AI กับการอ่านสัญญาณสมองมนุษย์

AI กับการอ่านสัญญาณสมองมนุษย์

24 November 2022
AI คืออะไร

เมื่อพูดถึงเซลล์ประสาท หลายคนอาจนึกถึง Neural Network ที่เป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยี AI ในปัจจุบัน แต่บทความนี้ ผมอยากพูดถึงเซลล์ประสาทจริง ๆ ที่อยู่ในสมอง เมื่อเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์ส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันก็จะเกิดสนามไฟฟ้าขึ้นในสมอง และถ้ากิจกรรมในสมองนั้นมีมากพอ สนามไฟฟ้านี้ก็จะเข้มมากพอที่จะพอส่งผ่านกะโหลกศีรษะเข้ามาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ ที่บริเวณศีรษะของเราครับ ซึ่งสัญญาณนี้ถูกค้นพบครั้งแรกตั้งแต่ปี 1929 ด้วยความบังเอิญ แต่ต้องใช้เวลาหลายสิบปีกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจมันจริง ๆ ครับ เป็นศาสตร์ที่เรียกว่า การวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือ Electroencephalogram (EEG) ( AI คืออะไร )

ศาสตร์แห่งการอ่านคลื่นสมอง

เนื่องจากสมองเป็นศูนย์กลางการประมวลผลหลาย ๆ อย่างของมนุษย์ ตั้งแต่การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ไปจนถึงการคิดว่าคืนนี้จะกินข้าวอะไรกับใครดีนะ สัญญาณที่อ่านได้จากสมองเลยน่าสนใจเพราะมันอาจจะสื่อความหมายอะไรบางอย่าง หรือบางที คอมพิวเตอร์อาจจะเข้าใจมนุษย์ได้เลยโดยที่มนุษย์ไม่ต้องสั่งการอะไร เพียงแต่คอมพิวเตอร์อ่านสัญญาณสมองโดยตรง จนเกิดเป็นสาขาที่เรียกว่า Brain-Computer Interface (BCI)

แต่อย่าเพิ่งคาดหวังว่าคอมพิวเตอร์จะ “รู้ใจ” เราไปทั้งหมดนะครับ การศึกษาในสาขานี้ยังถือว่าใหม่มาก และคอมพิวเตอร์ยังไม่ได้เก่งขนาดนั้น ถามว่าศาสตร์นี้พัฒนาไปถึงไหนแล้ว ต้องเริ่มอธิบายก่อนครับว่า งานวิจัยสายนี้แบ่งออกเป็น 3 สาขาย่อย

สาขาแรกคือ การอ่านสัญญาณที่เกิดจากมนุษย์ “สั่งการ” หรือที่เรียกว่า Active BCI โดยมนุษย์นั้นแค่เราคิดว่าเราอยากจะขยับแขนซ้าย แค่เราคิด แต่ไม่ได้ขยับจริง ๆ คลื่นสมองก็เข้มพอที่คอมพิวเตอร์จะอ่านได้ครับ และเริ่มประสบความสำเร็จเมื่อนักวิจัยสามารถสร้างเครื่องอ่านจนผู้พิการสามารถเคลื่อนย้ายรถเข็นได้ตามใจด้วยการ “นึกคิด” การขยับแขนซ้ายขวา

สาขาที่สอง เกิดจากที่นักวิจัยเริ่มพบว่า ถ้าเรามองภาพที่กระพริบด้วยความถี่หนึ่ง เช่น 10 ครั้งต่อวินาที คลื่นสมองบางส่วน เช่น ส่วนหลังก็จะกระพริบ 10 วินาทีด้วย ถ้าเราทำให้ตัวอักษร A-Z กระพริบด้วยความถี่แตกต่างกัน บางที เราอาจให้ผู้พิการเลือกมองตัวหนังสือหนึ่งแล้วเราก็มาอ่านจากสัญญาณสมอง ก็พอรู้แล้วว่าผู้พิการอยากจะพิมพ์ตัวหนังสือไหน ซึ่งแบบนี้ผู้พิการจะสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบแรกครับ เป็นการเชื่อมต่อกับสมองด้วยระบบ “ตอบสนอง” กับสิ่งเร้า เลยเรียกว่า Reactive BCI

สาขาสุดท้ายนี่พิเศษหน่อย และไม่เหมือนสองสาขาแรกคือ ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเลย แค่นั่งเฉย ๆ ไม่ต้องสั่งการหรือดูตัวหนังสืออะไร คอมพิวเตอร์ก็จะพยายามอ่านข้อมูลจากสมองโดยตรง ถามว่าคอมพิวเตอร์อ่านอะไรได้บ้าง คงไม่ถึงกับถอดรหัสความคิดแน่นอนครับ เพราะสัญญาณส่วนนั้นอยู่ลึกมากในสมอง แต่ที่เครื่องจะพออ่านได้คือ “อารมณ์” “ความรู้สึก” “ความเครียด” ที่สัญญาณมีมากพอที่จะหวัดได้ที่หนังศีรษะ ด้วยความที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเลย เลยเป็นสาขาที่เรียกว่า Passive BCI ซึ่งสาขานี้เป็นเป็นสาขาที่มาแรง และเราจะมาพูดถึงเรื่องนี้ในบทความนี้กันครับ

