เปิดประวัติคุณโก้ ณัฐพงษ์ บุตรพรหม จากนักดนตรีสู่ Corporate Data Analytic

เปิดประวัติคุณโก้ ณัฐพงษ์ บุตรพรหม จากนักดนตรีสู่ Corporate Data Analytic

21 April 2022
Data Analytic ประวัติคุณโก้ ณัฐพงษ์
ประวัติคุณโก้ ณัฐพงษ์ บุตรพรหม จากนักดนตรีสู่ Corporate Data Analytic

แนะนำตัว

สวัสดีครับ ผมชื่อโก้ ณัฐพงษ์ บุตรพรหม ( Data Analytic ประวัติคุณโก้ ณัฐพงษ์ )
อดีตมือเบสแบ็คอัพให้กับ “ดา เอ็นโดรฟิน” ครับ
ปัจจุบันเปลี่ยนสายงาน ผันตัวมาทำงานด้าน Data ตำแหน่ง Corporate Data Analytic ในทีม Marketing Strategy ที่บริษัท LEARN Corporation ครับ

จุดเริ่มต้นในวงการดนตรี

ผมเริ่มต้นเล่นดนตรีอาชีพครั้งแรกตอนปี 3 ครับ ที่ร้านชื่อ Park2Bar อยู่ตรงซอย สุขุมวิท 101/1 ตอนนั้นจำได้ว่าค่าตัวคืนละ 500 บาทเองครับ

ร่วมงานกับ “ดา เอ็นโดรฟิน” ได้ยังไง

ตอนอยู่ปี 4 (ดุริยางคศาสตร์ ศิลปากร เอก Jazz Performance – Electric Bass) ผมกำลังเตรียมทำ Recital Concert ซึ่งเป็นโปรเจกต์จบ แต่มีปัญหาขึ้นมา ทำให้ทุกอย่างต้องเลื่อนไปปีถัดไป ตอนนั้นผมก็เครียดครับ แล้ววันดีคืนดีพี่เอิง อภิญญ์ รัชตะหิรัญ รุ่นพี่ที่คณะก็มาชักชวนไปเล่นแบคอัพให้ดา ผมก็ตัดสินใจเริ่มงานในวันรุ่งขึ้นเลย ซ้อมกันอยู่เดือนนึง แล้วก็ไปลุยทัวร์คอนเสิร์ตยาวเลย จนอยู่ด้วยกันมา 5 ปี เป็นช่วงเsวลาที่สนุกมาก ๆ

จุดพลิกผันที่ทำให้เข้าสู่วงการ Data

จุดเริ่มต้น

เริ่มจากตอนนั้นผมเริ่มสนใจพวก Crypto กำลังศึกษาทำความเข้าใจกับเรื่องแนวนี้ แล้วมีโอกาสได้คุยกับคุณแฟรงค์ วสุพล สุทัศนานนท์ มือ Keyboard ที่เล่นด้วยกันในวง Rooftop ซึ่งตัวเขาก็เป็น CEO ของ Matching Platform ด้านดนตรีอันนึง ชื่อ “เล่นสด” เราได้คุยกันแล้วก็รู้สึกถูกคอ คุยกันรู้เรื่อง คุณแฟรงค์ก็ชวนผมมาทำงานที่บริษัท เพราะเห็นว่าผมมีความรู้แล้วก็สนใจในเรื่องเทคโนโลยี ตำแหน่งที่ทำคือ Artist Management ตอนแรกผมก็นึกว่าเป็นงานที่ต้องคอยดูแลศิลปินหน้างาน แต่พอได้มาทำจริงปรากฏว่ามันคือการ “จัดการข้อมูล และความสัมพันธ์ ของศิลปินทั้งหมดบนแพลตฟอร์ม ผมงงไปเลยครับ เพราะตอนนั้นทำอะไรไม่เป็นเลย แม้แต่ Google Sheet ก็ยังใช้ไม่เป็น สูตรอะไรไม่ต้องพูดถึง ตอนผมจะบวกเลขผมยังต้องเอาเครื่องคิดเลขมาบวกก่อนแล้วค่อยเอาไปกรอกลงตาราง จะเพิ่ม column ก็ต้องขอให้น้อง ๆ มาทำให้ ซึ่งน้อง ๆ ก็ช่วยผมเต็มที่ ยังจำได้ว่าช่วงเดือนแรกผมต้องโทรหาศิลปินทั้งหมดแล้วกรอกข้อมูลด้วยมือล้วน ๆ เลย

