ตัวอย่างการใช้ Big Data เพื่อส่งเสริมการลงทุน

ตัวอย่างการใช้ Big Data เพื่อส่งเสริมการลงทุน

ช่วงนี้หลาย ๆ คนอาจจะได้ยินคำว่า Big Data หรือ Data Science กันบ่อย ๆ เนื่องจากเรากำลังอยู่ในยุคที่มีการเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากมหาศาล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อพัฒนาหรือตอบโจทย์ทางธุรกิจในด้านต่าง ๆ ก็กำลังเป็นที่แพร่หลายเช่นกัน

สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า Big Data สามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์จริง ๆ ได้อย่างไร เรามีตัวอย่างการนำความรู้ทาง Big Data ไปใช้ประโยชน์ใน Finance Sector ให้ดูค่ะ

ส่งเสริมการออมเงินของสมาชิก กบข. ด้วย Big Data

โดยตัวอย่างการพัฒนาแบบจำลองเชิงพยากรณ์ (Predictive Model) ที่เรานำเสนอในบทความนี้ มาจากโมเดลจริงที่ทาง Government Big Data Institute (GBDi) ร่วมมือกับสถาบันการเงินที่บริหารกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการทำขึ้น โดยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) นั้นเป็นสถาบันบริหารเงินออมของข้าราชการเพื่อการเกษียณที่มีความยั่งยืน และมีเป้าหมายในการใช้ข้อมูลที่มีอยู่และความรู้ทาง Data Science เพื่อศึกษาวิจัยด้านการลงทุนในแง่ของเงินออมของสมาชิกเพื่อช่วยให้ กบข. สามารถส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิกในการลงทุนที่เหมาะสม และผลักดัน กบข. ให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Organization) อย่างแท้จริง

หนึ่งในเป้าหมายหลักด้านการส่งเสริมการออมเงินของสมาชิก กบข.นั้นก็คือ ทาง กบข. ต้องการให้สมาชิกมีความสนใจมาเพิ่มการลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (pension fund) ให้มากขึ้น เพื่อที่ว่าสมาชิกจะได้มีเงินออมที่พอใช้หลังเกษียณ เราจึงเริ่มจากการใช้ความรู้ทาง Data science มาช่วยในการวิเคราะห์ว่าสมาชิกคนไหนอยู่ในกลุ่มที่มีโอกาสจะมาเพิ่มเงินลงทุนใน pension fund ที่มากกว่า (Potential group) เพื่อที่เราจะได้สามารถเจาะกลุ่มสมาชิกได้ถูกกลุ่ม และเพิ่มประสิทธิภาพในการคิดแผนการตลาดต่าง ๆ ได้ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

การพัฒนาแบบจำลองเชิงพยากรณ์ (Predictive Model) สามารถช่วยให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิกในการลงทุนที่เหมาะสม ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Organization) อย่างแท้จริง ออกแบบแคมเปญหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมทางการตลาดได้อย่างตรงจุดและได้ผลที่มากยิ่งขึ้น

ศึกษาการจำแนกกลุ่มของข้อมูล หาผู้ที่มีแนวโน้มการออมเงินเพิ่ม

ขั้นแรก จะเริ่มจากการจัดเตรียมข้อมูลสมาชิก จัดการความถูกต้อง และความเป็นระเบียบของข้อมูลและทำ Feature Engineering เพื่อให้โมเดลการทำนายมีประสิทธิภาพ เช่น การวิเคราะห์เพื่อดูว่าข้อมูลใดที่ควรนำมาเป็นตัวแปร (input feature) ที่จะใช้ในโมเดล โดยข้อมูลที่ใช้สำหรับการสร้างโมเดล จะประกอบไปด้วยหลายส่วน ได้แก่

  • ข้อมูลทางประชากร (Demographic data) เช่น เพศ อายุ รายได้
  • ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Geographic data) เช่น จังหวัดหรือภูมิภาคที่อาศัย
  • ข้อมูลเชิงจิตวิทยา (Psychographic data) เช่น ไลฟ์สไตล์ ความชอบในสินค้า
  • ข้อมูลทางพฤติกรรม (Behavioral data) เช่น พฤติกรรมการใช้งานของสินค้าและบริการ

