ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
All News
BDI ร่วมเสวนาหัวข้อ AI for Smart Admincourt “ปัญญาประดิษฐ์กับการพัฒนาเป็นศาลปกครองอัจฉริยะ (Smart Admincourt)”
15 พฤษภาคม 2568, กรุงเทพฯ – สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI โดย รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ร่วมเป็นวิทยากรในเวทีเสวนา หัวข้อ “AI for Smart Admincourt” ปัญญาประดิษฐ์กับการพัฒนาเป็นศาลปกครองอัจฉริยะ ณ ห้องประชุมชั้น 11 อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ รศ. ดร.ธีรณี กล่าวถึงการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในองค์กร ซึ่งสามารถช่วยแบ่งเบาภาระ และจัดระเบียบในการทำงาน โดยยกตัวอย่างการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกับสำนักงานศาลปกครอง ก็คือ การที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้เข้าไปช่วยทำ AI Chatbot เวอร์ชั่นเถรวาท ที่มีเอกสารเป็นหมื่นหน้า ซึ่งคล้ายกับกระบวนการทำงานของศาลที่มีเอกสารเป็นจำนวนมาก ซึ่งการสร้าง AI Chatbot สำหรับศาลปกครองสามารถทำได้ แต่ควรที่จะเริ่มจากให้บุคลากรภายในศึกษา และทดสอบให้พร้อมก่อน ถึงจะปล่อยไปสู่ประชาชน เพื่อความถูกต้องเพราะในเรื่องของคดีความค่อนข้างมีความละเอียดอ่อน นอกจากนี้ รศ. ดร.ธีรณี ยังกล่าวถึงภารกิจของ BDI ซึ่งมีทีม Research and Innovation ที่มีหน้าที่ศึกษา AI ทุกตัวให้ชำนาญและดูความเหมาะสมของ AI แต่ละตัวว่าควรนำไปใช้กับงานประเภทไหนและใช้กับฝ่ายไหนขององค์กร การเสวนาในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยสำนักงานศาลปกครองเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นและมุมมอง ในการที่นำเอาปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้งานในองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดการบริการประชาชนรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น
15 May 2025
BDI ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
15 พฤษภาคม 2568, กรุงเทพมหานคร – นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) พร้อมด้วย ศ. (พิเศษ)วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอี และ รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (BDI) และคณะหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดีอี ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)
15 May 2025
ผอ.BDI ร่วมประชุม “บอร์ด AI แห่งชาติ” นัดแรก เคาะแนวทางการขับเคลื่อน AI สร้างความพร้อมประเทศไทย ขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาระดับสูง
1 พฤษภาคม 2568, กรุงเทพฯ – นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee) ครั้งที่ 1/2568 โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี), ศ.(พิเศษ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอี พร้อมด้วย รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (BDI) และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดีอี เข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมครั้งนี้ ยังมีผู้บริหารระดับสูงจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงอุตสาหกรรม, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ ร่วมกันประชุมเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ สู่การพัฒนาประเทศไทย ทำให้เกิดการบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนและเป็นเอกภาพอย่างเหมาะสมกับบริบทด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ โดยการประชุมในครั้งแรกนี้ ได้มีการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อให้ประเทศไทยมีระบบนิเวศที่จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของภูมิภาค และสร้างการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมเตรียมจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศเพื่อบูรณาการการทำงานด้าน AI ในแต่ละสาขาร่วมกับภาคเอกชนอย่างเป็นระบบต่อไป ขอบคุณภาพจาก: ไทยคู่ฟ้า และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
1 May 2025
BDI ฝ่ายพัฒนากำลังคน เดินหน้าเสริมทักษะด้าน Data Visualization พัฒนาศักยภาพพนักงานกองสลากฯ
สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI โดย ดร.ขวัญศิริ ศิริมังคลา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมและพัฒนาการจัดการข้อมูลอาวุโส ฝ่ายพัฒนากำลังคน พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้าน Big Data & AI จัดการอบรมเชิงบรรยายและเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพพนักงานสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (P-GLO)” รุ่นที่ 2 หัวข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ ระหว่างวันที่ 18 – 19 และ 30 เมษายน 2568 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดนนทบุรี การอบรมในครั้งนี้ ฝ่ายพัฒนากำลังคน BDI ได้ออกแบบเนื้อหาครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจพื้นฐานของ Data Visualization, การเล่าเรื่องด้วยข้อมูล (Storytelling), การคิดเชิงออกแบบแดชบอร์ด (Dashboard Design Thinking), การใช้งาน Power BI ตั้งแต่ขั้นต้นไปจนถึงขั้นสูง, การเตรียมข้อมูล การทำความสะอาดข้อมูล, การสร้างรายงานแบบ Interactive ปิดท้ายด้วยกิจกรรมกลุ่มสร้างแดชบอร์ด โดยโปรแกรม Power BI และการนำเสนอแดชบอร์ด หลักสูตรดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อปูพื้นฐานความรู้ด้าน Data Visualization สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีประสบการณ์ โดยเน้นให้ผู้เข้าอบรมสามารถเข้าใจหลักการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพอย่างถูกต้อง มีทัศนคติที่ดีต่อการสื่อสารข้อมูล พร้อมทั้งสามารถเลือกใช้กราฟและสีได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเสริมทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การอ่านแดชบอร์ด และการออกแบบแดชบอร์ดให้สามารถสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในระดับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การทำงานในยุค Big Data และขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล (Data-Driven Organization) อย่างเป็นรูปธรรม
30 April 2025
BDI สานต่อความสำเร็จการจัดงาน “BDI สัญจร 2025: พลิกโฉมเมืองด้วย BIG DATA & AI” สู่ภูมิภาค เดินหน้าจัดกิจกรรม ครั้งที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่
สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) จัดงาน “BDI สัญจร 2025: พลิกโฉมเมืองด้วย BIG DATA & AI” ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดเชียงใหม่ เดินหน้าเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) พร้อมมุ่งยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวเชียงใหม่ พบกับกิจกรรมการเรียนรู้ Big Data และ AI กุญแจสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยข้อมูลและการตัดสินใจเชิงนโยบายที่แม่นยำผ่านการส่งเสริมการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ พร้อมทำความรู้จักกับภารกิจของ BDI ที่จะบูรณาการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงใหม่ในมิติต่าง ๆ ตลอดจนกิจกรรมเสวนากับผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายหัวข้อเพื่อการพัฒนาเมืองเชียงใหม่อย่างยั่งยืนด้วย Big Data และ AI และร่วมสนุกกับกิจกรรม Edutainment ที่ทั้งสนุกและเติมเต็มความรู้ เข้าร่วมงานได้ฟรี ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2568 เวลา 11.00 – 19.00 น. ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่มีความพร้อมในการประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเมืองในทุกมิติ โดยเชื่อมั่นว่าการใช้ข้อมูลอย่างเป็นระบบและแม่นยำจะช่วยให้การบริหารงานของภาครัฐมีความโปร่งใส ถูกต้อง รวดเร็วและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น “ข้อมูลจะมีคุณค่าอย่างแท้จริงเมื่อสามารถนำมาวิเคราะห์และต่อยอดเพื่อวางแผนรับมือกับความท้าทาย ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว สุขภาพ และการพัฒนาเมืองในระยะยาว จังหวัดเชียงใหม่จึงให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลในทุกระดับ เพื่อให้การตัดสินใจของหน่วยงานรัฐมีความแม่นยำ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน” ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติม สำหรับการจัดกิจกรรม BDI สัญจร 2025: พลิกโฉมเมืองด้วย Big Data และ AI ขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ จึงนับเป็นเวทีสำคัญในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคธุรกิจในการใช้ข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ พร้อมทั้งแสดงความเชื่อมั่นว่า งานครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการยกระดับการพัฒนาเมืองด้วย Big Data และ AI อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป นายแพทย์ธนกฤต จินตวร ผู้บริหารกิจการพิเศษ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ เปิดเผยว่า BDI มีภารกิจสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์จากข้อมูล ที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ มาขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในมิติต่างๆ รวมถึงบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Big Data เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกภาคส่วนสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด จึงได้กำหนดจัดงาน BDI สัญจร 2025 พลิกโฉมเมืองด้วย BIG