5 หนทางที่สายการบินนำปัญญาประดิษฐ์ (Airlines Artificial Intelligence) มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

5 หนทางที่สายการบินนำปัญญาประดิษฐ์ (Airlines Artificial Intelligence) มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

19 กรกฎาคม 2565
5 หนทางที่สายการบินนำปัญญาประดิษฐ์ (Airlines Artificial Intelligence) และวิทยาศาสตร์ข้อมูลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์เดินทางไปอยู่ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ที่อยู่อาศัย ระบบบริการธนาคารและการเงิน การลงทุน การค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซ ระบบเกี่ยวกับการขนส่งและอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหนึ่งในอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองอีกหนึ่งอุตสาหกรรมนั้นก็คือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสายการบิน สิ่งที่ใครหลายคนใช้บริการเพื่อเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ รอบโลก ทางบริษัท Altexsoft ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี ได้สรุปหนทางออกมาเป็น 10 หนทางที่สายการบินนำปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Airlines Artificial Intelligence) แต่ในบทความนี้เราจะมาเล่าให้ฟังคร่าว ๆ เกี่ยวกับ 5 หนทางเด่น ๆ ว่ามีหนทางใดบ้างที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสายการบินมากขึ้น

ภาพจาก 10 Ways Airlines Use Artificial Intelligence and Data Science to Improve Operations

การจัดการรายได้ (Revenue Management)

การจัดการรายได้ (Revenue Management) หรือ RM เป็นแอปพลิเคชันหนึ่งของการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีเป้าหมายเพื่อกำหนดวิธีการขายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ที่ต้องการ ในราคา เวลาและช่องทางที่เหมาะสม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแนวคิดที่ว่าลูกค้ามองเห็นคุณค่าของผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน ดังนั้นราคาที่ลูกค้าพร้อมจ่ายจึงขึ้นอยู่กับเป้าหมายและเวลาในการซื้อ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการรายได้มีการใช้ประโยชน์จาก AI ในการกำหนดและปรับราคาที่เหมาะสม รวมถึงค้นหาช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง RM ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการขายตั๋วเที่ยวบิน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

ภาพจาก 10 Ways Airlines Use Artificial Intelligence and Data Science to Improve Operations

การค้นหาเส้นทางการบินที่ต้องการ: ผู้ให้บริการมีการใช้ Artificial Intelligence เพื่อตอบคำถามง่าย ๆ ที่ว่า “ต้องการบินไปที่ไหน”

“ในการกำหนดเส้นทางบิน ผู้เชี่ยวชาญต้องวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจจากข้อมูลเชิงลึก เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับปลายทางที่กลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มต้องการ พวกเขาจะใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ประวัติการค้นหา รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจอย่างเช่น ค่า GDP”

Konstantin

Willingness to Pay (WTP): การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า หรือแม้แต่การที่สายการบินเข้าใจรสนิยมและพฤติกรรมของผู้โดยสารดีพอ จะทำให้สามารถเสนอทางเลือกในการโดยสารให้แก่ผู้โดยสารตามที่ผู้โดยสารต้องการ และที่สำคัญคือพวกเขาเต็มใจที่จะจ่าย

“เมื่อลูกค้ามีแนวโน้มที่จะจ่ายตามราคาที่สูงที่สุดของผลิตภัณฑ์นั้น ทำให้สันนิษฐานได้ว่าลูกค้าพร้อมที่จะจ่ายมากขึ้นเมื่อมีเวลาก่อนที่จะเดินทางน้อยลง ความเต็มใจที่จะจ่ายมักขึ้นอยู่กับวันก่อนออกเดินทาง ในทางปฏิบัติ จะมีการกำหนดค่ามัธยฐานของความเต็มใจที่จะจ่าย ซึ่งเป็นราคาที่ลูกค้าร้อยละ 50 ต้องการจ่ายสำหรับตั๋วในวันก่อนออกเดินทางโดยเฉพาะ โดยความเต็มใจที่จะจ่ายดังกล่าวจะเทียบเท่ากับจำนวนผู้โดยสารที่จะซื้อตั๋วหากราคาลดลงหนึ่งเปอร์เซ็นต์”

Expected marginal seat revenue (EMSR): นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลวัดค่า EMSR จากการคูณกำไรจากการขายด้วยความน่าจะเป็นของการขายที่นั่งเพิ่มเติมในแต่ละชั้นโดยสาร ในกรณีที่ดีที่สุด ผู้เชี่ยวชาญจะต้องทราบความน่าจะเป็นในการขายในแต่ละชั้นโดยสาร วันก่อนออกเดินทาง รวมถึงข้อมูลจำนวนลูกค้าที่คลิกและเห็นหน้าเว็บที่แสดงราคาเฉพาะเพื่อกำหนด WTP และ EMSR อย่างถูกต้อง