Pain

ด้วยความที่มีศิลปินบนแพลตฟอร์มเยอะมากๆ จนจุดหนึ่งมันเกิด Pain ว่า ”ทั้งหมดนี่มันทำ manual ไม่ไหวแน่ๆ” มันจัดการอะไรไม่ได้เลย ถ้ายังทำแบบเดิมยังไงก็ตาย เลยรู้สึกว่าเราต้องทำอะไรสักอย่างแล้วล่ะ ก็เลยค่อยๆเริ่มหาข้อมูล หาวิธีการว่าเราจะแก้ปัญหานี้ได้ยังไงบ้างแล้วก็เริ่มได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ วิธีการใหม่ ๆ เริ่มเจอ Tools ที่ตอบโจทย์เรามาเรื่อยๆ ตอนนั้นใช้สูตรหนักมากขึ้น ๆ จน Google Sheet ค้าง ก็เลยคิดว่ามันคงทำได้แค่นี้แหละ สุดทางแล้ว จนได้มาเจอ Tableau แล้วก็ค้นพบว่าผมรู้สึกสนุกมากเวลาที่ได้เห็น Insight เวลาที่ค้นข้อมูลยิ่งเข้าใจลึกมากเท่าไหร่ มันยิ่งรู้สึกตื่นเต้นไปหมด

Spark

จากนั้นน้องที่บริษัทได้ไปขอเจ้านายให้ส่งผมไป Workshop ทำ Dashboard ที่ Skooldio กับ อาจารย์ เช็ค ดร. ธนชาตย์ ฤทธิ์บำรุง จากตอนแรกที่มั่วเอาเอง พอไปทำ Workshop ก็ได้รู้ว่าสิ่งที่ถูกต้องคืออะไร สิ่งที่ควรทำคืออะไร วันนั้นมันวันเปิดโลกของผมเลยครับ รู้สึกว่าโลกที่ผมรู้มันกว้างขึ้นมาก ได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นเต็มไปหมด ความรู้ที่ได้รับในวันนั้น ยังใช้อยู่ทุกวันในวันนี้ ครับ (กราบขอบพระคุณ น้องโต้ พี่ ๆ ฟังใจ และอาจารย์เช็ค สำหรับ Spark ที่สำคัญครั้งนี้)

พอกลับมา ตั้งแต่นั้นผมก็รับเหมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของบริษัทเลยครับ ขอขอบคุณ “เล่นสด”(Lensod) และ “ฟังใจ”(Fungjai) มากๆเลย ที่เชื่อใจ และให้โอกาสเสมอมา คิดถึงทุกคนเสมอนะครับ

วิกฤตที่เข้ามาแบบไม่ตั้งตัว

แล้วพอ COVID-19 มา บริษัทเราจำเป็นต้องลดขนาดลง และผมก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น ก็เลยตัดสินใจเอาเวลามาเริ่มเรียน Data อย่างจริงจังที่ DataCamp และตั้ง OKRs ส่วนตัวไว้ว่าต้องทำงานสาย Data ให้ได้ พอเข้าเรียนฝึกฝนมาเรื่อย ๆ ผมอยากเข้าใจว่า คนที่ทำงานในสาย Data เขามีวิธีคิดยังไงเขามองสิ่งต่าง ๆ ยังไงแล้วเขาทำอะไรกัน จึงเริ่มสังเกตจากคนใน Community เริ่มขออนุญาตแอดเฟรนด์คนที่ทำงานสาย Data เพื่อขอติดตามผลงาน ตอนแรกก็รู้สึกเขิน ๆ นะครับ แต่เพราะความอยากรู้ก็ต้องลุย ผมได้รับความรู้จากชุมชนเยอะมาก ทั้งสิ่งที่ทุกคนคอยมาแชร์และการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายของคนในวงการ ทำให้ผมเข้าใจสายงานนี้กว้างขึ้นมาก ๆ

การค้นหาหนทาง และความหวัง

จนวันนึง ผม DM ไปถาม คุณ ชารินทร์  พลภาณุมาศ ไปขอคำปรึกษาเกี่ยวกับงานในสายนี้ว่า “คุณ ชารินทร์ ครับ เงินเดือนที่ควรจะเรียกหากต้องการเข้าทำงานสายนี้ โดยเป็นคนข้ามสายแบบผม ควรจะเรียกเท่าไหร่ถึงจะโอเคครับ” แล้วก็ได้คำแนะนำดี ๆ มามากมาย มีอยู่ 2 อย่างที่ผมเชื่อว่าสำคัญและส่งผลอย่างมากกับอาชีพที่ทำอยู่ปัจจุบันก็คือ หนึ่ง “จุดแข็งคือ BI (Business Intelligence) ถ้าอยากได้งานเร็วต้องโฟกัสเรื่องนั้น พอได้งานแล้วต่อไปอยากเปลี่ยนมาทำโมเดลหรืออะไรค่อยเรียนต่อ” และ ข้อสอง “ทำเว็บไซต์หรืออะไรง่าย ๆ เพื่อรวบรวมผลงาน” ผมจึงเริ่มทำ Portfolio อย่างง่าย ๆ ตามคำแนะนำด้วย GitHub Pages และ ทำโปรเจกต์ #MAKEOVERMONDAY ทุก ๆ สัปดาห์ สะสมใส่ไว้ใน Portfolio เรื่อยมา (ปัจจุบันก็ยังทำอยู่ครับ) โฟกัสเพียงเท่านี้