DATA & AI เพื่อเป็นกิจกรรมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ Big Data และ ทำความรู้จักกับเทคโนโลยี AI ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม “การจัดงาน BDI สัญจร 2025 พลิกโฉมเมืองด้วย BIG DATA & AI ณ จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้เป็นการจัดงานครั้งที่ 2 หลังจากได้ผลตอบรับอย่างดีจากจังหวัดนครราชสีมา โดยจังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นศูนย์กลางของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ทั้งนี้ BDI ได้เข้ามาดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนภายในจังหวัดเชียงใหม่ ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ โครงการ อาทิ ความร่วมมือโครงการ Envi Link ของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) กับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.), สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (สวพส.), สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จากการสนับสนุนงบประมาณด้วยทุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ภายใต้การจัดการของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในช่วงเดือนมีนาคม 2567 – มิถุนายน 2568 เพื่อจัดทำ โครงการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลและต้นแบบการบูรณาการข้อมูลฝุ่น PM 2.5 โดยมีเป้าหมายในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการจัดการคุณภาพอากาศอย่างเป็นระบบ ซึ่งโครงการนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการฝุ่น PM 2.5 ด้วยการจัดเก็บเป็นบัญชีข้อมูล (Data Catalog) พร้อมทั้งให้บริการแดชบอร์ดนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลฝุ่นในหลายมิติ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือข้าม ภาคส่วน เพื่อป้องกันและลดปัญหามลพิษทางอากาศ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และในปัจจุบันอยู่ในช่วงการขยายผลอย่างต่อเนื่องโดยได้ร่วมกับทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในปี 2568 เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการลดฝุ่น PM 2.5 ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนอีกด้วย ทั้งนี้ โครงการแพลตฟอร์มบริการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับพื้นที่เมืองอัจฉริยะ หรือ Envi Link เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงข้อมูลสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ด้วยการสนับสนุนการวางแผนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม อากาศสะอาด และลดคาร์บอนฟุตพริ้นต์โดยรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 30 องค์กร มากกว่า 200 ชุดข้อมูลผ่านเว็บไซต์ https://envilink.go.th ซึ่งปัจจุบันแพลตฟอร์ม Envi Link มีผู้เข้าชมเกือบ 50,000 ครั้ง และได้พัฒนาแดชบอร์ดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมไปแล้วกว่า 15 แดชบอร์ด อาทิ แดชบอร์ดแสดงคุณภาพอากาศจากค่าฝุ่น PM2.5 ย้อนหลัง 24 ชั่วโมง, แดชบอร์ดรายงานตัวชี้วัดการจัดการปัญหาฝุ่นรายจังหวัด, แดชบอร์ดอธิบายการเปรียบเทียบพื้นที่ที่มีการขอใช้ไฟผ่านระบบ Fire-D และพื้นที่เผาไหม้จริงจากภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น นอกจากนี้ BDI ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ด้วยการนำเสนอแพลตฟอร์ม Travel Link ภายในงานประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของ ททท. ด้านดิจิทัล วิจัยและพัฒนา โดยมีผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ชุมชนท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วมกว่า 50 ราย ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวิเคราะห์และวางแผนการส่งเสริมการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศของผู้ประกอบการการท่องเที่ยว รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน และในเดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้จัดประชุมและสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านข้อมูลการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเซียงใหม่ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศด้วยการบูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการท่องเที่ยวจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลกลางในการให้บริการ เช่น ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวแห่งชาติ (National Tourism Intelligent Platform : Travel Link) เพื่อให้ผู้ใช้งานทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถเพิ่มขีดความสามารถ และสร้างโอกาสด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1 เชียงใหม่ ภายใต้โครงการ...
