ทีมบุคลากรสำหรับการธรรมาภิบาลข้อมูล

ทีมบุคลากรสำหรับการธรรมาภิบาลข้อมูล

25 ธันวาคม 2563

ว่ากันว่า “Data Governance เป็นงานของ IT” ความจริงแล้วเป็นเช่นไร?

ในปัจจุบันที่เราต้องทำงานกับข้อมูลจำนวนมากขึ้น หรือบางองค์กรมีเป้าหมายใหม่ ๆ ซึ่งมีวลีเท่ ๆ ว่า “…สู่การเป็น Data Driven Organization…” แต่คนที่ทำงานกับข้อมูลก็ยังคงประสบปัญหาคลาสสิก เช่น ข้อมูลที่ฉันต้องการอยู่ที่ไหน? ฉันรู้ เพื่อนฉันรู้ ทุกคนรู้ ว่าอยู่ในองค์กรเรานี่แหละ แต่อยู่ไหน? หรือการใช้เวลาเป็นวัน ๆ เพื่อจัดการทำความสะอาดข้อมูลให้พร้อมใช้ทำรายงานเพียง 1 หน้า ด้วยสาเหตุเหล่านี้ ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเริ่มทำ Data Governance หรือ การธรรมาภิบาลข้อมูล ซึ่งก็คือการกำกับดูแลข้อมูลให้มีความถูกต้อง มีความสมบูรณ์ มีความทันสมัย และได้มาตรฐาน

ก้าวแรกในการทำ Data Governance คือการจัดทำ Data Policy ซึ่งต้องอาศัยกลุ่มคนที่จัดตั้งขึ้นมารับผิดชอบงานนี้โดยเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่า Data Team เราอาจเคยได้ชื่อตำแหน่งเหล่านี้ Chief Data Officer, Data Steward, Data Custodian, Data Stakeholder, Data Owner, Data Creator, System Analyst และอื่นๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสำนักที่ออกแบบ Framework ของ Data Governance แต่หากให้จัดกลุ่มคนตามบทบาทและหน้าที่แล้ว จะได้ 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ Data Committee, Data Steward, และ Data Custodian เรามาทำความรู้จักกับคนสามกลุ่มนี้กันครับ

1. Data Committee

คนกลุ่มนี้สำคัญที่สุด คณะทำงานประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เช่น Chief Executive Officer, Chief Information Officer, Chief Data Officer, และ Chief Security Officer ที่จะนั่งหัวโต๊ะและฟันธงเรื่องต่าง ๆ โดยมีคนอีกกลุ่มคือ ผู้ที่ใช้ข้อมูลและมีส่วนได้ส่วนเสียกับข้อมูล เช่น Data Stakeholders, Data Owners, และ Data Users ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่รู้เรื่องข้อมูลดีที่สุด เพราะเป็นผู้ที่คลุกคลีกับข้อมูลมาโดยตลอดจึงทราบปัญหาและความต้องการของการใช้ข้อมูลภายในองค์กรเป็นอย่างดี

บทบาทหน้าที่สำคัญ

  1. ตัดสินใจเชิงนโยบายต่าง ๆ เช่น วิสัยทัศน์, แนวทางการทำงาน, ระเบียบข้อบังคับ, และ ลำดับความสำคัญ เป็นต้น
  2. เป็นผู้มีอำนาจชี้ขาดสูงสุดในเรื่องต่าง ๆ ของการทำ Data Governance
  3. บริหารจัดการ และให้การสนับสนุน รวมถึงให้ความต้องการต่าง ๆ แก่ ทีม Data Steward และ ทีม Data Custodian

