แบบจำลองตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาและอัตราการใช้เตียงผู้ป่วย

แบบจำลองตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาและอัตราการใช้เตียงผู้ป่วย

07 เมษายน 2563
ภาพที่ 1: แผนภูมิแสดงอัตราการใช้เตียงผู้ป่วยตามรัฐต่างๆในประเทศสหรัฐ
ที่มาภาพ: https://projects.propublica.org/graphics/covid-hospitals

ล่าสุด ทาง Harvard Global Health Institute ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้สร้างแบบจำลองในการพยากรณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาและอัตราการใช้เตียงผู้ป่วย (Bed Occupancy Rate) เพื่อออกมาเตือนสติให้รัฐบาลและประชาชนได้ตระหนักว่า หากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศสหรัฐฯไม่มีทิศทางที่ดีขึ้น อาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยในบางรัฐจะไม่มีที่รักษา เนื่องจากโรงพยาบาลในบางรัฐมีจำนวนเตียงคนไข้ไม่พอเพียงกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว ทาง Dr. Ashish Jha ผู้อำนวยการ Harvard Global Health Institute ได้ออกมากล่าวเตือนว่า 

“…หากเราไม่ทำการเปลี่ยนแปลงแบบชัดเจนในมิติของการแพร่เชื้อหรือการขยายความสามารถในการรักษาผู้ติดเชื้อแล้วนั้น เตียงผู้ป่วยในประเทศจะมีไม่พอแน่นอน… และเมื่อเวลานั้นมาถึง เราก็จะไม่สามารถรักษาผู้ป่วยสูงอายุได้ และเขาก็จะต้องตายไปในที่สุด…”

บทความในหนังสือพิมพ์ NY Times ได้รายงานผลการวิจัยของ Harvard Global Health Institute ไว้ว่า ในกรณีที่เชื้อไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดไปสู่ 40% ของประชากรในประเทศสหรัฐภายในระยะเวลา 12 เดือน ประเทศสหรัฐจะประสบปัญหาด้านการรักษา เนื่องจาก 40% ของโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐจะมีปริมาณเตียงไม่เพียงพอในการรองรับผู้ติดเชื้อ แม้จะมีการไล่ผู้ป่วยโรคอื่นๆออกจากโรงพยาบาลทั้งหมดแล้วก็ตาม แน่นอนว่าตัวเลขอัตราการใช้งานเตียงผู้ป่วย (Bed Occupancy Rate) ที่นักวิจัยได้พยากรณ์ไว้นั้น จะไม่แม่นยำแบบ100% แต่ตัวเลขที่ถูกพยากรณ์ขึ้นมา สามารถนำมาใช้ในการวางแผนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นหรือใช้เพื่อการเตือนสติว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมันอาจจะส่งผลร้ายได้โหดร้ายขนาดไหน ผู้สนใจข้อมูลชุดนี้สามารถดู Data Dictionary ได้ที่  https://globalepidemics.org/our-data-guide/

การใช้ Scenario Analysis เพื่อแสดงผลลัพธ์ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ 

ภาพที่ 2: แผนภูมิแสดงอัตราการใช้เตียงผู้ป่วยตามรัฐต่างๆในประเทศสหรัฐ
ที่มาภาพ: https://flowingdata.com/2020/03/19/hospital-bed-occupancy/

ในการพยากรณ์อัตราการใช้เตียงผู้ป่วย (Bed Occupancy Rate) ทางทีมผู้วิจัยได้กำหนดสถานการณ์จำลองไว้ทั้งหมด 9 สถานการณ์ โดยอิงจากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย คือ

  1. อัตราการแพร่ระบาด (Infection rate) – แบ่งเป็น 20% 40% และ 60%
  2. ช่วงระยะเวลาของการแพร่ระบาด – แบ่งเป็น 6 เดือน 12 เดือน และ 18เดือน 

ภายใต้สถานการณ์ทั้งหมด 9 สถานการณ์ สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด (แผนภูมิล่างขวาในภาพที่ 2) คือ ในกรณีที่อัตราการแพร่ระบาดอยู่ 60% และแพร่ระบาดภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆเพียง 6 เดือนเท่านั้น ส่วนสถานการณ์ที่เลวร้ายน้อยที่สุด (แผนภูมิบนซ้ายในภาพที่ 2) คือ ในกรณีที่อัตราการแพร่ระบาดอยู่ในระดับที่ต่ำคือ 20% และแพร่ระบาดภายในช่วงระยะเวลาที่ยาวขึ้นคือ 18 เดือน ซึ่งเราจะเห็นว่าในทุกกรณีของอัตราการแพร่ระบาด หากเราสามารถทำให้ช่วงระยะเวลาของการแพร่ระบาดยืดยาวออกไปได้ หรือที่เรามักจะได้ยินกันว่า Flatten the Curve เราจะสามารถผ่อนจากหนักเป็นเบาได้ ผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดนั้นลดน้อยลง นั้นคือทางโรงพยาบาลจะมีเตียงเพียงพอที่จะรองรับผู้ติดเชื้อได้ ดังนั้นจึงเป็นการสำคัญอย่างยิ่งที่เราทุกคนจะพร้อมใจกันช่วยชาติ ช่วยโลก ด้วยการช่วยกันอยู่บ้าน และลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

ภาพที่ 3: เส้นโค้งเพื่อแสดงจำนวนการใช้เตียงตามระยะเวลาภายใต้สถานการณ์ต่างๆ
ที่มาภาพ: https://www.nytimes.com/interactive/2020/03/17/upshot/hospital-bed-shortages-coronavirus.html

ที่มา:

  1. https://globalepidemics.org/our-data/hospital-capacity/
  2. https://www.nytimes.com/interactive/2020/03/17/upshot/hospital-bed-shortages-coronavirus.html
  3. https://projects.propublica.org/graphics/covid-hospitals
  4. https://flowingdata.com/2020/03/19/hospital-bed-occupancy/

Vice President, Data Analytics Services Division (DAS)
Big Data Institute (Public Organization), BDI

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.