Ancillary Price Optimization: อีกแนวทางที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มรายได้ของสายการบิน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลได้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวโน้มของนักเดินทางที่จะซื้อบริการเสริม เช่น ซื้อน้ำหนักกระเป๋า และทำให้สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และวันที่ผู้โดยสารมีแนวโน้มที่จะจ่ายเพิ่มได้

ปรับปรุงบริการลูกค้าด้วย Feedback Analysis

การเดินทางโดยเครื่องบินอาจสร้างความตึงเครียดได้แม้กระทั่งนักเดินทางที่มีประสบการณ์ในการเดินทางบ่อยครั้ง พวกเขาต้องทำหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ตรวจกระเป๋า หรือหาทางเข้าที่ถูก ซึ่งในเรื่องนี้ สายการบินที่เรียนรู้เกี่ยวกับจุดบอดของประสบการณ์สนามบินและเที่ยวบินผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลก็จะสามารถปรับปรุงการบริการลูกค้าได้ การใช้ AI เพื่อการวิเคราะห์ความคิดเห็นและวิจัยทางการตลาด จะช่วยให้สายการบินสามารถตัดสินใจเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

“ระบบ Airlines Artificial Intelligence ช่วยให้สายการบินสามารถตรวจสอบโอกาสต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนประสบการณ์การเดินทางที่แย่ของลูกค้าให้กลายเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม”

ทาง PureStrategy มีการใช้แพลตฟอร์มสำหรับการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Automated Neural Intelligence Engine (ANIE) โดยจะทำการตรวจสอบข้อมูล จัดหมวดหมู่ แสดงแผนภาพ และมีการวิเคราะห์ความรู้สึก (Sentimental Analysis) จากข้อความ ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะช่วยทุ่นแรงในการทำงานต่าง ๆ และช่วยให้พนักงานสามารถเอาเวลาไปจัดการงานอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อนกว่าได้ นอกจากนี้ระบบ ANIE ยังสามารถนำมาใช้งานเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าสามารถค้นหา จอง และชำระค่าตั๋วเครื่องบินได้ง่ายหรือไม่ด้วยเช่นกัน

ระบบส่งข้อความอัตโนมัติ (Messaging Automation)

เมื่อเกิดปัญหา เช่น เที่ยวบินล่าช้าหรือสัมภาระสูญหาย แล้วถ้าลูกค้าไม่ได้รับการตอบกลับหรือไม่ได้รับคำอธิบายเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวแทนของสายการบินในเวลาที่เหมาะสม พวกเขาคงไม่เลือกใช้บริการสายการบินนั้น ๆ สำหรับการเดินทางในครั้งถัดไป ซึ่งความเร็วในการตอบคำถามของลูกค้ามีความสำคัญพอ ๆ กับขั้นตอนการปฏิบัติจริงในการแก้ไขปัญหากันเลยทีเดียว

ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับ AI เช่น Coseer โดย Arbot Solutions ได้เข้ามาช่วยเพิ่มความรวดเร็วและทำให้ขั้นตอนการทำงานของพนักงานบริการลูกค้าง่ายขึ้น โดยซอฟต์แวร์นี้จะใช้อัลกอริทึมสำหรับประมวลผลภาษาธรรมชาติหรือข้อความที่ไม่มีโครงสร้างต่าง ๆ CEO ของ Coseer เล่าว่า ซอฟต์แวร์นี้จะช่วยสายการบินในการจัดประเภทของอีเมลของลูกค้าและทำการดึงข้อมูลจากอีเมลเหล่านั้นเพื่อให้ทางสายการบินสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้แบบอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น สามารถจัดการกับอีเมลที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสัมภาระที่สูญหายได้อย่างรวดเร็วนั้นเอง

อีกวิธีหนึ่งในการปรับปรุงและทำให้ระบบการบริการลูกค้าเป็นอัตโนมัติมากขึ้นคือการพัฒนาแชทบอท ทุกวันนี้สายการบินจำนวนมากมีการปรับปรุงและดูแลลูกค้าด้วยแชทบอทไปพร้อม ๆ กับการใช้ AI ซึ่งสามารถช่วยผู้โดยสารในหลากหลายด้าน เช่น การจองและจัดการเที่ยวบิน ติดตามสัมภาระ ตอบคำถาม และให้ความช่วยเหลือประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

