COVID-19 กับการเปลี่ยนแปลงไนโตรเจนไดออกไซด์ในไทย

COVID-19 กับการเปลี่ยนแปลงไนโตรเจนไดออกไซด์ในไทย

18 มิถุนายน 2563

จากสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ส่งผลให้หลายประเทศได้ออกมาตรการให้ประชาชนเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 โดยการขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่บ้าน ลดการเดินทาง และขอให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) เป็นต้น

เมื่อการคมนาคมน้อยลง อุตสาหกรรมหลาย ๆ แห่งจำเป็นที่จะต้องหยุดลง ส่งผลให้ก๊าซในชั้นบรรยากาศที่เกิดมาจากมนุษย์ (Anthropogenic Emissions) มีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ประเทศ รวมไปถึงประเทศไทยด้วย

รูปที่ 1 ภาพแสดงการจราจรที่ติดขัดน้อยลง เนื่องจากนโยบาย Work From Home

โดยในครั้งนี้เราจะมาลองทำการสำรวจปริมาณก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide; NO2) ที่เปลี่ยนแปลงในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูล Big Data ที่ได้มาจากเซนเซอร์ที่ชื่อว่า TROPOMI (Tropospheric Monitoring Instrument) บนดาวเทียม Sentinel-5P

ทำไมต้องก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide; NO2)

NO2 เป็นก๊าซที่มีอยู่ในธรรมชาติ สามารถเกิดขึ้นเองได้จากปรากฏการณ์ เช่น ฟ้าแล่บ ฟ้าผ่า หรือภูเขาไฟระเบิด แต่อย่างไรก็ตามก็นับว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับส่วนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ดังนั้น รถยนต์ และอุตสาหกรรมจึงเป็นแหล่งหลักที่ทำให้เกิดก๊าซชนิดนี้

ผลกระทบ NO2 ที่ความเข้มข้นสูงสามารถปฏิกิริยากับไอน้ำและออกซิเจนเกิดเป็นกรดไนตริก (Nitric Acid: HNO3) ปนเปื้อนอยู่ในน้ำฝนหรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์ฝนกรด (Acid rain) ฝนกรดจะละลายปุ๋ยในดิน ทำให้พืชเติบโตช้า เมื่อไหลลงแหล่งน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ไม่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ หรือแม้แต่ในเมืองเอง ฝนกรดก็ก่อให้เกิดการสึกกร่อนของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรืออาจจะจับตัวรวมกับหมอกก่อให้เกิดหมอกควันพิษ (Smog) ที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและจะส่งผลรุนแรงขึ้นกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด จนอาจรุนแรงถึงชีวิตได้

ระดับ NO2 ทั่วประเทศไทย

ผลการวิเคราะห์ระดับ NO2 เบื้องต้นจากข้อมูลภาพดาวเทียมในปี 2019 ของประเทศไทย พบว่าบริเวณที่มีความเข้มข้นของ NO2 สูงที่สุด จะอยู่ในเขตเมืองกรุงเทพและปริมณฑล รองลงมาจะเป็นบริเวณโรงงานปูนซีเมนต์ จังหวัดสระบุรี โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ดังที่แสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 2 ระดับ NO2 ทั่วประเทศไทยปี 2019
(จัดทำโดยผู้เขียน)

ภาพรวมปริมาณ NO2 ของประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล จะมีการปล่อยออกมามากที่สุดในช่วง มีนาคม – เมษายน และตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – ตุลาคม จะมีแนวโน้มลดลง อาจเนื่องมาจากได้น้ำฝนเข้ามาเจือจางความเข้มข้นของ NO2 ในอากาศ ก่อนจะเพิ่มขึ้นจนถึงสูงที่สุดอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ดังที่แสดงในรูปที่ 3

รูปที่ 3 ค่าเฉลี่ยปริมาณ NO2 ที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของประเทศไทย
(จัดทำโดยผู้เขียน)

กรุงเทพและปริมณฑล

รูปที่ 4 ปริมาณ NO2 ในเขตเมืองกรุงเทพและปริมณฑล (ม.ค. – เม.ย. 2563)
(จัดทำโดยผู้เขียน)

จากรูปที่ 4 ปริมาณ NO2 ในเขตเมืองกรุงเทพและปริมณฑลนั้น แน่นอนว่าสาเหตุหลักมาจากมลพิษจากการคมนาคมขนส่ง จากภาพจะเห็นได้ว่าปริมาณ NO2 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จากเดือนมกราคมอันเนื่องมากจาก การเดินทางกลับภูมิลำเนา และลดการเดินทางออกจากบ้านของประชาชน ภายหลังจากการประกาศใช้มาตรการให้ประชาชนเว้นระยะห่างทางสังคม

โรงงานปูนซีเมนต์ จังหวัดสระบุรี

รูปที่ 5 ปริมาณ NO2 โรงงานปูนซีเมนต์ จังหวัดสระบุรี (ม.ค. – เม.ย. 2563)
(จัดทำโดยผู้เขียน)

การสกัดหินแร่เผื่อนำมาใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ เป็นสาเหตุกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดก๊าซ NO2 ในบริเวณนี้จากภาพถ่ายดาวเทียมเราจะสังเกตได้ว่า ปริมาณ NO2 มีการลดลงในเดือน มีนาคม ดังรูปที่ 5 อันเนื่องมาจากการลดกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานปูน

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

รูปที่ 6 ปริมาณ NO2 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง (ม.ค. – เม.ย. 2563)
(จัดทำโดยผู้เขียน)

อุตสาหกรรมเคมี เป็นอีกกิจกรรมหลักที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดก๊าซ NO2 ในพื้นที่ของนิคมอุตสาหรรมมาบตราพุด จากภาพถ่ายดาวเทียมเราจะสังเกตได้ว่า ปริมาณ NO2 มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังรูปที่ 6 อันเนื่องมาจากการลดกำลังการผลิตลงของโรงงานภายในนิคม

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

รูปที่ 7 ปริมาณ NO2 โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง (ม.ค. – เม.ย. 2563)
(จัดทำโดยผู้เขียน)

ส่วนปริมาณ NO2 ที่เกิดจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะนั้น มีการลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ และกลับมามีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ในเดือนมีนาคม ดังรูปที่ 7 ซึ่งอาจหมายถึงไม่มีการลดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าในระหว่างที่เกิดวิกฤตการโรคโควิด-19

นี่เป็นเพียงประโยชน์หนึ่งในการใช้ข้อมูล Big Data จากภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อติดตามผลกระทบทางอ้อมของวิกฤตการโรค COVID-19 ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ในช่วงที่เกิดการ Lockdown ประเทศ

อย่างไรก็ดี COVID-19 ทำให้เรามีโอกาสที่จะเห็นผลกระทบในเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา แต่ก็คงเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่ชั่วคราว จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่เราควรจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ซึ่งเราสามารถทำได้โดย การปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนน ระบบขนส่งมวลชน และที่สำคัญที่สุดคือ การแทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิลด้วยพลังงานหมุนเวียนและแหล่งคาร์บอนต่ำอื่น ๆ โดยการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้อย่างแน่นอน

ข้อมูลบางส่วนจาก บทความของ Chottiwatt Jittprasong


แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.