12 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ ในปี 2022

12 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ ในปี 2022

24 ธันวาคม 2564

ใกล้จะสิ้นปี 2021 กันแล้ว ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมาใหม่อยู่เรื่อย ๆ การจะตามให้ทันทุกเทคโนโลยีคงเป็นไปได้ยาก อีกไม่นานก็จะปี 2022 กันแล้ว ทางบริษัท การ์ตเนอร์ (Gartner) ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ก็ได้วิเคราะห์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่จะเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจ 12 อย่างของปี 2022 ที่จะทำให้เกิดการเพิ่มธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า และถ้าผู้บริหารองค์กรหรือหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำไปใช้ ก็จะช่วยทำให้การทำงานขององค์กรสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น

strategic technology trends for 2022
ภาพจาก Top Strategic Technology Trends for 2022 | Gartner
Trend 1: Data Fabric

เนื่องจากในปัจจุบันมีข้อมูลเกิดขึ้นมากมาย หลากหลายแพลตฟอร์ม Data fabric เป็นแนวคิดการออกแบบที่เชื่อมข้อมูลในแพลตฟอร์มข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้เสมือนราวกับว่าข้อมูลในแต่ละที่แต่ละแพลตฟอร์มอยู่ร่วมกันในที่เดียว ช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดการข้อมูล ทำให้ข้อมูลสามารถพร้อมใช้งานได้ทุกที่ตามต้องการ และ Data Fabric สามารถใช้ในการวิเคราะห์และแนะนำว่าข้อมูลส่วนไหนที่จะถูกนำไปใช้หรือตรงไหนที่ควรเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยลดงานที่ต้องจัดการข้อมูลได้ถึง 70%

Trend 2: Cybersecurity Mesh

Cybersecurity mesh เป็นสถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยการบริหารจัดการความปลอดภัยของทรัพย์สินดิจิทัลที่มีโซลูชันด้านความปลอดภัยที่ต่างกันทั้งหมดขององค์กร ให้สามารถจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยโดยรวมได้ โดยมีความสามารถในการกำหนดขอบเขตความปลอดภัย ตรวจสอบตัวตน สามารถเช็คการใช้งานว่าเป็นไปตามนโยบายหรือไม่ และสามารถทำการควบคุมและจัดการได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าทั้งทรัพย์สินดิจิทัลจะอยู่บนสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์หรือไม่ใช่คลาวด์ก็ตาม

Trend 3: Privacy-Enhancing Computation

Privacy-Enhancing Computation เป็นเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยควบคุม และดูแลข้อมูลส่วนบุคคล ที่ถูกนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าเชื่อถือ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยลดความกังวลของเจ้าของข้อมูล

Trend 4: Cloud-Native Platforms

Cloud-Native Platforms จะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คุณสร้างแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์ได้อย่างยืดหยุ่น รวดเร็ว เพื่อตอบสนองตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจะแก้ไขปัญหาของวิธีเดิมของการย้ายแอปพลิเคชันไประบบคลาวด์แบบ Lift and Shift ที่ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ของคลาวด์ได้อย่างเต็มที่ และยังมีความซับซ้อนในการบำรุงรักษา

Trend 5: Composable Applications

การสร้างแอปพลิเคชันโดยแบ่งเป็นส่วน ๆ ยึดตามโจทย์ของธุรกิจเป็นหลัก โดยจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา และสามารถนำโค้ดเดิมกลับมาใช้ใหม่ในซอฟต์แวร์ตัวอื่น ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้ได้ซอฟต์แวร์ที่ออกสู่ตลาดได้เร็วมากยิ่งขึ้น

Trend 6: Decision Intelligence

การนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น augmented analytics, simulations และ AI มาช่วยส่งเสริมการตัดสินใจเพื่อการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Trend 7: Hyperautomation

เป็นแนวทางที่ใช้การขับเคลื่อนธุรกิจผ่านการทำให้กระบวนการทางธุรกิจและ IT เป็นแบบอัตโนมัติและมีความยืดหยุ่นสามารถปรับปริมาณการใช้งานได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพของงาน ให้สามารถทำงานจากทางไกลได้ และเพิ่มความเร็วของกระบวนการทางธุรกิจ

