลต่อสิทธิในการใช้บริการพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การขอกู้เงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูก การขึ้นเครื่องบิน และขึ้นรถไฟ เป็นต้น นี่คือตัวอย่างของระบบที่นำข้อมูลส่วนตัวมาใช้และบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ระบบที่ได้กล่าวมาเป็นการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลอย่างสุดโต่ง และยังมีข้อบกพร่องอยู่อีกมากในปัจจุบัน

จากตัวอย่างข้างต้น เราสามารถนำมาประยุกต์กับการพัฒนา CBDC ได้อย่างไร? เราอาจจะมองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลโดยรัฐบาลในแง่บวกมากขึ้น แต่ต้องประกอบกับการเปิดเผยลักษณะการเก็บข้อมูล และการใช้งานอย่างละเอียด และอย่างเปิดเผย (ที่ซึ่งสอดคล้องกับกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ธนาคารกลาง รัฐบาล และประชาชนควรมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ อย่างเสรี เพื่อให้การใช้งานสกุลเงินนี้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับลักษณะเศรษฐกิจของประเทศ และความเป็นอยู่ของประชาชนมากที่สุด

โอกาสของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

เงินคือข้อมูล และข้อมูลคือเงิน

หนึ่งในหน้าที่ของเงินคือหน่วยวัดมูลค่าของสินค้า/บริการในสังคม เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วการทำธุรกรรมทางการเงินนั้นคือมาตรวัดความสนใจของสินค้าและบริการนั้น ๆ แนวคิดนี้เมื่อนำมาขยายผลต่อสังคมโดยรวม เราจะมองเห็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย มีสินค้า/บริการที่ถูกขายในราคาแตกต่างกันในแต่ละที่ และแต่ละเวลา ข้อมูลความสนใจของสินค้าใดใดจะปรากฏในรูปของ “ราคา” เนื่องด้วยข้อจำกัดของตลาดในอดีต การจดบันทึกธุรกรรมการซื้อขายสินค้าเป็นไปอย่างจำกัด ไม่ต้องพูดถึงการนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ นักเศรษฐศาสตร์ในยุคศตวรรษที่ 20 จึงสร้างทฤษฎีอุปสงค์-อุปทานเพื่อพยายามหาเหตุและผลว่าทำไมราคาของสินค้าประเภทต่าง ๆ ถึงมีราคาอย่างที่มันเป็น พร้อมทั้งสร้างทฤษฎีทางการเงินอื่น ๆ เพื่อจะควบคุมระบบเศรษฐกิจโดยรวมและเพื่อคงการจ้างงาน ทฤษฎีเหล่านี้ถูกใช้กันในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ที่อยู่ในหน่วยงานรัฐบาลและบริษัทลงทุน แต่ในศตวรรษ 21 นี้ การเก็บข้อมูลรายธุรกรรมเป็นไปได้โดยง่ายและการวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้นมหาศาล การใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเข้าใจพฤติกรรมถูกแสดงให้เห็นว่าทรงพลังมากผ่านการใช้งานในภาคธุรกิจ นอกจากการคาดการความต้องสินค้าใด ๆ การจำนวนสินค้าที่ซื้อไป แต่เป็นการสร้างความเข้าใจลักษณะการซื้อของของบุคคล ร้านสะดวกซื้อใช้ข้อมูลการซื้อของในอดีตเพื่อมอบส่วนลดให้ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจและทำให้ลูกค้ากลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง ทั้งหมดที่กล่าวมาพยายามจะชี้ให้ผู้อ่านเห็นว่า “เงินคือข้อมูล” และพอเมื่อเรามีข้อมูลแล้ว เราก็สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการวางแผนเพื่อลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย หรือสร้างยอดขายที่เพิ่มขึ้น นั่นคือ “ข้อมูลคือเงิน” การสร้าง CBDC คือการวางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลทางการเงินของประชาชน สำหรับในมุมมองของธนาคารเห็นประเทศไทย ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้ในการออกนโยบายทางการเงินที่ตรงจุด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนก็ได้รับประโยชน์ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่านโยบายการเปิดข้อมูลให้ใช้จะเป็นอย่างไร