28 April 2025
BDI ผู้แทน DE ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ประจำปีพุทธศักราช 2568 ครั้งที่ 4
28 เมษายน 2568, กรุงเทพฯ – สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI นำโดย ดร.สุนทรีย์ ส่งเสริม รองผู้อำนวยการสถาบันฯ นพ.ธนกฤต จินตวร ผู้บริหารกิจการพิเศษสถาบันฯ และ ดร.อภิวดี ปิยธรรมรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมและประสานเครือข่าย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ BDI เป็นผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ประจำปีพุทธศักราช 2568 ครั้งที่ 4 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ทั้งนี้ พิธีดังกล่าวมหาเถรสมาคม กำหนดจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร จำนวน 12 ครั้ง
28 April 2025
Health Link เดินหน้าขยายความร่วมมือ เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในพื้นที่เชียงใหม่
25 เมษายน 2568, เชียงใหม่ – นพ.ธนกฤต จินตวร ผู้บริหารกิจการพิเศษ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI พร้อมด้วย นายชยนณัฏฐ ทะนะมูล ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ Health Link ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหารือแนวทางการขยายความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ ระหว่างหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1 เชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาววลัยรัตน์ ไชยฟู ผู้อำนวยการเขต สปสช.เขต 1 เชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 (เชียงใหม่) การหารือครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยบริการต่าง ๆ อำนวยความสะดวกในการให้บริการทางการแพทย์ และยกระดับคุณภาพการรักษาพยาบาลด้วยข้อมูลที่แม่นยำและเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย ตามแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพดิจิทัล เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงประวัติการรักษาพยาบาลของตนเองจากหน่วยบริการต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดความซ้ำซ้อนของการตรวจรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและการดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิผลภายใต้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ในวันเดียวกัน ผู้บริหารและผู้แทนโครงการ Health Link ยังได้ลงพื้นที่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าหารือกับ รศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนา เพิ่มการใช้และขยายผลการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และระบบ Health Link เพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณสุขในระดับภูมิภาค โครงการ Health Link ยังคงมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อและขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่มีระบบบริการสุขภาพอัจฉริยะอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจสมัคร Health Link ฟรีผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” หรือ “ThaID” ศึกษารายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่: https://healthlink.go.th
25 April 2025
BDI สร้างการรับรู้ต่อเนื่องให้กับผู้บริหารยุคใหม่ตระหนักรู้เกี่ยวกับ PDPA ในหลักสูตร Digital CEO #8 จัดโดย depa
25 เมษายน 2568, กรุงเทพฯ – สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI โดย ดร.สุนทรีย์ ส่งเสริม รองผู้อำนวยการสถาบันฯ บรรยายหัวข้อ PDPA In Action ร่วมเป็นวิทยากรในหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 8 จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ณ อาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 4 เพื่อเปิดมุมมองผู้บริหารยุคใหม่ให้ขับเคลื่อนองค์กรก้าวทันอนาคตดิจิทัลที่ท้าท้ายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดร.สุนทรีย์ กล่าวว่า การตระหนักรู้และเข้าใจหลักการพื้นฐานของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกองค์กรที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น เพื่อให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามได้สอดคล้องกับกฎหมาย มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสมกับบริบท สร้างความเชื่อมั่นและยกระดับการบริการให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลต้องเป็นกลไกหลักในการชี้นำให้เกิดการใช้ข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ปลอดภัย หลักสูตรดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับโลกยุคปัจจุบันและอนาคต เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลักสูตรนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มาร่วมบรรยายพิเศษพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าอบรมอย่างใกล้ชิด รวมถึงได้ถอดแบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการศึกษาดูงานองค์กรต้นแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำนโยบายและแผนขับเคลื่อนองค์กรในอนาคตอย่างครบทุกมิติต่อไป