ทำนายอารมณ์จากคลื่นสมอง

สมองคนเราทำงานสอดประสานกันหลายส่วน การจะเข้าใจสมองเลยต้องมีขั้วไฟฟ้าวางไว้ที่หลายตำแหน่งบนศีรษะ นอกจากนี้เซลล์ประสาทยังสื่อสารกันเร็วมาก เราเลยต้องมีเครื่องมือวัดที่มีความถี่สูง ถึงจะสามารถจับสัญญาณทันได้ เมื่อรวมกันแล้ว สัญญาณคลื่นสมองเลยเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่เข้าใจยาก นอกจากนี้แล้วยังอาจถูกรบกวนจากคลื่นรอบข้างได้ง่ายอีกด้วย

แต่การพัฒนาของ AI นั้นทำให้มนุษย์ศึกษาและถอดรหัสคลื่นสมองได้เก่งมากขึ้นครับ โดยมหาวิทยาลัยโอซาก้าได้ใช้ Machine Learning ในการอ่านคลื่นสมองในขณะที่คนเราฟังเพลง และพยายามจะทำนายว่าคนฟังรู้สึกอย่างไรกับเพลงนี้ ชอบหรือไม่ชอบ ผ่อนคลายหรือเร้าใจ ด้วยความแม่นยำระดับ 80% ครับ

เพราะจริง ๆ แล้วนั้น บางทีเราอาจจะไม่รู้ความรู้สึกตัวเองจริง ๆ ก็เป็นได้ อย่างเช่นเวลาเราฟังเพลง เราไม่รู้หรอกว่าเรารู้สึกอย่างไร บางที ฟังเพลงเศร้า เราอาจจะมีความสุขก็ได้ หรือบางทีฟังเพลงสนุก ๆ แต่เราไม่ชอบเพลงเร็ว ก็อาจจะทำให้หงุดหงิดได้ครับ แต่สิ่งนึงที่เรารู้คือคลื่นสมองไม่ได้โกหกเรา ว่าคนฟังชอบเพลงนี้จริง ๆ หรือไม่ เพราะฉะนั้นโมเดลที่ทำนายได้เก่ง ก็จะสามารถเข้าใจคนคนนั้นได้มากกว่าตัวเขาเองด้วยซ้ำ

เสียงเพลงจากสมอง

ทีมวิจัยจากโอซาก้าต่อยอดการวิจัยด้วยการทดลองที่ให้ผู้ฟังมานั่งฟังเพลงสัก 10 เพลง พร้อมกับอ่านคลื่นสมอง แล้วดูว่าเพลงไหนบ้างที่คนฟังฟังแล้ว(โมเดลทำนายว่า)ชอบ หลังจากนั้นก็จะใช้ Genetic Algorithm แต่งเพลงใหม่ในสไตล์ของตัวเองตามเซ็ตเพลงที่ชื่นชอบนั้น กลายเป็นเพลงประจำตัวที่ไม่เหมือนใครด้วยครับ [1]

AI คืออะไร

งานวิจัยด้านการอ่านอารมณ์จากคลื่นสมองไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ แต่จุดที่น่าสนใจของของกลุ่­มนี้คือ เครื่องวัดคลื่นสมองที่เป็นแบบ “สวมใส่ได้” (Wearable) สะดวกสบาย ไม่เหมือนกับเครื่อง EEG ที่เราเห็นตามโรงพยาบาลที่มีสายพะรุงพะรังครับ เพราะเวลาเราฟังเพลง เราคงอยากฟังแบบ “ไร้สาย” และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ซึ่งเครื่อง Wearable EEG นี้เป็นความร่วมมือวิจัยกับบริษัท imec ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ครับ โดยอุปกรณ์นี้จะช่วยลดระยะเวลาการติดตั้งเครื่องมือ และยังทำให้ใช้งานสะดวกอีกด้วย [2]

AI คืออะไร

ทีมวิจัยกำลังพัฒนา AI ต่อไปเพื่อให้อ่านอารมณ์ได้แม่นยำมากขึ้น และการใช้งานเป็นธรรมชาติมากขึ้น สักวันหนึ่ง เราอาจจะเห็นเครื่องมือนี้วางขายในท้องตลาด เพื่อบันทึกอารมณ์รายชั่วโมง บันทึกความเครียดรายวัน หรือสภาพจิตรายสัปดาห์ เพื่อให้เราวางแผนจัดการชีวิตและอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้นต่อ ๆ ไป หรือเราอาจจะนำ AI มาใช้เป็นตัวช่วยในการปรับอารมณ์ โดย AI จะแต่งเพลงเฉพาะที่อาจจะอารมณ์ดีขึ้นก็ได้นะครับ เพราะ AI รู้จักเรามากขึ้นจากการอ่านสัญญาณสมองของเราแล้ว ( AI คืออะไร )

เนื้อหาโดย ดร.นัฐพงศ์ ธรรมสาร
ตรวจทานและปรับปรุงโดย ปพจน์ ธรรมเจริญพร

Nattapong Thammasan, PhD

Data Scientist at imec

Former-Editor-in-Chief at BigData.go.th and Senior Data Scientist at Government Big Data Institute (GBDi )

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.