ถอดบทเรียน Scrum in Big data ภาครัฐ: Part I

ถอดบทเรียน Scrum in Big data ภาครัฐ: Part I

25 January 2021

สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่บทความไตรภาคอันยิ่งใหญ่ที่จะเล่าเกี่ยวกับการปรับตัวทางดิจิตอล (Digital Transformation) ที่หลายองค์กรจะต้องพบเจอ และสิ่งที่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นวิธีการทำงาน (Working Process) ที่จะต้องตามสมัยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ตอบสนองนโยบายขององค์กรหรือความต้องการของตลาด

https://unsplash.com/photos/QckxruozjRg

วันนี้ผมจึงจะมาเล่า Case Study ที่น่าสนใจนั่นก็คือ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) ที่เป็นหน่วยงาน Big data ภาครัฐ ได้นำการทำงานในรูปแบบของ Scrum มาปรับใช้กับหน่วยงาน เพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานให้สามารถส่งมอบงานที่มีคุณค่าต่อลูกค้าได้เร็วขึ้น สามารถตรวจสอบการทำงานของทีมได้ละเอียดชัดเจนขึ้น และรองรับการเปลี่ยนแปลง Requirement ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยทั่วไปนั้นหลักการของ Scrum ส่วนใหญ่มักจะใช้กันในสายพัฒนาซอฟแวร์ ดังนั้นจะเป็นอย่างไรเมื่อ GBDi ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐสาย Data ได้นำการทำงานแบบ Scrum มาประยุกต์และปรับใช้ โดยบทความนี้จะแบ่งเป็น 3 ตอนย่อย ๆ ดังนี้

ตอนที่ 1: คอนเซ็ปต์ Scrum ล้วน ๆ ไม่มีวัวผสม

ตอนนี้จะเล่าถึงคอนเซ็ปต์ของ Scrum ที่ประกอบด้วยหลักการและทฤษฎีต่าง ๆ ก่อนการนำมาปรับใช้ โดยจะเล่าถึง 3 หัวข้อหลัก ดังนี้

  1. Scrum คือ อะไร
  2. บทบาทหน้าที่ของคนในทีม
  3. กิจกรรมที่เกิดขึ้นใน Scrum

“เอาล่ะ ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลย”

Scrum คืออะไร

Scrum เป็นวิธีการทำงานที่กำหนดช่วงเวลาในการทำงานของแต่ละรอบ โดยแต่ละรอบจะมีกิจกรรมที่ใช้บริหารทีมเหมือน ๆ กัน มีการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้ลูกค้าทุก ๆ รอบ เพื่อรับข้อเสนอแนะจากลูกค้ากลับมาปรับปรุงในรอบถัดไป ซึ่งนอกจากจะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้นแล้ว กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นก็ยังทำให้สามารถตรวจสอบการทำงานของแต่ละคนได้ ทำให้เกิดความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น

ตามทฤษฎีแล้ว Scrum ประกอบด้วย 3 คุณสมบัติ ได้แก่

  1. ความโปร่งใส (Transparency) ทุกคนในทีมเห็นการทำงานของกันและกัน และเข้าใจนิยามของเนื้องานที่ได้ตกลงกันไว้ เช่น การคุยด้วยภาษาเดียวกันเพื่อเลี่ยงปัญหาการสื่อสาร
  2. การตรวจสอบ (Inspection) สามารถตรวจสอบการทำงานได้อยู่เสมอว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่
  3. การปรับเปลี่ยน (Adaption) หากพบว่ามีการทำงานที่ไม่เป็นไปตามแผน จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแผนเพื่อลดข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ให้ได้เร็วที่สุด
“เสาหลักของ Scrum”
https://productmint.com/what-are-the-three-pillars-of-scrum/