สร้างประสบการณ์ไร้สัมผัสกับ In-Airport Self-Service

การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้เทคโนโลยีไร้สัมผัสต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ระบบตู้เช็คอินแบบบริการตนเองเป็นเพียงขั้นตอนแรกของการเดินทางของผู้โดยสารภายใต้ระบบแบบอัตโนมัติ ในปัจจุบันสายการบินและสนามบินมีการใช้ระบบแบบ end-to-end ในอาคารผู้โดยสารหลายแห่งเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกผู้โดยสารในการเช็คอินไปจนถึงการขึ้นเครื่อง

ตัวอย่างของระบบที่นำมาใช้งาน ได้แก่ Fly to Gate โดย Thales ซึ่งจะเป็นการใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกและเครื่องสแกนเพื่อจดจำและตรวจสอบผู้โดยสารที่จุดตรวจ โดยในขณะเดียวกันจะมีการใช้ระบบอีกแบบหนึ่งเพื่อระบุสัมภาระ เช่น รหัสของกระเป๋าที่สามารถตรวจจับกระเป๋าแต่ละใบตามลักษณะทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับสัมภาระแบบไม่ต้องสัมผัสได้นั้นเอง ซึ่งเทคโนโลยีทั้งหมดนี้จะช่วยลดเวลาในการเช็คอินของผู้โดยสารและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้โดยสารด้วยเช่นกัน

เทคโนโลยีจัดการสายการบินและการขับเครื่องบินอัตโนมัติ (Flight Management and Autonomous Flights)

ยานพาหนะไร้คนขับไม่ได้มีแต่ในหนังอีกต่อไป ผู้ผลิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Waymo และ Google ได้เปิดตัวรถยนต์ไร้คนขับเมื่อหลายปีก่อน โดยคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีแนวโน้มของการใช้งานที่หลากหลาย ในความคิดอาจจะดูง่าย แต่ในความเป็นจริงรถจำเป็นจะต้องติดตั้งกล้องจำนวนมากและมีการสอนด้วยข้อมูลพร้อมกับอัลกอริทึธึมการเรียนรู้ของเครื่อง เพื่อให้สามารถตีความสภาพถนนและตอบสนองได้แบบเรียลไทม์

ในปี 2018 แอร์บัสได้เริ่มโครงการวิจัยเพื่อสร้างแท็กซี่ การบินขึ้น และลงจอดแบบอัตโนมัติ ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับความสำเร็จไปด้วยดีในปี 2020 โดยแอร์บัสได้สาธิตงานวิจัยการขึ้น และลงจอดอัตโนมัติได้อย่างสมบูรณ์แบบผ่านการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการจดจำภาพบนเครื่องบิน แม้ว่างานวิจัยชิ้นนี้จะยังอยู่ในขั้นทดลอง แต่ความสำเร็จของงานวิจัยนี้ทำให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับปรุงการใช้งานของเครื่องบินต่อไปในอนาคตได้

ณ วันนี้แพลตฟอร์มเกี่ยวกับการจัดการสายบินที่มีการใช้ AI เข้ามาช่วย ยกตัวอย่างเช่น Flyways โดยแพลตฟอร์มนี้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่ได้รับจากเซ็นเซอร์หลายตัว รวมถึงยังมีการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอกเพื่อสนับสนุนการจัดการเที่ยวบินและเพิ่มประสิทธิภาพของเส้นทางการบิน ซึ่งจะช่วยให้นักบินและผู้มอบหมายงานสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นระหว่างที่ทำการบิน ค้นหาเส้นทางที่เหมาะสม และลดความล่าช้าที่เกิดจากสภาพอากาศที่ไม่ดี และปัญหาอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

สุดท้ายนี้…

จาก 5 วิธีการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสายการบินที่อธิบายมาข้างต้น ทำให้เห็นว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีเกี่ยวกับ AI ได้เข้ามาช่วยปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ด้านการบินของผู้โดยสารไปในทางที่ดีขึ้นด้วยระบบอัตโนมัติและวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถบริการตนเองได้ ในอีกมุมมองหนึ่งก็ทำให้ขั้นตอนการทำงานของพนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้สายการบินตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับราคาและตำแหน่งทางการตลาดผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่เข้ามาจากหลากหลายช่องทางด้วยเช่นกัน รวมถึงการจัดการเที่ยวบินและการขับเคลื่อนเครื่องบินได้อย่างอัตโนมัติ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ AI ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราในทุก ๆ ด้าน

เนื้อหาจากบทความ 10 Ways Airlines Use Artificial Intelligence and Data Science to Improve Operations
แปลและเรียบเรียงโดย จุฑาภรณ์ วิภัชภาคไพบูลย์
ตรวจทานและปรับปรุงโดย ปพจน์ ธรรมเจริญพร

Senior Data Scientist at Big Data Institute (Public Organization), BDI

Former-Editor-in-Chief at BigData.go.th and Senior Data Scientist at Government Big Data Institute (GBDi )

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.