ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถมีบทบาทกับการจัดการไวรัสโคโรน่าได้อย่างไร

ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถมีบทบาทกับการจัดการไวรัสโคโรน่าได้อย่างไร

30 มีนาคม 2563

ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ทางรัฐบาลได้นำข้อมูลเชิงพื้นที่ หรือ ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Data) มาใช้ประโยชน์ในการรับมือกับการระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด 2019 อาทิเช่น รัฐบาลอิสราเอลใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือแจ้งเตือนประชาชนที่คาดว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิดให้อยู่บ้านเพื่อทำ Self-quarantine ส่วนทางรัฐบาลอังกฤษก็ใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ไม่ระบุตัวตนซึ่งได้รับมาจากบริษัท O2 ที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศอังกฤษเพื่อประเมินว่าประชาชนในเขตพื้นที่ใดได้มีการทำตามนโยบาย social distancing แล้วบ้าง สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา ทางบริษัท Google ได้พูดคุยกับทางรัฐบาลอเมริกาว่าจะทำการแชร์ข้อมูลกับทางหน่วยงานด้านสาธารณสุขเพื่อประเมินสถานการณ์คล้ายกับที่ทางรัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินการอยู่

แต่แนวการใช้งานจากข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่น่าตะลึ่งมากที่สุดน่าจะเป็นในกรณีของทางรัฐบาลไต้หวันที่ทางหน่วยงานรัฐได้นำข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาสร้างเป็นรั้วจำลอง (electronic fence) รอบบริเวณที่อยู่อาศัยของบุคคลที่ถูกบังคับให้กักตนเอง และเมื่อบุคคลนั้นได้ฝ่าฝืนการกักตนเองโดยออกจากที่อยู่อาศัยหรือปิดเครื่องโทรศัพท์นั้น ระบบจะส่งข้อความเพื่อแจ้งกับทางเจ้าหน้าตำรวจทันที่ว่าบุคคลนั้นได้ฝ่าฝืนการกักตนเอง

คุณ Jyan Hong-wei ผ.อ. หน่วยงานด้านความมั่นคงทางระบบไซเบอร์ของรัฐบาลไต้หวัน (Department of Cyber Security) ได้ชี้แจ้งว่า “ทางเจ้าหน้าที่จะติดต่อหรือมาหาเราภายใน 15 นาทีหลังจากที่มีข้อความแจ้งเตือนส่งออกมา นอกจากนี้ทางเจ้าหน้าที่ยังทำการโทรหาเราวันละ 2 ครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลนั้นทิ้งโทรศัพ์ไว้ที่บ้าน”

แม้ว่าประเด็นเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัวจะทำให้บางประเทศมีข้อจำกัดในการนำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้รับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า สำหรับประเทศไต้หวันแล้วนั้น ทางรัฐบาลได้รับการติเตือนจำนวนน้อยมากจากการนำข้อมูลนี้มาใช้ซึ่งส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไต้หวันมีเพียง 108 รายเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวน 80,900 รายที่เกิดขึ้นในประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน 

คุณ Ben Thompson ได้ให้แง่คิดเกี่ยวกับประเด็นที่ทางรัฐบาลได้นำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่อาจจะเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชนไว้ว่า

“ตอนนี้เราใช้ชีวิตแบบปกติ เด็กได้ไปโรงเรียน ร้านอาหารก็เปิดเป็นปกติ ร้านซูเปอร์มาเก็ตต์ก็มีของขายไม่ขาดมือ แต่ผมก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าทางรัฐบาลได้นำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ในการเฝ้าระวังเรา ซึ่งในเดือนก่อนหน้านี้ผมคงจะบ่นไม่หยุด แต่ ณ วันนี้ผมรู้สึกว่าผมมีเสรีภาพมาก” 

แต่สำหรับประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการที่ทางรัฐบาลนำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการเฝ้ามองและติดตามประชาชนอย่างคุณ Albert Fox Cahn ซึ่งเป็นผู้นำของNGOแห่งหนึ่งในแมนฮัตตันนั้นได้ให้เหตุผลว่า “การที่เราอนุญาตให้ทางหน่วยงานรัฐบาลสามารถใช้มาตรการใดก็ได้เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดครั้งนี้ มันอาจจะส่งผลให้สิทธิเสรีภาพของเราชาวอเมริกานั้นเปลี่ยงแปลงไป” 

แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่าประหลาดที่มีนักเขียนอย่างคุณ Maciej Celogwski ที่มักจะออกมาเขียนบทวิจารณ์พวก Big Tech ที่ชอบเก็บข้อมูลส่วนตัวลูกค้าไว้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ที่ได้ออกมาสนับสนุนให้ทางรัฐบาลอเมริกานำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งานอย่างที่ทางรัฐบาลประเทศอิสราเอลได้ใช้ในการต่อสู้กับCOVID 2019  โดยคุณ Maciej Celogwski ได้เขียนว่า “ผมยังคงเชื่อว่าการต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้สภาพสังคมที่มีการเฝ้าติดตามนั้นเป็นการขัดแย้งกับเรื่องของเสรีภาพ แต่การจะมีเสรีภาพได้นั้น เราจะต้องมั่นใจว่าชีวิตเราจะปลอดภัย ดังนั้นถ้าการอยู่ภายใต้สภาพสังคมที่ต้องโดนเฝ้าระวังที่เป็นมาตรการทางสาธารณสุขนั้นจะทำให้เราสามารถรอดพ้นไปจากวิกฤตครั้งนี้ได้ เราก็ควรที่จะยอมรับมัน และใช้ประโยชน์จากมันให้อย่างเต็มที่

ณ ปัจจุบันนี้เราได้เห็นแล้วว่า ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นั้นสามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการต่อสู่กับเจ้าโควิด 2019 ได้อย่างไร  แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ก็สามารถทำให้เรามองเห็นภาพในอีกเชิงหนึ่งได้ว่า ข้อมูลที่ส่งหรือผลิตออกมาจากโทรศัพท์มือถือของเราอันสืบเนื่องมาจากการที่เราเล่นเกมส์ ใช้ซื้อของออนไลน์ หรือลงแอปป์ต่างๆนั้นมันสามารถสะท้อนการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้มากขนาดไหน ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทหรือร้านค้าก็จะทำการเก็บข้อมูลของเราเป็นปกติและนำข้อมูลของเรามาวิเคราะห์เพื่อพยายามขายของให้กับเราอยู่แล้ว ดังนั้นข้อมูลหรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการต่อสู้กับ COVID 2019 นั้นก็มิได้แตกต่างอะไรไปจากข้อมูลและเครื่องมือที่เหล่าบรรดานักวิเคราะห์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลใช้กันอยู่เป็นปกติเลยค่ะ

ที่มาภาพ:

https://www.researchgate.net/figure/Mobile-based-GIS-framework_fig1_269987354

https://www.igismap.com/google-maps-wifi-only-feature-helping-limit-data-usage

ที่มา: 

https://www.theverge.com/interface/2020/3/25/21192629/coronavirus-surveillance-location-data-taiwan-israel-us-google

https://www.reuters.com/article/us-health-coronavirus-taiwan-surveillanc/taiwans-new-electronic-fence-for-quarantines-leads-wave-of-virus-monitoring-idUSKBN2170SK

Vice President, Data Analytics Services Division (DAS)
Big Data Institute (Public Organization), BDI

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.