หลังจากขั้นตอนการจัดเตรียมข้อมูล เราจะนำข้อมูลเข้าสู่โมเดลเพื่อทำการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกสมาชิก กบข. ออกเป็น กลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะมาเพิ่มเงินออมสูง กลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะออมเงินเพิ่มปานกลาง และกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะออมเงินเพิ่มต่ำ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกกลุ่มนี้ก็คือ ค่าความน่าจะเป็นที่ได้มาจากโมเดลนั่นเอง

ซึ่งโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้เพื่อจำแนกแนวโน้มการออมเงินเพิ่มของสมาชิก (Classification model) นั้นมีอยู่หลายโมเดลด้วยกัน อาทิเช่น Logistic regression, Naive Bayes classifier, Least squares support vector machines, Random forests, Neural networks ฯลฯ โดยหลังจากที่ทดลองใช้ข้อมูลจากสมาชิก กบข.กับหลาย ๆ โมเดลแล้ว ผลที่ได้พบว่า อัลกอริทึม Extreme Gradient Boosting (XGBoost) เป็นอัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการสร้างโมเดลสำหรับจำแนกสมาชิกด้านเงินออมของ กบข. ซึ่ง XGBoost นั้นก็เป็นโมเดลทำนายพื้นฐานที่ได้รับความนิยมอย่างมากและถูกใช้ในการแข่งขันวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในเว็บไซต์ชุมชนวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Kaggle (“XGBoost – ML winning solutions (incomplete list)”, 2016)

หลักการทำงานของ XGBoost จะมีลักษณะการนำเอา Decision Tree มาเทรนต่อกันหลายๆต้น โดยที่แต่ละ Decision tree จะเรียนรู้จาก error ของต้นก่อนหน้า ดังนั้น ความแม่นยำในการทำนายจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ และโมเดลจะหยุดเรียนรู้เมื่อไม่เหลือแพทเทิร์นของ error ก่อนหน้าให้เรียนรู้อีก ซึ่งเราเรียกโมเดลลักษณะแบบนี้ว่า Ensemble Learning หรือหมายถึงการใช้หลาย ๆ โมเดลมาประกอบกันเป็นหนึ่งโมเดลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนายนั่นเอง

หากต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ Decision Tree เพิ่มเติม สามารถดูวีดีโอได้ที่ https://youtu.be/wUGGLJF_gA8 

จากโมเดลคณิตศาสตร์ สู่แคมเปญส่งเสริมการออม

หลังจากที่เราทราบแล้วว่าสมาชิกคนใดมีโอกาสที่จะออมเงินในกองทุนกับ กบข. เพิ่มมากหรือน้อยแล้วนั้น กบข. ก็จะสามารถออกแบบแคมเปญหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมทางการตลาดได้อย่างตรงจุดและได้ผลที่มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ข้อความที่ กบข. จะส่งออกให้แก่สมาชิกแต่ละกลุ่มผ่านทาง SMS, E-mail, Line message, Mobile application หรือช่องทางต่าง ๆ เพื่อชักชวนหรือให้ความรู้นั้น อาจเป็นข้อความที่ต่างกันตามกลุ่มที่จำแนกไว้ โดยอาจโฆษณาผลิตภัณฑ์ A ให้กับสมาชิกที่มีแนวโน้มในการออมเงินเพิ่มสูง และส่งแคมเปญ B ให้แก่กลุ่มสมาชิกที่โมเดลทำนายว่ามีแนวโน้มที่จะมาออมเงินเพิ่มต่ำ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มนี้หันมาสนใจในการออมเงินที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากประโยชน์ในแง่ของการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วนั้น การทำการตลาดแบบเจาะกลุ่มคนที่เราสนใจ (Focus group) ยังสามารถช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้อย่างมากอีกด้วย   

หากต้องการรับชมตัวอย่างเพิ่มเติมในเรื่องของการใช้ Big Data สำหรับ Finance Sector ในรูปแบบของวีดีโอ สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://youtu.be/G54XC_i9Gao

Vice President, Big Data Business Promotion (BBP) at Big Data Institute (Public Organization), BDI

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.