Trend 8: AI Engineering

พนักงานที่พัฒนาแอปพลิเคชันที่ไม่ได้มีประสบการณ์ด้าน AI จะต้องใช้ทั้งเวลาและเงินจำนวนมากในการนำระบบที่มี AI เข้ามาใช้ร่วมกับแอปพลิเคชัน การมี AI engineer ที่เชี่ยวชาญจะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบงานที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรได้อย่างดีแน่นอน

Trend 9: Distributed Enterprises

เมื่อการทำงานไม่จำเป็นต้องทำที่ออฟฟิศเท่านั้น การทำงานจากระยะไกลเริ่มเพิ่มขึ้น องค์กรก็ต้องนำเทคโนโลยีที่จะช่วยในการทำงาน เพื่อให้พนักงาน ลูกค้า หรือ partner ได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ดีที่สุด

Trend 10: Total Experience

คือการบริหารจัดการประสบการณ์แบบองค์รวม ที่จะประสานประสบการณ์ รวมไปถึงความเชื่อมั่น ความพึงพอใจ ความภักดี ทั้งของพนักงาน ลูกค้า และผู้ใช้งาน เข้ามาพิจารณาร่วมกัน เพื่อใช้ออกแบบกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต

Trend 11: Autonomic Systems

ระบบอัตโนมัติที่ปรับตัวและเรียนรู้ได้แบบเรียลไทม์ เป็นทั้งระบบแบบกายภาพและซอฟต์แวร์ที่สามารถตอบรับความต้องการในสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และป้องกันการโจมตีโดยที่ไม่ต้องมีคนมาคอยดูแลจัดการ

Trend 12: Generative AI

Generative AI คือเทคโนโลยีที่สามารถเรียนรู้จากข้อมูลที่มีอยู่และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาได้ โดยไม่ซ้ำกับของเดิม สามารถสร้างเนื้อหาที่สร้างสรรค์ใหม่ ๆ ได้ เช่น คอนเทนต์วิดีโอ หรือการเพิ่มความเร็วในการวิจัยและการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่ยาจนถึงการสร้างผลิตภัณฑ์

เทรนด์เทคโนโลยีจะช่วยพลักดันธุรกิจแบบดิจิทัลได้อย่างไร

  • Engineering Trust เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่กล่าวถึงจะช่วยสร้างรากฐานให้กับ IT ให้มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากขึ้น โดยมั่นใจได้ว่าการประมวลผลข้อมูลทั้งที่อยู่บนระบบคลาวด์และที่ไม่ได้อยู่บนระบบคลาวด์จะมีความปลอดภัย และสามารถปรับขนาดโครงสร้างของ IT ได้ตามที่ต้องการอีกด้วย
  • Sculpting Change การเปลี่ยนแปลงขององค์กรตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทำให้คุณสามารถปรับขนาดและเร่งการพัฒนาองค์กรสู่การเป็น digitalization ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ช่วยให้คุณลดขั้นตอนทางธุรกิจและปรับให้เป็นระบบอัตโนมัติ หรือการเพิ่มประสิทธิภาพของ AI เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการนำไปใช้ตัดสินใจขององค์กรได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น
  • Accelerating Growth การเติบโตแบบก้าวกระโดดโดยอาศัยเทรนด์ของเทคโนโลยี จะทำให้องค์กรมีกำลังที่จะชนะในธุรกิจและได้ส่วนแบ่งในตลาด และยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้องค์กรของคุณและความสามารถทางด้านดิจิทัลอีกด้วย

ที่มา

บทความนี้ถูกแปลมาจาก Top Strategic Technology Trends for 2022 | Gartner

แปลโดย วริศ หลิ่มโตประเสริฐ

ตรวจทานและปรับปรุงโดย พีรดล สามะศิริ

Data Engineer at Big Data Institute (Public Organization), BDI

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.