ตัวอย่างในการนำ NLP มาใช้เพื่อธุรกิจด้านต่าง ๆ

ตัวอย่างในการนำ NLP มาใช้เพื่อธุรกิจด้านต่าง ๆ

19 มีนาคม 2568

ในยุคดิจิทัลนี้ธุรกิจต่างก็มีการปรับตัวนำ AI เข้ามาใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการป้อนคำสั่งให้ AI วิเคราะห์ ตีความ และประมวลผลเพื่อสร้างข้อมูลใหม่ขึ้นมา ซึ่งความสามารถของ AI ก็เป็นผลมาจากการถูกฝึกฝน โดยการใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติ หรือ NLP เพื่อให้โมเดลภาษาเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ และนำไปสร้างผลลัพธ์ให้เหมือนมนุษย์มากที่สุด การรู้จัก NLP จึงเป็นรากฐานให้เราสามารถนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้

NLP หรือ Natural Language Processing คือศาสตร์แขนงหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มุ่งเน้นให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ ประมวลผล และตีความภาษาของมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ถูกพัฒนาขึ้นมาให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจภาษาที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวัน และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ออกมาได้เหมือนกับภาษาที่มนุษย์ใช้ 

แล้ว NLP ทำอะไรได้บ้าง? 

NLP ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาของมนุษย์ได้หลากหลาย เช่น

  • การวิเคราะห์ข้อความ
  • การวิเคราะห์ความรู้สึก ตรวจจับอารมณ์และความคิดเห็นในข้อความ เช่น ความคิดเห็นของลูกค้าต่อสินค้าหรือบริการ
  • การสรุปข้อความ สรุปเนื้อหาสำคัญของบทความหรือเอกสารยาว ๆ
  • การจัดหมวดหมู่ข้อความ จัดกลุ่มข้อความตามหัวข้อหรือประเภท
  • การสร้างข้อความ
  • การแปลภาษา แปลข้อความจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง
  • การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ สร้างบทความ คำบรรยายสินค้า หรืออีเมล
  • Chatbots สร้างโปรแกรมที่สามารถสนทนากับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
  • การเข้าใจภาษาพูด
  • การรู้จำเสียงพูด แปลงเสียงพูดเป็นข้อความ
  • การเข้าใจภาษาพูด เข้าใจความหมายของคำพูดและวลีต่าง ๆ

การนำ NLP มาใช้ในการทำธุรกิจ

ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง NLP กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจในหลากหลายด้าน โดยสามารถนำ NLP มาใช้งานได้หลายอย่างผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งในมุมของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การบริการลูกค้า และการเก็บข้อมูลเชิงลึก ซึ่งในส่วนนี้จะยกตัวอย่างการนำ NLP ไปใช้ในธุรกิจ 5 ด้านด้วยกันดังนี้

  1. ด้านการบริการ
  • ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant) 

NLP จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสมือน โดยการแก้ไขปัญหาหรือสนับสนุนการทำงานให้กับผู้ใช้โดยตรง เช่น การนำ Chatbots มาใช้ตอบคำถามและช่วยเหลือลูกค้าผ่านเว็บไซต์

  • การวิเคราะห์ความรู้สึก (Sentiment Analysis) 

NLP จะช่วยวิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้าผ่านข้อความที่ส่งเข้ามาหาองค์กร โดยการประเมินอารมณ์ว่าเป็นเชิงบวก เชิงลบ หรือเป็นกลาง เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

  1. ด้านการตลาด
  • การวิเคราะห์โซเชียลมีเดีย (Social Media Analysis)

NLP จะช่วยวิเคราะห์การกล่าวถึงแบรนด์บนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าลูกค้ามีความรู้สึกต่อผลิตภัณฑ์และแบรนด์อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นเชิงบวก เชิงลบ หรือเป็นกลาง

  • การแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation)

NLP จะช่วยวิเคราะห์พฤติกรรม ความต้องการ และลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย เพื่อนำมาสร้างกลุ่มลูกค้าตัวอย่าง และนำข้อมูลที่ได้ไปออกแบบการสื่อสารและพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการ

  1. ด้านการสื่อสาร
  • การสร้างเนื้อหา (Content Creation) 

ธุรกิจสามารถนำ NLP ไปใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเนื้อหา ผ่านการป้อนคำสั่งให้โมเดล AI เขียนบทความ คำโฆษณา สร้างรูปภาพ หรือคลิปวิดีโอให้มีความน่าสนใจ และสามารถนำไปใช้งานได้ต่อได้

  • การคัดกรองเนื้อหา (Content Moderation) 

NLP จะทำหน้าที่เป็นระบบคัดกรองเนื้อหา โดยการตรวจจับและระบุว่าเนื้อหาไหนบนแพลตฟอร์มมีความไม่เหมาะสม เช่น มีความรุนแรง หรือมีการใช้คำไม่สุภาพ เพื่อลบเนื้อหาดังกล่าวออกจากแพลตฟอร์มโดยอัตโนมัติ

  1. ด้านการดำเนินงาน
  • การสกัดข้อมูล (Data Extraction) 

NLP จะถูกนำไปใช้ในการดึงข้อมูลสำคัญมาจากแหล่งข้อมูล เช่น เอกสารรายงาน หรือฐานข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การวิเคราะห์ข้อมูล

  • การจัดการอีเมล (Email Management) 

NLP ช่วยแยกประเภทและจัดลำดับความสำคัญของอีเมลแต่ละฉบับให้กับผู้ใช้งาน เช่น การจัดกลุ่มอีเมลตามประเภท เช่น งานด่วน คำร้องเรียน หรือคำถามทั่วไป

  1. ด้านทรัพยากรมนุษย์
  • การวิเคราะห์เรซูเม่ (Resume Parsing) 

NLP จะดึงข้อมูลสำคัญที่ HR ต้องการจาก Resume ของผู้สมัคร เช่น ทักษะ ประสบการณ์ และระดับการศึกษา เพื่อดูว่ามีคุณสมบัติตรงกับความต้องการหรือไม่ ช่วยลดเวลาการตรวจสอบเอกสารของ HR และเพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกเบื้องต้น

  • การจับคู่ผู้สมัครกับตำแหน่งงาน (Candidate Matching) 

NLP จะทำหน้าที่วิเคราะห์และจับคู่คุณสมบัติของผู้สมัครงานกับความต้องการในประกาศรับสมัครงาน เช่น ทักษะที่จำเป็นหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกรองผู้สมัครที่ความเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนั้น ๆ

เราจะเห็นว่าการทำงานของ AI ที่เราใช้งานกัน มีรากฐานสำคัญมาจากเทคโนโลยี NLP ที่มีส่วนช่วยให้คอมพิวเตอร์และโมเดลภาษาสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจภาษาของมนุษย์ จนถูกนำไปใช้งานในธุรกิจหลายด้าน ดังนั้นหากองค์กรเข้าใจหลักการทำงานของ NLP ก็จะสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาการดำเนินงานของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นได้

แหล่งอ้างอิง

https://www.ibm.com/think/topics/natural-language-processing
https://www.stackadapt.com/resources/blog/natural-language-processing-in-marketing

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.