เทคโนโลยี Remote Sensing (Geospatial Big Data) กับงานประยุกต์ด้านต่าง ๆ

เทคโนโลยี Remote Sensing (Geospatial Big Data) กับงานประยุกต์ด้านต่าง ๆ

29 มิถุนายน 2565
เทคโนโลยี Remote Sensing (Geospatial Big Data) กับงานประยุกต์ด้านต่าง ๆ
เทคโนโลยี Remote Sensing (Geospatial Big Data) กับงานประยุกต์ด้านต่าง ๆ

Remote Sensing หรือ การสำรวจระยะไกล เป็นกระบวนการในการตรวจจับและตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของพื้นที่โดยการวัดรังสีที่สะท้อน และที่ปล่อยออกมาจากระยะไกล (โดยทั่วไปมาจากดาวเทียมเครื่องบิน หรือ Drone) กล้องที่มีคุณสมบัติพิเศษจะทำการถ่ายภาพจากระยะไกล ซึ่งช่วยให้เราทราบสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกได้ เพราะกล้องบนดาวเทียม สามารถถ่ายภาพพื้นที่บริเวณกว้าง ทำให้มองเห็นอะไรได้มากกว่าการยืนอยู่บนพื้น

และนี่คือตัวอย่างของการนำข้อมูลภาพดาวเทียมไปใช้ในงานประยุกต์ต่าง ๆ เช่น

  • ติดตามไฟป่า ข้อมูลภาพดาวเทียม ทำให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้บริหารจัดการพื้นที่บริเวณกว้างได้
  • ติดตามเมฆ เพื่อช่วยทำนายสภาพอากาศ หรือ ใช้กับระบบแจ้งเตือนเมื่อเกิดพายุ
  • บริหารจัดการสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ติดตามการเติบโตของเมือง
  • ติดตามการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่การเกษตร พื้นที่ป่าไม้ ในช่วงหลาย ๆ ทศวรรษ
  • การทำแผนที่ภูมิประเทศ เช่น เทือกเขา เหว ที่ราบ มหาสมุทร
  • ฯลฯ

กล้องที่มีคุณสมบัติพิเศษบนดาวเทียม จะทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณลักษณะแตกต่างไปจากกล้องถ่ายภาพธรรมดาที่เราใช้กันทั่วไป หากพูดถึงกล้องถ่ายภาพปกติ จะให้ข้อมูลจำนวน 3 แบนด์ (Red, Green, Blue) และ โดยปกติข้อมูลจะถูกบีบอัดและจัดเก็บในรูปแบบบิต (8-14 บิตขึ้นอยู่กับสเปคของกล้อง) ในแต่ละแบนด์ แต่หากพิจารณาข้อมูลดาวเทียม จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไป มีความพิเศษมากกว่า เนื่องจากเป็นการถ่ายภาพจากระยะไกล ทำให้ต้องเอาชนะทั้งในเรื่องของ ระยะทาง และ สิ่งรบกวนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศ ในการเลือกข้อมูลจากดาวเทียมไปใช้งานประยุกต์ สามารถพิจารณาจากเรื่องพื้นฐานอันหนึ่ง คือ Resolutions หรือ ความละเอียด นั่นเอง สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทได้แก่ Spatial, Spectral, Radiometric และ Temporal

1. Spatial Resolution (ความละเอียดเชิงพื้นที่)
จะเป็นอันที่ เราคุ้นเคยมากที่สุด เช่น ความละเอียดเชิงพื้นที่ 10 meters (m) หมายถึง ข้อมูลนั้น แสดงวัตถุขนาด 10 x 10 sq.m. ด้วย 1 จุดภาพ (Pixel) หรือ หากเปรียบเทียบกับข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่ความละเอียดเชิงพื้นที่ 1 m. ก็จะเป็นข้อมูลที่ละเอียดมากกว่า เมื่อเทียบกับ 10 m.

