วิเคราะห์ NFT: ความเข้าใจในมูลค่าสินทรัพย์

วิเคราะห์ NFT: ความเข้าใจในมูลค่าสินทรัพย์

24 สิงหาคม 2565
NFT คือ

ตามหลักการแล้ว มูลค่าของ Non-Fungible Token (NFT) หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัวในทุกวันนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะมองมันอย่างไร โดยเมื่อเวลาผ่านไปมูลค่าของ NFT ชิ้นหนึ่งจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้แน่ชัด ( NFT คือ )

ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา แนวคิดของสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว (NFT) ได้กลายเป็นตัวแทนของนวัตกรรมเทคโนโลยีที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งในยุคนี้ ตามแก่นแท้ของ NFT คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้น ซื้อขาย และแลกเปลี่ยนในตลาด Blockchain ส่วนใหญ่ผ่านทางสกุลเงินคริปโต เช่น Ethereum เป็นต้น การผสมผสานเทคโนโลยี Blockchain เข้าด้วยกันสามารถทำให้ผู้ใช้สามารถพิสูจน์ได้ว่า NFT แต่ละชิ้นเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลของแท้ที่ไม่เหมือนใคร นอกจากนี้ Blockchain ยังสามารถช่วยตามรอยเจ้าของคนก่อน ๆ ได้อีกด้วย

ตั้งแต่มีการเปิดตัวในวงกว้างในปี 2017 ผ่านทางเกม เช่น Axie InfinityCryptoKitties, และ My Crypto Heroes เป็นต้น NFT ก็ได้รับความนิยมอย่างมากมายมหาศาลจากคนทั่วโลก จากการประสบความสำเร็จในการผสมผสานเข้ากับโลกแห่งศิลปะดิจิทัล NFT บางชิ้นสามารถขายได้หลายล้าน หรือแม้กระทั่งหลายสิบล้านดอลลาร์ ทำให้มีการคาดคะเนกันอย่างแพร่หลายถึงมูลค่าที่แท้จริงของ NFT ในฐานะสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใหม่ขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับสินค้าโภคภัณฑ์และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ ตัว NFT เกือบทั้งหมดมีมูลค่าน้อยมาก ไปจนถึงไม่มีมูลค่าที่แท้จริงเลย แต่มูลค่าของ NFT กลับขึ้นอยู่กับความต้องการที่ผันผวนของตลาดผู้บริโภค

NFT สร้างมูลค่าอย่างไร

โดยพื้นฐานแล้ว จุดดึงดูดของ NFT คือการคนซื้อสามารถเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น ๆ ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะชิ้นหนึ่ง สิ่งของที่ใช้ในวิดีโอเกม หรือแม้แต่ไฟล์ ทวีตแรกสุด ของแจ็ค ดอร์ซีย์ อดีต CEO ของทวิตเตอร์ แม้ว่าจะมีอีกบุคคลหนึ่งที่ “เป็นเจ้าของ” ชิ้นดั้งเดิมที่ถูกเปลี่ยนให้เป็น NFT (เช่นศิลปินปล่อยเพลงหรือ มิวสิควิดีโอเป็น NFT) ผู้ซื้อ NFT ก็สามารถอวดอ้างสิทธิ์การเป็นเจ้าของไฟล์ดั้งเดิมได้  หลังจากนั้นเจ้าของจะเลือกถือสิทธิ์การเป็นเจ้าของ NFT นั้นไว้หรือจะเลือกขายต่อเพื่อเอากำไรก็ย่อมได้

เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนี้ เราต้องดูว่ามูลค่าของ NFT แปรผันตามมูลค่าที่ผู้ใช้มองมันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ใช้จำนวนมากในกลุ่มตลาดผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งมอง NFT ชิ้นนั้นว่าเป็นของหายากกว่าชิ้นอื่น ๆ ผู้ใช้เหล่านั้นยิ่งให้มูลค่า NFT ดังกล่าวมากขึ้น เช่นเดียวกับผู้สะสมงานศิลปะหรือของที่ระลึกเกี่ยวกับกีฬา มูลค่านั้นไม่ได้มีอยู่ในตัวสิ่งของที่พวกเขาได้มา แต่อยู่ที่ว่าตลาดมองเห็นมันอย่างไร  อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกด้านหนึ่งของ NFT ที่สามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มเติมได้ผ่านการผสมผสานการใช้สัญญาอัจฉริยะหรือสมาร์ทคอนแทรคท์