25 April 2025
ผอ.BDI โชว์ 3 ภารกิจหลัก ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ “Data-Driven Nation” ด้วยผู้เชี่ยวชาญด้าน Big Data & AI ที่มีมากกว่า 80% ขององค์กร
25 เมษายน 2568, กรุงเทพฯ – สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI โดย รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ร่วมบรรยายหัวข้อ “Making Thailand A Data-Driven Nation” ในงานสัมมนา “Navigating Thailand’s Sustainable Digital Future” ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก จัดโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ในฐานะที่ปรึกษาในการดำเนินโครงการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย (Driving a Nation Towards World Digital Competitiveness) ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และความเข้าใจ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันด้านดิจิทัล (WDCR) ของประเทศ รศ. ดร.ธีรณี กล่าวว่า BDI เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ดำเนินงานด้วยวิสัยทัศน์ “Data-Driven Nation” โดยมีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนประเทศด้วยการเชื่อมโยง วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ผ่าน 3 ภารกิจหลัก ประกอบด้วย 1. B.I.G.: Big Data Integration and Governance ประสานและเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงวิเคราะห์ รวมทั้งให้บริการการวิเคราะห์ข้อมูลตามโจทย์ความต้องการของหน่วยรับบริการ โดยกว่า 80% ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดเป็น Data Scientist, Data Engineer และ AI Engineer จะขับเคลื่อนภารกิจนี้เป็นหลัก ซึ่งเป้าหมายแรกของปี 2568 คือ การพัฒนา National Big Data Platform รวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลของภาครัฐเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการออกแบบนโยบายของภาครัฐ โดย BDI ทำหน้าที่สร้าง “ถนน” สำหรับข้อมูล เพื่อให้บริการเมื่อหน่วยงานใดต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถ “เปิดประตู” เพื่อดึงข้อมูลออกมาใช้ตามสิทธิ์ที่กำหนด 2. BRIDGE เชื่อมโยงผู้ประกอบการเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านข้อมูล เป้าหมายที่สองของปี 2568 คือ การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วย Open Source AI เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะภาครัฐควรมีแพลตฟอร์ม AI แบบโอเพนซอร์สของตัวเอง ผ่านโครงการพัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model) สำหรับภาษาไทย (ThaiLLM) เพราะเชื่อว่าการพัฒนาโมเดล AI ควรคำนึงถึงอธิปไตยทางข้อมูล หากประเทศไทยต้องการ Chatbot อัจฉริยะหรือระบบ Smart Search ที่เหมาะสมกับคนไทย เราจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่สะท้อนถึงภาษา วัฒนธรรม และภูมิภาคของไทย รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนเริ่มต้นเพื่อให้สามารถเปิดเป็นโอเพนซอร์ส ทำให้ธุรกิจ SME และ Startup สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้โดยมีต้นทุนที่ต่ำลง และ 3. BUILD พัฒนาทักษะความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล เป้าหมายที่สามของปี 2568 ด้วยการสร้างหลักสูตรที่สามารถเรียนรู้ได้แบบออนไลน์ผ่าน Micro-Credential เพราะ AI ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะของวิศวกรคอมพิวเตอร์อีกต่อไป หลายมหาวิทยาลัยเริ่มเปิดคณะปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรองรับนักศึกษาจากหลากหลายสาขา ทาง BDI จึงทำงานร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างหลักสูตรพื้นฐานร่วมกัน สามารถนำไปประกอบเป็นหลักสูตรเฉพาะสำหรับอาชีพต่าง ๆ ได้ เพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรด้าน AI และ Data Science เสริมแกร่งให้กับประเทศไทยต่อไป
25 April 2025