Spatial Resolution ที่แตกต่างกัน High (ซ้าย) Medium (กลาง) Low (ขวา) (GIS Geography, 2022)

ตัวอย่าง ข้อมูลที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่สูง (50 cm) นำมาใช้ในงานเกี่ยวกับด้านความมั่นคง ที่ต้องการเห็นรายละเอียดของวัตถุ เช่น เครื่องบินรบ รถยนต์ของผู้ก่อการร้าย

2. Spectral Resolution (ความละเอียดเชิงสเปคตรัม)
คือ ช่วงความยาวคลื่นที่ข้อมูลแต่ละชุดสามารถบ่งบอกได้ หรือ จำนวนแบนด์ของข้อมูลนั่นเอง เช่น มีแบนด์ NIR, Red, Green, Blue เรียกว่า Multi-Spectral หรือ มีแบนด์เป็นจำนวนหลักร้อย เรียกว่า Hyper-Spectral

Spectral Resolution (GIS Geography, 2022)

เหตุผลที่กล้องบนดาวเทียมมีจำนวนแบนด์มากกว่ากล้องถ่ายภาพปกติ เนื่องจากระยะทางที่ไกล และ หากต้องการตรวจจับวัตถุบนพื้นโลก เช่น พื้นที่เกษตรกรรม กับ มหาสมุทร การมีหลายแบนด์ทำให้สามารถสร้าง Signature ของวัตถุต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

3. Radiometric Resolution (ความละเอียดเชิงรังสี)
คือ ความละเอียดของข้อมูลดาวเทียม ที่แบ่งระดับการแยกแยะความเข้ม ในแต่ละแบนด์ ตัวอย่างของรูปภาพจากกล้องปกติ คือ ข้อมูล 8 บิต แสดงค่าที่แตกต่างได้ 2^8 = 256 ระดับ สำหรับข้อมูลดาวเทียม เช่น Landsat 8 อาจมีข้อมูลแบบ 16 บิต แสดงค่าได้ 2^16 = 65,536 ระดับ ในกรณีนี้ จำนวนบิตที่มาก จะแยกแยะความเข้มได้ละเอียดมากกว่านั่นเอง

4. Temporal Resolution (ความละเอียดเชิงเวลา)
ข้อมูลภาพดาวเทียม จะถูกถ่าย ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ค่า Temporal Resolution จะเป็นการวัดช่วงเวลาที่จะได้ข้อมูลพื้นที่บริเวณเดิมอีกครั้ง บางครั้ง เรียกว่า “Return time” หรือ “Revisit time” เป็นเวลาที่ Satellite นั้น สามารถโคจรกลับมาถ่ายภาพ ณ บริเวณเดิมได้

Revisit Period (Credit: Patrik Mandelin)

พิจารณาข้อมูล Satellite อันหนึ่ง ซึ่งมีข้อมูลทุก 16 วัน เปรียบเทียบกับข้อมูลอีกชุดหนึ่ง มีข้อมูลทุก ๆ วัน ข้อมูลชุดที่มีทุกวัน จะมีความละเอียดเชิงเวลาที่มากกว่า

หากมีความเข้าใจเรื่องพื้นฐานเหล่านี้แล้ว เราก็สามารถเลือกใช้ข้อมูล ในแต่ละงานประยุกต์ได้อย่างเหมาะสม เช่น เหตุการณ์น้ำท่วม ที่ต้องบริหารจัดการแบบรายวัน ก็เลือกข้อมูลดาวเทียมที่มีความละเอียดรายวัน การประเมินพื้นที่ป่าไม้ที่หายไป ซึ่งดูการเปลี่ยนแปลงในรอบหลาย ๆ สิบปี ก็ไม่ต้องการความละเอียดเชิงเวลา และ พื้นที่ สูงมากนัก เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าในแง่ของข้อมูล ถือได้ว่าเป็น (Geospatial) Big Data อันหนึ่ง ในปัจจุบันมีงานวิจัยเกี่ยวกับ Remote Sensing โดยใช้ Machine Learning หรือ Deep Learning Algorithms [3] เป็นจำนวนมาก และ มีข้อมูล Open Data ที่นิยมใช้อย่างเช่น Landsat, MODIS, Sentinel, ฯลฯ [4]

ข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.usgs.gov/faqs/what-remote-sensing-and-what-it-used#:~:text=Remote%20sensing%20is%20the%20process,sense%22%20things%20about%20the%20Earth.
  2. https://gisgeography.com/spatial-resolution-vs-spectral-resolution/
  3. Deep learning in remote sensing applications: A meta-analysis and review by Lei Ma et al. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0924271619301108
  4. 15 Free Satellite Imagery Data Sources by GISGeography https://gisgeography.com/free-satellite-imagery-data-list/
  5. หน่วยงานภาครัฐของไทย www.gistda.or.th

เนื้อหาโดย ดร.นรุตม์ สุนทรานนท์
ตรวจทานและปรับปรุงโดย นววิทย์ พงศ์อนันต์

Narut Soontranon
Senior Data Science Manager in Retail Industry
Page's admin of Nerd (@nerd.data)

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.