การสร้างมูลค่าในกรรมสิทธิ์ตลอดชีพผ่านสัญญาอัจฉริยะ

สัญญาเหล่านี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถพิสูจน์อัตลักษณ์และความเป็นเจ้าของ NFT ใดก็ได้เมื่อมีการทำธุรกรรมซื้อขาย เพราะภายใน Blockchain นั้นมีโปรแกรมสำหรับ สัญญาอัจฉริยะ อยู่ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเห็นได้ว่าใครเป็นคนแรกที่สร้าง NFT ชิ้นนั้นแล้ว สัญญาอัจฉริยะยังสามารถอนุญาตให้ผู้สร้างคนแรกได้รับเงินส่วนหนึ่งในรูปแบบของ การจ่ายเงินค่าสิทธิ จากธุรกรรมแต่ละครั้งที่เกิดขึ้นได้ด้วย

บางทีนี่อาจเป็นวิธีที่ถูกต้องและยุติธรรมที่สุดที่สินทรัพย์ดิจิทัลชนิดใหม่อย่าง NFT สามารถให้ส่วนแบ่งโดยตรงกับทั้งผู้สร้างและผู้บริโภคอย่างเท่าเทียม ยิ่ง NFT นั้นขายได้ราคามากเท่าไร ผู้สร้างคนแรกก็จะยิ่งสามารถได้รับค่าสิทธิมากขึ้นเท่านั้นผ่านสัญญาอัจฉริยะของสินทรัพย์นั้น

Andy Rosen (แอนดี้ โรเซ็น) นักเขียนด้านการลงทุนของ Nerdwallet กล่าวว่า “ในทางกลับกัน ผู้ซื้อที่สนับสนุนผู้สร้างที่กำลังลำบากด้วยการซื้อ NFT อาจมีโอกาสได้ส่วนแบ่งรายรับจากโครงการอื่น ๆ ในภายภาคหน้า”  Rosen อธิบายถึงอีกวิธีการหนึ่งซึ่ง NFT สามารถสร้างมูลค่าได้โดยการใช้วิธีลงทุนขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องและยก VeeFriends ของนักลงทุน Gary Vaynerchuk (แกรีย์ เวย์เนอร์ชัค) มาเป็นตัวอย่าง คนที่ซื้อ NFT ชุดนี้หนึ่งชุด จะได้รับตั๋วฟรีเข้าร่วม VeeCon ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่ทางธุรกิจประจำปีของ Vaynerchuk อีกทั้งยังเป็น “งานอีเว้นท์สำหรับผู้ถือ NFT [VeeFriend] โดยเฉพาะ” อีกด้วย

บางคนอาจประหลาดใจเมื่อทราบว่า หากอ้างอิงจากแนวคิดทั่ว ๆ ไปนั้น NFT ไม่มีมูลค่าที่แท้จริงอยู่เลย แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่า NFT ในฐานะสินทรัพย์ดิจิทัลกลุ่มหนึ่งจะไม่มีมูลค่า แม้ว่าจะมีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าที่ NFT หนึ่ง ๆ จะถูกตีราคา แต่ปัจจัยเหล่านั้นแทบทั้งหมดได้รับอิทธิพลและถูกกำหนดโดยตลาดผู้ใช้เพียงอย่างเดียว ยิ่ง NFT หายากหรือมีประโยชน์มากเท่าไร หรือยิ่งสินทรัพย์บางอย่างมีศักยภาพในการลงทุนสูงเท่าไร ผู้ใช้หลายคนยิ่งมองเห็นมูลค่าสูงมากขึ้นเท่านั้น หากไม่มีมูลค่าที่รับรู้จากตลาด NFT ก็ไม่ได้มีมูลค่ามากไปกว่าสินทรัพย์หรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ

เนื่องจากหลายๆ คนยังถือว่า NFT เป็นนวัตกรรมใหม่ ศักยภาพที่แท้จริงของมันในฐานะสิ่งสร้างมูลค่าจึงยังคงถูกมองข้ามอยู่  แม้ว่าอาจมีเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่จนกว่าวันนั้นจะมาถึง NFT ก็มีมูลค่าแค่เท่าที่ตลาดเห็นว่ามันมี

บทความโดย Hironobu Ueno
เนื้อหาจากบทความของ InformationWeek
แปลและเรียบเรียงโดย ไอสวรรค์ ไชยชะนะ
ตรวจทานและปรับปรุงโดย ดวงใจ จิตคงชื่น

Vice President, Manpower Development Division at Big Data Institute (Public Organization), BDI

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.