2. Data Stewards

คนกลุ่มนี้เป็นการรวมตัวของ Stakeholders หรือ Key Users จากแผนกต่าง ๆ ในองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจากฝั่งธุรกิจขององค์กร และมีความเข้าใจพื้นฐานด้าน IT อยู่บ้าง คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่กำหนดและกำกับนโยบายต่างๆเกี่ยวกับข้อมูล เช่น มาตรฐาน, คุณภาพ, ความปลอดภัย, และ สิทธิการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น รวมถึงการเลือกโจทย์การใช้ข้อมูลที่เหมาะสม และการกำหนดชุดข้อมูลขององค์กร ซึ่งเป้าหมายสำคัญของการทำงานโดยคนกลุ่มนี้ในภาพรวมคือ การทำข้อมูลในองค์กรให้มีคุณภาพ

บทบาทหน้าที่สำคัญ

  1. กำหนดและกำกับนโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูล
  2. ติดตามการทำงาน ตรวจสอบ และรายงานผลไปยัง Data Committee
  3. ขจัดความคลุมเครือและสร้างความชัดเจนของ ความหมาย และนิยามต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูล
  4. เผยแพร่และบังคับใช้นโยบาย ข้อกำหนด ระเบียบและวิธีการต่าง ๆ ภายในองค์กร

3.Data Custodians

คนกลุ่มนี้คือคน IT ซึ่งจะเข้ามาเมื่อ Data Stewards กำหนดนโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลแล้ว บางสำนักเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Technical Data Stewards ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร สิ่งที่คนเหล่านี้ทำคือ กำกับนโยบายต่าง ๆ ด้วยระบบ IT หรือระบบสารสนเทศ เพื่อให้นโยบายของ Data Stewards ทำงานได้ในเชิงเทคนิค ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพการทำงานของคนสองกลุ่มนี้ได้ชัดเจนขึ้น Data Stewards เป็นผู้กำหนดว่าองค์กรควรมีข้อมูลอะไร ข้อมูลอะไรควรถูกเก็บลงฐานข้อมูลบ้างและใครสามารถแก้ไขได้บ้าง เมื่อกำหนดเสร็จสิ้นแล้ว Data Custodians จะเป็นผู้ออกแบบฐานข้อมูล กำหนดโครงสร้างฐานข้อมูล รวมถึงกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม

บทบาทหน้าที่สำคัญ

  1. ทำงานร่วมกับทีม Data Stewards
  2. กำกับระบบ IT ให้สอดรับนโยบายที่กำหนดโดย Data Stewards
  3. ดูแลการจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย การใช้งาน และการปกป้องคุ้มครองข้อมูลด้วยระบบ IT

Data Governance เป็นเรื่องที่คนทั้งองค์กรต้องร่วมมือกัน

ข้อมูล หรือ Data นับเป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร ทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในการกำกับดูแลทรัพยากรนี้ ความสนับสนุนและความใส่ใจของผู้บริหารระดับสูงในองค์กรนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้การทำ Data Governance ในองค์กรประสบความสำเร็จ และเมื่อมีนโยบายและข้อกำหนดด้านข้อมูลแล้ว ทุกคนในองค์กรก็ควรถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด สุดท้ายนี้เราคงตอบได้แล้วว่าคำเล่าลือที่ว่า “Data Governance เป็นงานของ IT” นั้น สรุปแล้วจริงหรือไม่


References

  1. รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล, 2020, “Data Governance [ตอนที่ 1] – กรอบธรรมาภิบาลข้อมูล” ,https://www.youtube.com/watch?v=2DgVIaiC87w
  2. รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล, 2020, “Data Governance [ตอนที่ 3] – การให้บริการข้อมูลและการกำกับดูแลข้อมูล” ,https://www.youtube.com/watch?v=cTvnbM0nKsU
  3. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล, 2563, “Data Governance Framework กรอบการกำกับดูแลข้อมูล เวอร์ชัน 1.0
  4. Data steward, https://en.wikipedia.org/wiki/Data_steward
  5. Data custodian, https://en.wikipedia.org/wiki/Data_custodian

Photos

  1. Photo by Austin Distel on Unsplash
  2. Photo by Christina @ wocintechchat.com on Unsplash
  3. Photo by Hannah Busing on Unsplash

Partnership Specialist
Big Data Institute (Public Organization), BDI

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.