ปัญญาประดิษฐ์อ่านใจและวาดภาพบุคคลที่ใช่ตรงใจคุณ

ปัญญาประดิษฐ์อ่านใจและวาดภาพบุคคลที่ใช่ตรงใจคุณ

12 กรกฎาคม 2564

งานวิจัยพบ 80 เปอร์เซ็นต์ของการทดลอง ผู้เข้าร่วมพึงพอใจกับใบหน้าคนรู้ใจที่คอมพิวเตอร์ผลิตขึ้น

มีการสร้างปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างรูปภาพตามสิ่งที่คน ๆ นั้นรู้สึกน่าสนใจ

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (University of Helsinki) และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) กำลังตรวจสอบสมมติฐานที่ว่าคอมพิวเตอร์สามารถระบุลักษณะของใบหน้าของคนรู้ใจได้หรือไม่

นักวิจัยใช้ข้อมูลจากสัญญาณสมองของผู้ทดลองเชื่อมต่อกับส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ หรือ Brain-Computer Interface (BCI) เพื่อผลิตใบหน้าของคนที่ดึงดูดผู้ทดลอง และทดลองโดยการที่จะแสดงหน้าเหล่านั้นคล้าย ๆ กับตอนที่เราเล่น Tinder ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นหาคู่ที่ผู้ใช้งานจะแสดงว่าสนใจรูปคน ๆ นั้นหรือไม่ด้วยการปัดซ้ายหรือขวา

ถึงแม้ว่าจะคล้ายคลึงกับแอปพลิเคชันหาคู่ดังกล่าว แต่ระบบที่ใช้ในการทดลอง ผู้ใช้งานจะต้องให้ความสนใจ (แทนที่จะใช้การปัดซ้ายหรือขวา) กับใบหน้าถูกสร้างขึ้นโดยโครงข่ายประสาทเทียมที่สามารถสร้างภาพเสมือนจริง (Generative adversarial neural network: GAN) ในขณะเดียวกันระบบจะรวบรวมการตอบสนองของสมองของผู้ใช้งานนั้นด้วยการติดตามดูสัญญาณไฟฟ้าผ่านการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram: EEG)

ส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ หรือ BCI นั้นจึงจะสามารถตีความความคิดเห็นเกี่ยวกับความมีเสน่ห์น่าดึงดูดตามรูปภาพ และสร้างใบหน้าใหม่ด้วยการผสมข้อมูลจากภาพใบหน้าก่อนหน้า

จากนั้นนักวิจัยได้สร้างภาพใบหน้าใหม่บุคคลสำหรับผู้เข้าร่วมแต่ละคน เพื่อทดสอบว่าแบบจำลองทำงานได้หรือไม่ และพบว่าภาพใบหน้าใหม่นั้นตรงกับความชอบของแต่ละบุคคลด้วยคะแนนความแม่นยำถึง 80%

“การศึกษาแสดงให้เห็นว่า เราสามารถสร้างภาพใบหน้าที่ตรงกับความชอบส่วนบุคคล โดยการเชื่อมต่อโครงข่ายประสาทเทียม (artificial neural network) กับการตอบสนองของสมอง ความสำเร็จในการประเมินเสน่ห์ดึงดูดมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากนี่เป็นคุณสมบัติทางจิตวิทยาของสิ่งเร้าที่รุนแรง”

Michiel Spapé นักวิจัยอาวุโส และอาจารย์คณะจิตวิทยา (Department of Psychology and Logopedics) จากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ

Michiel Spapé นักวิจัยอาวุโส และอาจารย์คณะจิตวิทยา (Department of Psychology and Logopedics) จากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ กล่าวว่า

“คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) นั้นประสบความสำเร็จอย่างมากในการหารูปแบบของสิ่งของ และวัตถุต่าง ๆ บนภาพ  ด้วยการนำข้อมูลสัญญาณสมองมาผสมผสาน นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าเป็นไปได้ที่จะค้นหาและสร้างภาพใบหน้าตามคุณสมบัติทางจิตวิทยา เหมือนกับรสนิยมส่วนตัว”

การศึกษาอาจอนุญาตให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้และเข้าใจความชอบส่วนตัว ซึ่งอาจนำไปสู่การศึกษาในหัวข้ออื่น ๆ เช่น การรับรู้และการตัดสินใจ เช่นเดียวกับชี้ให้เห็นทัศนคติของสังคมทั่วไป (stereotypes) หรืออคติที่ซ่อนอยู่

Michiel Spapé ยังกล่าวอีกว่า

“ในการศึกษาก่อนหน้าของทีมนักวิจัย นักวิจัยได้ออกแบบแบบจำลองที่สามารถระบุและควบคุมคุณลักษณะของภาพใบหน้าบุคคลอย่างง่าย ตัวอย่างเช่น สีผม อารมณ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้คนพอจะตกลงกันได้ว่าใครที่มีผมบลอนด์และใครที่กำลังยิ้ม แต่ว่าความมีเสน่ห์ดึงดูดใจเป็นเรื่องที่ท้าทายยิ่งกว่าในการศึกษา เนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางวัฒนธรรมและจิตวิทยาในส่วนของจิตใต้สำนึกสำหรับความชอบส่วนบุคคล”

“อันที่จริง พวกเรามักจะพบว่ามันยากมากที่จะอธิบายว่าคืออะไรกันแน่ ที่ทำให้บางสิ่งอย่างหรือใครบางคนสวยงาม: ซึ่งความงามนั้นขึ้นอยู่กับสายตาของคนมอง (Beauty is in the eye of the beholder)”

ที่มา: https://www.independent.co.uk/life-style/gadgets-and-tech/ai-read-mind-attraction-b1815328.html

เนื้อหาโดย นัทธมน มยุระสาคร
ตรวจทานและปรับปรุงโดย อนันต์วัฒน์ ทิพย์ภาวัต

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.