บทบาทหน้าที่ของคนในทีม

ใน scrum จะแบ่งคนในทีมออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ

  1. Product Owner (PO) หรือ เจ้าของผลิตภัณฑ์ เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ แต่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการเอง เช่น การกำหนดภาระงานที่ชัดเจน การเรียงลำดับความสำคัญของงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ การเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และการสร้างความมั่นใจว่างานต่าง ๆ มีความชัดเจนเพียงพอต่อความเข้าใจของคนในทีม
  2. Development Team หรือ ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้ที่อยู่ในทีมนี้จะต้องรู้หน้าที่การทำงานของตัวเองว่าต้องทำอะไรบ้าง โดยแต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญในด้านของตน แต่ก็สามารถทำงานอื่น ๆ ทั่วไปหรือข้ามสายงานได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ไม่ได้มีชื่อตำแหน่งเฉพาะในการเรียกคนที่อยู่ในทีม และจะไม่มีทีมย่อยลงไปอีก การทำงานต่าง ๆ ถือเป็นการรับผิดชอบของทุกคนในทีม
  3. Scrum Master คือ คนที่รับผิดชอบและส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบการทำงาน รวมถึงทำให้ทีมเข้าใจเป้าหมาย ขอบเขตของงานที่ทำ และแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่ขัดขวางการทำงานภายในทีม

กิจกรรมที่เกิดขึ้นใน Scrum

ก่อนที่จะเริ่มต้นในหัวข้อนี้ เรามาทำความรู้จักกับคำว่า Sprint กันก่อนนะครับ

Sprint หมายถึง ช่วงเวลาในการทำงาน 1 รอบ ซึ่งในแต่ละรอบจะมีการดำเนินกิจกรรมใน Scrum ทั้งหมด ประกอบด้วย Sprint Planning, Daily Scrum, การทำงาน, Sprint Review และ Sprint Retrospective

เอาล่ะ เรามาพูดถึงกิจกรรมจริง ๆ กันดีกว่า

“ภาพรวมของ Scrum”
https://www.mimeo.com/blog/three-reasons-scrum-master-certified/
  1. Sprint Planning: ก่อนที่จะเริ่ม Sprint ในแต่ละรอบจะต้องมีการวางแผน Sprint ก่อน โดยจะต้องกำหนดว่า Sprint ที่กำลังจะถึงนี้ เราจะทำอะไร งานแต่ละชิ้นมีลำดับความสำคัญอย่างไร และอะไรคือเป้าหมายของ Sprint นี้
  2. Daily Scrum: Development Team จะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีของแต่ละวัน ในเวลาเดิม ๆ ในการอัพเดทงานว่าที่ทำไปเมื่อวานนี้มีอะไรบ้าง วันนี้จะทำอะไร และมีอุปสรรคอะไรที่มาขัดขวางการทำงานหรือไม่ โดยหลังจากจบ Daily Scrum จะเป็นการประชุมรายละเอียดของงานที่ต้องการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงใน Sprint นั้นๆ
  3. Sprint Review: เป็นการประชุมทีมและอาจรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับงานของเรา เพื่อตรวจสอบว่างานที่ทำต้องปรับแก้อะไรหรือไม่ โดยจะมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
    • Product Owner เป็นคนเชิญทุกคนเข้าประชุม อธิบายว่างานไหนเสร็จแล้วบ้าง งานไหนยังไม่เสร็จ
    • Development Team เล่าว่าเจอปัญหาอะไรระหว่างทำหรือไม่ มีการแก้ไขปัญหายังไง
    • สมาชิกทุกคนจะช่วยกันคิดว่า Sprint หน้าควรจะทำอะไรบ้างรวมถึงทบทวนผลิตภัณฑ์หรือฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่จะส่งมอบ
  4. Sprint Retrospective เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นหลัง Sprint Review เพื่อร่วมกันตรวจสอบว่า Sprint ที่ผ่านมา เป็นอย่างไรบ้าง เช่น เรื่องคน ความสัมพันธ์ กระบวนการและเครื่องมือต่าง ๆ พร้อมทั้งสร้างแผนปรับปรุงเพื่อทำให้ Sprint ต่อไปได้ผลออกมาดีกว่าเดิม

สรุป

การทำงานด้วย Scrum ซึ่งเป็นวิธีการทำงานที่ให้ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถส่งมอบผลผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่ากับลูกค้าอย่างต่อเนื่องโดยทุกคนจะมีตำแหน่งใน Scrum ที่ชัดเจนและแต่ละตำแหน่งก็จะมีบทบาทในกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป และในตอนหน้าเราจะมาดูบทบาทขององค์กรและการนำ Scrum ไปประยุกต์ใช้กันครับ 😀

อ้างอิง

https://www.atlassian.com/agile/scrum/ceremonies
https://www.scrumguides.org/scrum-guide.html
https://medium.com/fastwork-engineering/scrum-คืออะไร-เริ่มใช้งานอย่างไร-2483e761a47e

Senior Data Engineer
Big Data Institute (Public Organization), BDI

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.