ผลงานของคุณโก้ ณัฐพงษ์ บุตรพรหม

ในช่วงเวลายากลำบากของโรคระบาดนั้น อาจารย์ อเล็กซ์ ผ.ศ. ดร.วรพล พงษ์เพชร และ อาจารย์ เช็คดร. ธนชาตย์ ฤทธิ์บำรุง ได้เปิดโครงการอบรม Getting to Know Data Job with Data People Conference เพื่อที่จะช่วยเหลือคนที่กำลังลำบาก และอยากจะข้ามสายงาน ผมได้รับโอกาสในการเรียนครั้งนั้น เป็นอีกครั้งที่ผมได้ความรู้มากมาย ได้เข้าใจในศาสตร์นี้กว้างขึ้น เข้าใจผู้คนในสายนี้มากขึ้น และได้รับคำแนะนำจากอาจารย์อเล็กซ์ไปในทิศทางเดียวกับคุณชาริน คือ “รวบรวมผลงานไว้บน Github” ผมเชื่อและทำตาม ทุกครั้งที่ผมทำโปรเจกต์ ผมจะรวบรวมไว้ตามคำแนะนำนั้นเสมอ ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

ช่วงสมัครงาน

ผมได้คุณ ปนิตา สุริยวงษ์ เป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือในการสมัครงานต่าง ๆ ให้ ผมเปิดอ่าน Job Requirement จำนวนมาก แล้วพบว่าหลาย ๆ ที่มองหาทักษะที่จำเป็นคล้าย ๆ กัน แต่ที่เหมือนกันหมดทุกที่คือ SQL ผมจึงเริ่มเรียนภาษานี้เพิ่ม ระหว่างนั้นก็สมัครงานคู่กันไปด้วยครับ

ผมสมัครเป็นร้อย ๆ ที่ ได้เรียกสัมภาษณ์หลักหน่วย ตอนนั้นท้อมากๆ ท้อจนเแทบจะล้มเลิกไปเลย แต่ก็ได้กำลังใจที่ดีจากคนรอบข้าง และ ความอยากพิชิต OKRs ที่ตั้งใจว่าจะต้องเข้าทำงานสายนี้ให้ได้ ผมจึงเดินหน้าต่อ ทำโปรเจ็ค > เรียน > สมัครงาน > สัมภาษณ์ ทำวนอยู่อย่างนี้ 3 เดือน

จนกระทั้ง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2020 ผมได้รับโอกาสเข้าทำงานในบริษัท LEARN Corporation ในตำแหน่ง BI Developer จำได้ว่าดีใจมาก ๆ ในที่สุดก็ทำสำเร็จจริง ๆ ขอขอบคุณ พี่เพ่ย โจ้ พี่บุ้ย มิว กุ้ง และ คุณนิ แห่งบ้าน LEARN ที่ให้โอกาส และเปิดประตูบานแรกในสายงานนี้ให้กับผมนะครับ ขอบคุณจากใจครับ

และนี่ก็คือเรื่องราวการเดินทางข้ามสายงานของผมครับ

บทส่งท้าย

สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆที่กำลังพยายามอยู่ ขออวยพรให้ประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าการข้ามสายงาน ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย แต่ไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้ ความท้อแท้ ความไม่รู้ จะเข้ามาปะทะกับเราอย่างแน่นอน คุณจะรู้สึกอยากถอดใจนับครั้งไม่ถ้วนแต่ขอให้แน่วแน่เข้าไว้อย่ากลัวที่จะผิดพลาดอย่ากลัวที่จะต้องผิดหวังสนุกกับการฝึกฝนไปเรื่อย ๆและสะสมผลงานเอาไว้ทุกครั้งที่เราได้ลองได้ลงมือทำเราจะได้ทักษะเพิ่มมากขึ้นทุกครั้ง ทำไปเรื่อย ๆ จนเราพร้อมที่อ้าแขนรับโอกาสที่วิ่งเข้ามานะครับ

ขอขอบคุณ

ทุกท่านที่ได้กล่าวถึง และท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม และครอบครัว ที่เลี้ยงดู บ่มเพาะ ประคับประคอง ให้กำลังใจ สนับสนุน สั่งสอน ถ่ายทอด แนะนำ วิจารณ์ ช่วยเหลือ ไว้ ณ ที่นี้ ผมคงไม่สามารถทำสิ่งที่ทำอยุ่ได้ หากขาดสิ่งดีๆและกำลังใจที่ทุกท่านมอบให้กับผมตลอดมา ขอบคุณครับ

หากสนใจ ทุกท่านสามารถแวะเวียนมาเยี่ยมชมผลงานและทักทายผมได้ที่

บทความโดย ณัฐพงษ์ บุตรพรหม
ตรวจทานและปรับปรุงโดย นนทวิทย์ ชีวเรืองโรจน์

Nuttapong Buttprom

Corporate Data Analytic at Learn Corporation

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.