ติดปีกให้ AI ด้วยช่องทางการสื่อสารใหม่

รูปที่ 4 Designed by vectorpocket / Freepik

ปัญญาประดิษฐ์ที่อยู่ในโลกดิจิทัลจะช่วยผู้คนในโลกที่เราอยู่ได้อย่างไร คงเป็นตลกร้ายหาก AI จะต้องช่วยด้วยการสร้างเป็นหุ่นยนต์ในโลกกายภาพเพื่อช่วยพิมพ์จดหมาย พับจดหมายและส่งตามตู้ไปรษณีย์ หรือเป็นหุ่นยนต์โต้ตอบภาษามนุษย์ผ่านสายโทรศัพท์ ถึงแม้ว่าการใช้เทคโนโลยีนี้จะมีประโยชน์ในโลกกายภาพ แต่ในเมื่อช่องทางการสื่อสารการเงินกำลังจะอยู่ในโลกดิจิทัลแล้วนั้น ปัญญาประดิษฐ์จะช่วยเหลือการสื่อสารในช่องทางนี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น CBDC ช่วยเปิดความเป็นไปได้ในการสร้างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินบนโลกดิจิทัลที่จะส่งเสริมการดำเนินการต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน บทบาทของปัญญาประดิษฐ์จะเป็นประโยชน์ผ่านการโต้ตอบในช่องทาง Smart Contract กับผู้ใช้งานคนอื่นและปัญญาประดิษฐ์อีกตัวหนึ่ง ปัญญาประดิษฐ์สามารถช่วยได้ในหลาย ๆ อย่าง เช่น การเปลี่ยนคำพูดหรือสัญญาในภาษามนุษย์ให้เป็น Smart Contract ในภาษาคอมพิวเตอร์ผ่าน Natural Language Processing หรือ การนำเข้าข้อมูลใส่สัญญา Smart Contract โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ไม่ว่าจะเป็น NLP หรือ Image Processing เป็นต้น ด้วยความเป็นไปได้อย่างไม่รู้จบ Infrastructure อย่าง CBDC นี้จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่จำเป็นในการใช้งาน AI ในชีวิตประจำวัน และทำให้ประเทศก้าวไปสู่โลกในยุคดิจิทัลโดยสมบูรณ์

สรุป

CBDC ไม่ใช่แค่ระบบการเงินที่อยู่เฉพาะในโลกการเงินเพียงอย่างเดียว แต่ว่ามันสามารถเชื่อมต่อกับระบบพื้นฐานอื่น ๆ ที่สำคัญภายในประเทศ มันจึงเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของสังคมในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกฎหมาย ด้านเทคโนโลยี ด้านสังคม อาจกล่าวได้ว่ามันได้สร้างรูปแบบความสัมพันธ์ใหม่ตั้งแต่ระหว่างบุคคลด้วยกัน ระหว่างบริษัทและลูกค้า ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและประชาชน ผ่านการใช้งาน Smart Contract ทำให้เกิดบริการต่าง ๆ อีกมากมายมหาศาล เช่น การโอนเงินอัตโนมัติ และ การสร้างสัญญาโดยไม่ต้องพึ่งตัวกลาง เป็นต้น Smart Contract ทำให้เพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรมอย่างมหาศาล และมอบความโปร่งใสและความเชื่อมั่นในการทำสัญญา ถึงแม้ว่าเราอาจจะรู้สึกกังวลต่อประเด็นเรื่องข้อมูลส่วนตัว แต่ผู้เขียนเชื่อว่าระบบสกุลเงินใหม่นี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมที่เราอยู่ให้พัฒนาขึ้นไปจากเดิม

เนื้อหาโดย อนันต์วัฒน์ ทิพย์ภาวัต
ตรวจทานและปรับปรุงโดย ปพจน์ ธรรมเจริญพร

Former-Editor-in-Chief at BigData.go.th and Senior Data Scientist at Government Big Data Institute (GBDi )

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.