เปรียบเทียบสถานการณ์โควิด-19 กับโรคระบาดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

เปรียบเทียบสถานการณ์โควิด-19 กับโรคระบาดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

03 กันยายน 2563

จากบทความ ฝ่าวิกฤติโควิด-19 จากบทเรียนในอดีต : ไข้หวัดใหญ่สเปน (1918 Spanish Flu) จะเห็นได้ว่าโรคโคโรนาไวรัส 2019 (ต่อไปนี้ผู้เขียนจะเรียกสั้น ๆ ว่าโรคโคโรนาไวรัส) และโรคไข้หวัดใหญ่สเปน มีความคล้ายคลึงกัน มาตรการต่าง ๆ ที่ใช้รับมือกับโรคไข้หวัดใหญ่สเปนในอดีต อาจจะนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันได้ ซึ่งการนำข้อมูลที่มีอยู่มาทำการศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อช่วยในการตัดสินใจให้เกิดประโยชน์ในปัจจุบันได้นั้น ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)

ในบทความนี้ เราจะศึกษาข้อมูลโรคระบาดอื่น ๆ เพิ่มเติม และทำการเปรียบเทียบกับโรคโคโรนาไวรัส โดยประเมินตามความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น รวมถึงหาความสัมพันธ์ของระยะเวลาในการผลิตวัคซีนของโรคระบาดในอดีต เพื่อประเมินระยะเวลาในการผลิตวัคซีนของโรคโคโรนาไวรัส

การวิเคราะห์ข้อมูลโรคระบาดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

ข้อมูลที่นำมาศึกษาในครั้งนี้คือข้อมูลเหตุการณ์โรคระบาดทั้งหมดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 ที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 100,000 คน และเพิ่มข้อมูลโรคซาร์ส (2002-04 SARS), ไข้หวัดนก (Avian influenza) และอีโบลา แสดงไว้บนตาราง 1 และใส่แถบสีเทาไว้สำหรับ 3 โรคดังกล่าวที่เพิ่มเข้าไปเปรียบเทียบด้วย โดยทั้ง 3 โรค เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่ย้อนกลับไปไม่เกิน 20 ปี และเป็นโรคที่ทำให้คนไทยรู้จักและเกิดการตื่นตระหนกกันเป็นอย่างมาก แต่ทราบหรือไม่ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากทั้ง 3 โรคนี้รวมกันมีแค่หลักหมื่น ซึ่งน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป (Seasonal influenza) ที่มีผู้เสียชีวิตประมาณ 300,000-600,000 คนในทุก ๆ ปีเสียอีก

ตาราง 1 : ข้อมูลเบื้องต้นของโรคระบาด (จำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ใช้ข้อมูลถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2563) เรียงลำดับตามปีที่เกิดการระบาด
แหล่งที่มาจาก Wikipedia

จากตารางแสดงข้อมูลเบื้องต้นของโรคระบาด เพื่อที่จะนำเสนอข้อมูลการเปรียบเทียบความรุนแรงของแต่ละเหตุการณ์ให้เห็นชัดเจน เราจะใช้เทคนิคการนำเสนอที่เรียกว่า Conditional Formatting ซึ่งก็คือการใช้สีในการนำเสนอและสื่อความหมายนั่นเอง โดยในที่นี้ สีแดงหมายถึงมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และไล่ระดับความเข้มของสีลงมาจนถึงสีขาวซึ่งหมายถึงมีผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด

ความรุนแรงของโรคโคโรนาไวรัส

เมื่อเทียบกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงที่มีผู้เสียชีวิตถึง 2.5 ล้านคน โรคโคโรนาไวรัสนั้นอาจจะดูไม่ร้ายแรงเพราะมีผู้เสียชีวิตเพียงแค่ 800,000 คน แต่ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงนั้นระบาดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968-1970 เป็นเวลา 3 ปี ในขณะที่โรคโคโรนาไวรัสนั้นเพิ่งระบาดไปเพียง 9 เดือน ดังนั้นการพิจารณาเปรียบเทียบกันจึงควรหาเป็นค่าเฉลี่ยต่อปี ซึ่งเมื่อหาเป็นค่าเฉลี่ยต่อปีแล้วพบว่าทั้งสองโรคมีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อปีใกล้เคียงกันที่ประมาณหนึ่งล้านคนต่อปี

และข้อมูลอีกมิติหนึ่งที่น่าจะมีผลต่อการระบาดของโรค ก็คือวิธีการติดต่อของโรค (Carrier) โดยวิธีการติดต่อของโรคระบาดมีด้วยกันทั้งหมด 4 ทาง ได้แก่ (1) ผ่านทางละอองเสมหะ (Droplet), (2) ผ่านการปนเปื้อนในอาหาร (Gastrointestinal), (3) ผ่านสัตว์พาหะ (Animal), และ (4) ผ่านเลือดหรือสารคัดหลั่งอื่น ๆ (Blood / Body fluid) โดยเมื่อพิจารณาแล้วพบว่าโรคโคโรนาไวรัสนั้นติดต่อผ่านทางละอองเสมหะ ในการศึกษาเปรียบเทียบจึงควรเปรียบเทียบกับโรคระบาดที่ติตต่อผ่านทางละอองเสมหะเช่นเดียวกัน

แผนภาพแสดงจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดเฉลี่ยต่อปี (แผนภาพจัดทำโดยผู้เขียน)

จากแผนภาพแสดงจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดเฉลี่ยต่อปี จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเฉลี่ยต่อปีของโรคโคโรนาไวรัสนั้นไม่มากเมื่อเทียบกับโรคระบาดอื่น ๆ ที่เคยเกิดขึ้น โดยโรคโคโรนาไวรัสมีความรุนแรงในระดับใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง

ภาพนักวิจัยกำลังศึกษาไวรัส Asian flu ณ ห้องปฏิบัติการใน Walter Reed Army Institute of Research ปี ค.ศ. 1957 (แหล่งที่มาจาก www.history.com)

ระยะเวลาในการผลิตวัคซีน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการผลิตวัคซีนนั้นมีมากมายหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยี, ความคล้ายคลึงกันของไวรัสเมื่อเทียบกับไวรัสชนิดอื่นที่มีวัคซีนอยู่แล้ว รวมไปถึงงบประมาณในการสนับสนุนการวิจัย และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย โดยข้อมูลปัจจัยเหล่านี้เป็นข้อมูลที่เข้าถึงและตรวจสอบได้ยาก และมิติของข้อมูลนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้ยาก สำหรับจำนวนเหตุการณ์ของโรคระบาดที่มีลักษณะคล้ายเป็นโรคโคโรนาไวรัส คือมีการติดต่อผ่านทางละอองเสมหะ และมีการผลิตวัคซีนออกมา มีน้อยมาก เท่าที่สามารถรวบรวมไว้ได้มีดังนี้

  1. ไข้หวัดใหญ่ (1889) และไข้หวัดใหญ่สเปน (1918) – ไม่มีวัคซีน เนื่องจากช่วงก่อนปี ค.ศ. 1930 กล้องจุลทรรศน์ยังมีความสามารถไม่เพียงพอที่จะขยายให้เห็นไวรัสได้ ทำให้การผลิตวัคซีนเป็นไปได้ยาก วัคซีนไข้หวัดใหญ่ถูกผลิตขึ้นและวางขายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1940
  2. Asian flu (1957) – ใช้เวลาผลิตวัคซีน 9 เดือน
  3. Hongkong flu (1968) – ใช้เวลาผลิตวัคซีน 4 เดือน
  4. Swine flu (2009) – ใช้เวลาผลิตวัคซีน 9 เดือน

จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าหลังจากที่เรามีเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีน มีการเกิดโรคระบาดใหญ่เพียงแค่ 3 ครั้งเท่านั้น ซึ่งจำนวนข้อมูลแค่ 3 ครั้งนั้นไม่เพียงพอสำหรับการนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูล หากต้องการศึกษาต่อต้องหาข้อมูลปัจจัยอื่นๆ มาช่วยวิเคราะห์ต่อไป โรคระบาดทั้งสามครั้งนั้นใช้เวลาผลิตวัคซีนไม่เกิน 9 เดือนซึ่งถือว่าใช้เวลาน้อยมาก เหตุผลก็เนื่องจากไวรัสมีความคล้ายคลึงกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ตัวอื่นที่มีวัคซีนอยู่แล้วครับ

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าในเมื่อเรามีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Seasonal Influenza) กันทุกปี เหตุใดจึงไม่นำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อผลิตวัคซีนสำหรับโรคโคโรนาไวรัส นั่นก็เพราะว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่ใช้เพื่อป้องกันไวรัสตัวเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่สามารถนำข้อมูลในส่วนนี้มาใช้เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการผลิตวัคซีนสำหรับไวรัสตัวใหม่อย่างโรคโคโรนาไวรัสได้

“Making a vaccine for a new flu strain is very different from making a vaccine for something completely new like COVID-19, the novel coronavirus that emerged in 2019.”

Becky Little (www.history.com)

“หากพิจารณาจากข้อมูลระยะเวลาในการผลิตวัคซีนของโรคระบาดครั้งร้ายแรง 3 ครั้งล่าสุด เป็นไปได้ว่าเราจะได้วัคซีนโรคโคโรนาไวรัสหลังจากมีการแพร่ระบาดไปแล้วประมาณ 9 เดือน”

บทสรุป

โรคโคโรนาไวรัสเป็นโรคระบาดที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี และหากพิจารณาจากข้อมูลระยะเวลาในการผลิตวัคซีนของโรคระบาดครั้งร้ายแรง 3 ครั้งล่าสุด ก็อาจจะประมาณการได้ว่าหากการผลิตวัคซีนโรคโคโรนาไวรัสไม่ได้ยากไปกว่าการผลิตวัคซีนของโรคดังกล่าว เราก็น่าจะได้วัคซีนโรคโคโรนาไวรัสหลังจากมีการแพร่ระบาดไปแล้วประมาณ 9 เดือน อย่างไรก็ตามในเมื่อการผลิตวัคซีนโรคโคโรนาไวรัสยังอยู่ในระหว่างการทดสอบและผลิตเป็นจำนวนมาก (mass production) ดังนั้นเราต้องป้องกันตัวเองด้วยการรักษาระยะห่างทางสังคม และปฏิบัติตามมาตรการเพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัสกันต่อไป

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.history.com/topics/world-war-i/1918-flu-pandemic

https://www.history.com/news/1957-flu-pandemic-vaccine-hilleman

https://en.wikipedia.org/wiki/Hong_Kong_flu#History

https://en.wikipedia.org/wiki/2009_swine_flu_pandemic_vaccine

Associate, Research and Innovations Division (RIN)
Big Data Institute (BDI)

Former-Editor-in-Chief at BigData.go.th and Senior Data Scientist at Government Big Data Institute (GBDi )

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.